ความทรงจำที่ดี


ความทรงจำที่ทั้งดีและไม่ดี แต่ที่สุดในแต่ละด้านจะคงทน

เมื่อหวนคิดคำนึง ถึงความหลัง โดยรื้อฟื้นความทรงจำในอดีต เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยใดๆ ก็ได้ ที่ท่านผู้อ่านจดจำได้ขึ้นใจ ต่อเมื่อมีแรงกระตุ้น หรือสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างกัน

ตัวอย่างหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าจดจำได้ขึ้นใจ คือ ชื่อเพื่อนๆ สนิท ที่จากกันมานานมากกว่า ๓๐ ปี  เช่น นายชนินทร์ น.ส.อ้อย ชั้น ม.ศ.๓   ด.ช. แต้ม ด.ญ.นิสา ชั้น ป.๗   ด.ญ. ดาว ชั้น ป.๒

ส่วน ชื่อจริงของเพื่อนบางคน ก็ยังจำได้ แต่ในฐานะเพื่อน ผมชอบที่จะใช้ชื่อเล่น  ชนินทร์ เขาร้องเพลงเก่งและเรียบร้อย พอๆ กับ อ้อย

แต้ม เล่นกีฬาเก่ง ปัจจุบัน ทราบว่า เป็นรั้วของชาติยศสูงแล้ว แต่ไม่มีโอกาสติดต่อไป

อ้อย เคยบอกว่า เธอจะเป็นพยาบาล

นอกจากเพื่อนสนิท แล้ว ยังมีท่านอาจารย์ และคุณครูที่คอยดูแลเอาใจใส่พวกเราในช่วงเป็นนักเรียน

แต่ก็ดูเหมือนความเป็นเด็กในวัยนั้น ทำให้มีช่องว่างระหว่างเด็กนักเรียน กับอาจารย์และคุณครู

ท่านผู้อ่าน คิดว่า การศึกษาในสมัยนั้น กับสมัยนี้ ต่างกันอย่างไร

 

 

หมายเลขบันทึก: 228255เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2008 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทุกคนมีความทรงจำที่ดีดีเก็บไว้เมื่อนึกถึงทำให้มีความสุขใจไม่น้อยเลยนะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • เข้ามาเยี่ยมและทักทายค่ะ
  • ความทรงจำดี ๆ เก็บไว้ในใจลึก ๆ
  • แต่ความรู้สึกแย่ ๆ ปล่อยทิ้งบ้างก็ดีค่ะ

ผมจำอดีตได้แม่นยำ แต่ภาระเรื่องประจำที่เป็นปัจจุบันกลับลืม สงสัยจะเป็นที่อายุซะแล้ว

วราภรณ์ วานิชสุขสมบัติ

เขาว่าการที่คนจำเก่ง ๆ นั้นเป็นความสามารถเฉพาะตัว ส่วนตัวเองคิดว่าเราจำสิ่งที่เราสนใจ หรืออาจจะมีเหตุการณ์ที่ดีหรือไม่ดีมาก ๆ ทำให้จำได้ไม่ลืม แต่คนแก่นั้นคิดว่าลิ้นชักความจำคงจะเต็มค่ะ เลยจำได้แต่อดีต บางทีเรื่องที่เพิ่งผ่านมากลับลืมเสียสนิท ก็มีวิธีฝึกต่าง ๆ เพื่อให้จำเก่งขึ้น เช่น เมื่อมองเห็นอะไรหรือคำพูดใด ให้คิดแต่งเรื่องผูกโยงกัน จะทำให้จำได้ดีขึ้น ก็ไม่รู้จะได้ผลไหมยังไม่เคยลอง เพราะลืมลองทำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท