แนวดำเนินการบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ
ในฐานะที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาโดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและยึดหลักการกระจายอำนาจในการบริหารงาน ตลอดจนการตัดสินใจดำเนินงานของคณะกรรมการในโรงเรียน เช่น คณะกรรมการสภาครู คณะกรรมการสายชั้น คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ โดยเน้นระบบการบริหารงานโรงเรียนที่ยึด โรงเรียนเป็นฐาน SBM (School Based Management) ในเรื่องต่อไปนี้
- โรงเรียนจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดยการจัดประชุม อบรม สัมมนา ศึกษา-ดูงานด้านการเรียนการสอนทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
- จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนครูและผู้บริหารกับสมาคมทางการศึกษา ของประเทศสหรัฐอเมริกา "Hopkins Education Association" โดยมีครูและผู้บริหารโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ มลรัฐมินนิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย เป็นประจำทุกปี
- จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการปฏิรูปการศึกษา และขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาในการเป็นวิทยากรภูมิปัญญาชาวบ้านให้การอบรมความรู้แก่นักเรียนอยู่เสมอ
๒. ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอน ได้ดำเนินการดังนี้
- มีการปรับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา โดยใช้บริบทอยุธยามรดกโลก
- ส่งเสริมให้ครูพัฒนานวัตกรรมการสอนโดยใช้โมเดลของโรงเรียน หรือ
JIRASART Teaching's Model
(สำหรับรายละเอียดสามารถศึกษาได้จากเอกสาร“การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยโมเดล จิระศาสตร์ JIRASART Teaching’s Model”)
๓. ส่งเสริมการวัดผลและประเมินผลแนวใหม่ ยึดหลักต่อไปนี้
- ใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมินผู้เรียน
- ใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
- มุ่งประกันคุณภาพ โดยโรงเรียนดำเนินการประเมินผลภายในทุกปี และ
รายงานผลต่อผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด และสาธารณชน
๔. การวิจัยในชั้นเรียนได้ดำเนินการ ดังนี้
- สนับสนุนส่งเสริมให้ครูทุกคนเข้ารับการอบรม ตลอดจนได้เชิญวิทยากรมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน แก่ครูทุกคนในโรงเรียน ปีละหลายครั้ง โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรจากหน่วยงาน และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
นอกจากนี้โรงเรียนยังได้สนับสนุนส่งเสริมให้ครูทุกคนจัดกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนของจิระศาสตร์ (JIRASART Teaching’s Model) เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นให้ครูผู้สอนทุกคนยึดถือแนวทางในการวิจัยและพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของวงจรเดมมิ่ง (P D C A)
ไม่มีความเห็น