ได้หรือเสียจากการ...เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษพืชที่เหลือทิ้ง


เผาตอซัง

ได้หรือเสียจากการ...เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษพืชที่เหลือทิ้ง

โดยทั่วไปช่วงหน้าแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ก็มักจะพบว่ามีการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษพืชที่เหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ส่วนการเผานั้นอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่จะเผาด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ จะส่งผลกระทบต่อดินทั้งสิ้น คือ

1.  ทำลายอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน  คือ การเผาฟางข้าวทำให้สูญเสียธาตุไนโตรเจน       6 9  กก./ไร่ ฟอสฟอรัส  0.8  กก./ไร โพแทสเซียม  15.6  กก./ไร่

2.  ทำลายโครงสร้างดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชลงอย่างต่อเนื่องทุกปี โครงสร้างดินอัดแน่นเสียหายเกิดการอิ่มตัวของน้ำเร็วขึ้น  เก็บน้ำได้น้อยไม่ทนแล้ง  การระบายน้ำได้น้อย  ช่องว่างของอากาศไม่เพียงพอ ดินแข็งมากขึ้นไถเตรียมดินได้ตื้นขึ้น  หน้าดินน้อยลงและรากพืชแทงทะลุได้ยากขึ้น  การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ผลผลิตต่ำ

3.  ทำลายแมลงควบคุมศัตรูพืช  และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินทำให้ปริมาณของจุลินทรีย์ลดลง  เช่น การเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนที่พืชใช้ประโยชน์ได้  การแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้  และการย่อยสลายอินทรีย์สารเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน  นอกจากนั้นตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชและจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมโรคพืชถูกทำลายไป  ซึ่งหากระบบนิเวศน์ของดินไม่สมดุลทำให้แพร่ระบาดของโรคเกิดได้ง่ายขึ้น

4.  สูญเสียน้ำในดินคือเผาตอซัง  ทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงถึง 90 องศา ทำให้น้ำในดินระเหยสู่บรรยากาศความชื้นลดลง

5. ก่อให้เกิดเขม่าควันฝุ่นละอองก๊าซพิษส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติ  ทั้งนี้ หากมีการเผาฟางข้าวปีละครั้งทั่วประเทศ  60  ล้านไร่ จะก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  27  ล้านกิโลกรัมคาร์บอน การปลดปล่อยก๊าซไนโตรเจน  462  ล้านกิโลกรัมไนโตรเจน ฝุ่นละออง  100 700  ล้านกิโลกรัมต่อไร่

6.   ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการทำให้โลกร้อนและเกิดภาวะฝนแล้ง  ฝนทิ้งช่วงมากขึ้น

ประโยชน์ของการไถกลบซากพืช

1.      ก่อให้เกิดการฟื้นฟูโครงสร้างดินให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช  มีปริมาณเนื้อดินอินทรียวัตถุ  น้ำ 

และอากาศในสัดส่วนที่พอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืช

2.      ทำให้ไข่แมลงและเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในดินกลับขึ้นมาฆ่าทำลายด้วยแสงแดดทดแทนการเผา

ทำลาย

3.      พลิกให้รากวัชพืชกลับขึ้นมาตากแดดให้แห้งตาย

4.      ส่งผลให้ดินโปร่ง  รากของพืชชอนไชง่าย  พืชเจริญเติบโตและหาอาหารได้ง่าย  แตกกอดี 

ผลผลิตดีผลการศึกษาพบว่าการปลูกข้าวโดยการไถกลบต่อซังฟาง  ให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการเผาฟาง      26 %

5.      ช่วยดูดซึมธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดิน  ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้

ประโยชน์เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี

6.      ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่

รวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อพืช

7.      ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานิสในดิน

8.      ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม

9.      ทำให้เปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินและอยู่ในรูปเป็นประโยชน์ต่อพืชและส่งผลช่วยลดปริมาณ

เชื้อราและโรคพืชบางชนิด  ในดินลดน้อยลง

จากข้อมูลดังกล่าวหากพี่น้องเกษตรกรได้นำไปสู่การปฏิบัติก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ระดับหนึ่งและเป็นการยืดอายุของดินให้ยาวนานยิ่งขึ้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางชูศรี  คงเพชรศักดิ์  เจ้าพนักงานการเกษตรประจำ ต.โคกเดื่อ  อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ โทร.056-259284

คำสำคัญ (Tags): #เผาตอซัง
หมายเลขบันทึก: 228331เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 03:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท