ชีวิตที่ต้องหล่อเลี้ยง


"การนำพาการเรียนรู้ การสอนที่เป็นเรื่องของการหล่อเลี้ยงให้ศิษย์มีความพร้อมทั้งทางกาย สติปัญญาและจิตใจที่ยกระดับให้อยู่รวม และอย่างมีความหมาย ที่จะเรียนรู้และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่ได้ไปสร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น"

              อีกไม่นานนักคงได้มีเวลามากขึ้นในการนำพาการเรียนรู้ การสอนที่เป็นเรื่องของการหล่อเลี้ยงให้ศิษย์มีความพร้อมทั้งทางกาย สติปัญญาและจิตใจที่ยกระดับให้อยู่รวม และอย่างมีความหมาย ที่จะเรียนรู้และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่ได้ไปสร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ที่จริงก็มีโอกาสอยู่แล้วแต่หากห่างหายไปนานพอควรปีละไม่กี่ชั่วโมง แต่คราวนี้เป็นพันธกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นเรื่องเป็นราว ความตั้งใจของตัวเองที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องก็คือให้เขาได้เรียนรู้เรื่องชีวิตในเรื่องราวที่เราได้นำพา

              การทำแผนการสอนก็เป็นสิ่งจำเป็นที่เป็นกรอบในการนำพาการเรียนรู้ หากเรามามองอีกในแง่มุมต่างๆก็เห็นว่าเราไปปิดการเรียนรู้ของเด็กเช่นเดียวกัน การสร้างความสมดูลย์ให้เกิดความสมบูรณ์ในปัญญาของเด็กที่เป็นตัวเร่งต้องการเรียนรู้ตรงนี้เป็นเป้าหมายของผู้ที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยง

             ในขณะเดียวกันผู้สอนเองก็ต้องเข้าไปเรียนรู้ในเส้นทางและสารที่จะไม่บีดคันคับแคบ รวมถึงการเยี่ยวยา และหล่อเลี้ยงทั้งทางกาย สติปัญญาและจิตใจเช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิวัฒน์
หมายเลขบันทึก: 226009เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • แวะมาอ่านบันทึกดีๆ
  • ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

บทเรียนรู้การนำพาให้นักศึกษาได้มาเรียนรู้เรื่องจริยธรรม

4 พฤศจิกายน 2551

การนำพาคราวนี้ให้เวลา 4 ชั่วโมงและเป็นตอนบ่ายความตั้งใจของตัวเองมีอยู่สัก 3 ประการหลักๆ ได้แก่ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนนี้ ประการที่ 2 ได้แก่ ต้องเอาความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษามาเป็นฐานที่จะให้เขาได้ก้าวเดินในเรื่องจริยธรรมที่เขามีอยู่และก้าวออกไป ดังนั้นผมจึงต้องใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้มาก ประการที่ 3 ทำอย่างไรที่จะทำให้บรรยากาศตื่นตัวตลอดเวลาเพราะทั้งนักศึกษาและผมเองพึ่งรับประทานอาหาร

ผมเริ่มด้วยคำถามที่ทาท้ายต่อการตอบของนักศึกษา มีเรื่องราวอะไรที่เราทำกันเป็นประจำในขณะที่อาจารย์บรรยาย และอาจารย์ท่านก็จะกล่าวตำหนิเราบ่อยๆ ง่ายมากในการตอบของนักศึกษาผมให้นักศึกษาช่วยกันตอบซึ่งมีตั้งแต่ คุยกัน พูดโทรศัพท์ เอางานอื่นขึ้นมาทำ ทานขนม เป็นต้น ผมก็ใช้คำถามต่อไปว่า เพื่อนๆที่นั่งใกล้ที่ไม่ได้ร่วมทำกิจกรรมนั้นด้วย รู้สึกเช่นไร ไม่รู้จัดเวลา ไม่มีสมาธิ ไม่เกงใจผู้สอนเลย น่าจะออกไปคุยกันข้างนอก เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างคำตอบของนักศึกษาด้วยกัน ตรงนี้แหละครับที่ผมนำเข้าสู่การนำพาการเรียนรู้เรื่อง ปํญหาจริยธรรม สิ่งที่ทุกคนรับรู้เรื่องจริยธรรม คือธรรมชาติที่ทำให้เราอยู่กันได้อย่างสงบ และสันติสุข...............ผมใช้เวลาประมาณ 50% ของเวลาทั้งหมด และสังเกตเห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความสนใจในกิจกรรมการเรียนรู้นี้ ตอนหลังพักครึ่งเข้ามานักศึกษาต่อรองให้ผมปล่อยสัก 15.30 น. ผมก็บอกว่าจะพยายาม แต่ก็อยู่ที่นักศึกษาทุกคนว่าจะเข้าใจและเดินออกจากห้องอย่างไม่กังวลหรือไม่ ? และก็ไม่มีนักศึกษาคนใดกลับก่อนเลย และร่วมทำกิจกรรมที่แสดงให้เห็นคุณค่าของตนเองที่มีต่อพ่อ (พรุ่งนี้เป็นวันพ่อ) ที่ผมได้ออกแบบไว้ที่เห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่ทราบซึ้งในพระคุณของพ่อเมื่อร่วมทำกิจกรรมโดยให้ 2 คำถามที่ว่า ทำอะไรให้พ่อบ้างแล้ว เธอ / นาย มีความสุข เป็นคำถามซ้ำเพื่อที่จะได้คำตอบมากๆที่นักศึกษาเคยทำให้พ่อแล้วตัวเองมีความสุข ผมปล่อยเวลาไว้สักพัก  ในคำถามสุดท้ายที่ว่า อะไรเป็นอุปสรรคที่ทำให้ เธอ / นาย ไม่ได้ทำ......(จากคำตอบที่ตอบในคำถามแรกที่แต่ละคนมีมากกว่า สิบข้อ)....ให้แก่พ่อ?  ที่เป็นการถามบ่อยๆเมื่อได้คำตอบจากเพื่อนแล้วพอถามสักระยะ2-3 คำถาม คำตอบจากเพื่อนเริ่มช้าลง ผู้ที่ตอบได้คิดถึงพ่อตัวเองมากขึ้นพร้อมทั้งเหตุผลที่จะอธิบาย ..........ผมได้เรียนรู้กิจกรรมนี้คราวไปร่วมงานเติมหัวใจฯของ สช.(สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ครั้งแรกของผมเมื่อต้นปีนี้เอง......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท