บทเรียนหนึ่งที่บ่อถ้ำ (1 )


โดยมีเป้าหมายที่บูรณาการการทำงานร่วมกันในเขพพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในระบบพิเศษ

บทเรียนหนึ่งที่บ่อถ้ำ ที่ศาลาการเรียนรู้ หมู่ 5 ต.บ่อถ้ำ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร

 

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ผมมีโอกาสไปร่วมทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

ในการลงไปปฏิบัติการร่วมกับทีมงานของกรมส่งเสริมการเกษตรและทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี โดยมีเป้าหมายที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน ในเขตพื้นที่การปลูกมันสำปะหลังในระบบพิเศษ ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายได้แก่ตำบลบ่อถ้ำ ตำบลวังชะพูล ตำบลวังหามแหและตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี โดยจัดประชุมกัน ณ.สำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี 

       ในช่วงแรกเวลา ประมาณ 08.30- 09.30 น. ทางทีมงานทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร และสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี ได้สร้างความเข้าใจร่วมกันในการทำงานเชิงบูรณาการ การพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังให้ยั่งยืน ทั้งนี้ยังจะต้องพัฒนาความร่วมมือต่อไป ซึ่งจะขอแบ่งออกเป็นสองระดับคือ ระดับเจ้าหน้าที่ ( ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร และผู้แทนสำนักงานเกษตรอำเภอ) และระดับชุมชน (กลุ่มอาชีพผู้ปลูกมันสำปะหลัง นักส่งเสริมการเกษตร และผู้แทนอปท.)

 

 

          ในช่วงเวลา  10.00 น. ทางทีมงานเรา ได้ลงไปปฏิบัติงานในชุมชน ศาลากการเรียนรู้ตั้งอยู่กลางบ้านหมู่ที่ 5 ตำบลบ่อถ้ำ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ร่วมกับกลุ่มอาชีพผู้ปลูกมันสำปะหลังและผู้แทนอปท. ในช่วงแรกที่เราเข้าไปพบปะกับผู้แทนชุมชน ได้รออยู่ จากนั้นก็มีการพบปะพูดคุยกันพร้อมได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการลงมาปฏิบัติงานร่วมกัน และการแนะนำตัว

 

 

         จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มออกเป็นสองกลุ่ม เพื่อสนทนากลุ่มโดยมีประเด็นในการสนทนากลุ่มย่อยที่ 1 คือแนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลัง และประเด็นในการสนทนากลุ่มย่อยที่ 2 คือการพัฒนาการผลิตมันสำปะหลัง จากนั้น ถึงเวลา 12.00 น. เราได้พักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

                                                       คุณสิริลักษ์ แดงเรือง (ผู้แทนอบต.บ่อถ้ำ)นำเสนอข้อสรุปของกลุ่ม

                                                คุณจรูญ จันทร์อู่ (แกนนำเกษตรกรผู้ปลุกมันสำปะหลัง หมู่ 5 ต.บ่อถ้ำ)

                                                       คุณธงชัย เวชสภานารักษ์ ผู้นำชุมชน(แกนนำผู้ปลูกมันสำปะหลัง )

                                           คุณกฤษณ์ อภิชาติวิสุทธิ ( แกนนำเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง หมู่ 5 ต.บ่อถ้ำ)

           เมื่อถึงเวลา 13.00 น.ผู้แทนกลุ่มย่อยได้สรุปนำเสนอผลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม โดยให้กลุ่มใหญ่ได้เพิ่มเติมข้อมูล จากนั้นทางกลุ่มอาชีพผู้ปลูกมันสำปะหลังหมู่ 5 ต.บ่อถ้ำ  ได้กลับไปบ้านเพื่อที่จะต้องนำข้อสรุปที่ได้จากการสนทนากลุ่มในวันนี้ไปปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้านในช่วงเย็น  จากนั้นแกนนำดังกล่าวข้างต้นอาสาจะเป็นนักวิจัยชุมชนโดยนำทีมงานเราไปศึกษาดูแปลง ทดสอบการปลูกมันสำปะหลังของตนเองที่มีการบันทึกเก็บข้อมูลการผลิตไว้ ซึ่งจะได้นำข้อสรุปไว้พูดคุยกันในครั้งต่อไป

                                                                    ยกร่างกรอบแนวคิดในการวิจัย

        จากนั้นทีมงานนักส่งเสริมการเกษตรของเราได้ลาพี่น้องเกษตรกรกลับไป ประชุมกันต่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี เพื่อประเมินหลังจากสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ตามหลักการของ AAR   ข้อสรุปที่ได้จากการทำ AAR  ร่วมกัน โดยสรุปในรูป Model ลงในกระดาษฟางร่วมกัน  ทั้งนี้เราได้ช่วยสรุปเป็นยกกร่างกรอบแนวคิดในการวิจัยร่วมกัน พร้อมได้เติมเนื้อหาในการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม(PAR) พร้อมได้กำหนด Action Plan ในครั้งต่อไปร่วมกัน ซึ่งจะต้องดำเนินการหาโจทย์ในการวิจัยร่วมกันกับชุมชนในครั้งต่อไป..ครับ.....

หมายเลขบันทึก: 226665เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2008 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • ไปดูพระจันทร์ยิ้มมาหรือยังครับ
  • ดาวเคียงเดือน มีเฉพาะคืนนี้นะครับ
  • ขอบคุณ ท่านCol.boonyarit
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • ยินดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท