เส้นทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินภายนอก


"รู้เขารู้เรา" เข้ามาเมื่อไหร่ก็พร้อมรองรับการประเมิน

จากประสบการณ์ของการเป็นผู้ประเมินภายนอก และการเป็นศึกษานิเทศก์ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือโรงเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีประเด็นหรือข้อคิดที่อยากจะทำความเข้าใจกับผู้บริหารและครูที่ยังตีบทไม่แตกในเรื่องการประกันคุณภาพภายใน ลองอ่านและทำความเข้าใจให้ได้ Concept และย้อนดูโรงเรียนของตนเองสิ ว่า ได้พัฒนาคุณภาพเป็นไปตามเส้นทางนี้หรือเปล่า...........

 ผู้บริหารและครูทั้งหลาย ระบบการประกันคุณภาพภายในจะประกอบด้วย การควบคุม การตรวจสอบ และการประเมิน การประเมินภายนอกในรอบนี้มีสองมิติ ที่ต้องตระหนักนั่นก็คือมิติที่เรียกว่า อิงเกณฑ์ ซึ่งจะใช้เกณฑ์ที่ตั้งไว้ในรายมาตรฐานเป็นตัวตัดสิน  และมิติที่เรียกว่า อิงสถานศึกษา ซึ่งจะอาศัยความพยายามในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตามข้อชี้แนะและผลการประเมินตามรายมาตรฐานของการประเมินรอบที่ 1 บวกกับความพยายามในการจัดการศึกษาตามสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน บวกกับความพยายามในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวง ทบวงกรมหรือหน่วยงานต้นสังกัด

โรงเรียนต้องนำทั้ง 3 อย่างมาวิเคราะห์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์ในการพัฒนา ประกอบด้วยแผนพัฒนา (แผน 3 ปี) และ แผนปฏิบัติการประจำปี ฉะนั้นโรงเรียนที่จะถูกประเมินรอบ 2ในปีนี้ จะต้องมีแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องตามสภาพปัญหา โดยตรวจสอบ 3 ปีย้อนหลัง นั่นคือปี 49, 50 และ 51 ที่กล่าวนี้เรียกว่า การควบคุม ของระบบการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งต้องเป็นการควบคุมอย่างสอดคล้องและมีความหมาย ไม่ใช่การก๊อบปี้หรือลอกโครงการและกิจกรรมของปีเก่าๆไว้ในแผนเท่านั้น ถ้าทำอย่างนั้นคำว่า อิงสถานศึกษา แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย นอกจากนี้ในด้านวิชาการ ยังต้องมีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน มีระเบียบการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักสูตร โดยผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

เมื่อปฏิบัติตามแผน โครงการ/กิจกรรมแล้ว ต้องมีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ภาษาครูเราเรียกว่า มีการประเมินโครงการหรือกิจกรรม ว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์ หรือกิจกรรมหรือไม่ มีปัญหาข้อเสนอแนะอะไร ผลเป็นอย่างไร สอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จมากน้อยเพียงใด   อันนี้ภาษาในระบบการประกันคุณภาพภายในเรียกว่า การตรวจสอบ

เมื่อสิ้นปีการศึกษา   ก็ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน ทำการประเมินตนเองตามกรอบและวิธี คู่มือ ที่สพฐ.เสนอแนะไว้ จัดทำเป็นรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด เสนอต่อกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนรับทราบ   อันนี้เรียกว่า  การประเมิน

เห็นไหมว่า ถ้าสถานศึกษาปฏิบัติอย่างนี้ เป็นการพัฒนาเชิงระบบอย่างมืออาชีพ คุณภาพก็จะเกิดต่อผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับสภาพปัญหาด้วยเช่นกัน  ผู้ประเมินภายนอกเมื่อได้มาตรวจสอบสัมภาษณ์ ผู้เกี่ยวข้องก็พึงพอใจว่าสถานศึกษาได้มีความพยายามพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาอย่างถูกต้องตรงทาง

ผลการประเมินในมิติ อิงสถานศึกษา ในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษาก็จะสูง แม้ในบางมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบอิงเกณฑ์แล้วค่อนข้างตำก็จะสามารถฉุดมาตรฐานนั้นให้ผ่านได้

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ยังไม่ใช่หัวใจที่สำคัญของการประเมินหรอกนะครับ ผมพยายามชี้ให้เห็นถึงความ อิงสถานศึกษา ของมาตรฐานด้านผู้บริหารเท่านั้น   คุณภาพผู้เรียนต่างหาก คือหัวใจของคุณภาพที่แท้จริง ผมเชื่อว่าถ้าโรงเรียนพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบเช่นนี้ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ มีครูมืออาชีพที่ใช้แผนการสอนเป็นเครื่องมือ มีการบันทึกหลังสอน มีการนำปัญหาการสอนมาทำวิจัยชั้นเรียน คุณภาพก็จะเกิดกับผู้เรียนแน่นอน อาจช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับบริบทของผู้เรียน ชุมชน และปัจจัยร่วมอื่นๆเป็นองค์ประกอบ

ขอทำความเข้าใจกับพวกเรา ให้เข้าใจ Concept ของการประกันคุณภาพภายในเพื่อรองรับการประเมินรอบที่ 2 ถ้าสถานศึกษาพร้อม ครูพร้อม ผู้เรียนพร้อม แล้วจะไปกลัวทำไมกับการประเมิน ฝากถึงผู้บริหารและครูมืออาชีพทั้งหลายครับ

อาจารย์เก

 

หมายเลขบันทึก: 225988เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เอามาฝาก
  • คิดว่าต้องทำได้แน่ๆๆ
  • ·     ไปที่เมนูของ ….

    ·     ไปที่ไฟล์อัลบัม

    ·     กดนำไฟล์ขึ้น

    ·     browse หาภาพจากเครื่อง

    ·     กดบันทึก

    ·     ไปที่บันทึก

    ·     กดแก้ไขบันทึก

    ·     ข้างล่างเขียนเขียนว่า

    ·     แทรกรูปภาพ

    ·     กดที่แทรกภาพ

    ·     จะเห็นภาพปรากฏ

    ·     กดที่ภาพ

    ·     ภาพจะไปอยู่ที่บันทึก

    ·     กดบันทึกเก็บ

    ·     เดี๋ยวจะตามมาดูนะครับ

  • เอามาแถมด้วย

  • ตกแต่งบล็อก

    http://gotoknow.org/blog/katti/199894

    ย่อรูปแต่งรูปพี่ดาวคนสวยใจดี

     

ถ้าไม่ได้อีก ไม่ยากเลย ถามพี่เอื้องแซะเลย อิอิๆๆ

ขอบพระคุณครับท่านอาจารย์ขจิต ที่กรุณาแนะนำ ผมจะลองดู ผมไปหาพี่เอื้องแซะมาแล้วครับ ไม่ค่อยเข้าใจที่พี่เขาอธิบาย กราบขอบพระคุณอีกครั้ง อาจารย์เก

  • อาจารย์เก ครับ
  •  ต้อง learning by doing อีก 1 รอบนะจ๊ะ
  •  .ใคร....ใคร้....ใคร...จะบังอาจ ไปสอน ศน. อิ อิ
  • ขอให้มีความสุขในวันพ่อนะคะ
  • มาชวนอ.เก ไปลงทะเบียนทำความดีเพื่อพ่อ ที่นี่ค่ะ
  • พี่ขจิต..

สอนทางโทรศัพท์สิเจ้า ^^

ขอบคุณพี่เอื้องแซะหนำๆ ครับ ที่พี่สอนผมวันนั้น ผมลองผิดลองถูก เสร็จแล้วภาพมันเบ้อเริ่มเทิ่มเลย เป็นสองภาพซ้อนเต็มจอ ถามพี่อีกพี่บอกรีไซด์ ก็มาลองรีไซด์ มันก็ไม่ได้ดั่งใจ หนูแอนบอกว่าย่อภาพก่อน ก่อนนำไฟล์ขึ้นก็ย่อไม่เป็นอีก อาจารย์ขจิตก็กรุณาสอนให้ก็ลองดูแล้ว ได้แต่ภาพใหญ่เลยยังไม่กล้าบันทึก พี่สาวต้องสอนผมอีกรอบนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับพี่คนสวย มานึกถึงตัวเองสิ่งที่ยากที่สุดก็เคยทำสำเร็จมาแล้ว ขั้นตอนเพียงแค่นี้ทำไมเรายังทำไม่ได้ หรือว่าเราแก่เกินจะเรียนรู้เสียแล้ว ตั้งคำถามถามตัวเองอยู่ทุกวันเลยนะพี่ ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

ส่วนหนูเนปาลี บอกให้สอนทางโทรศัพท์ ยิ่งไปใหญ่เลยหนูเอ๊ย ขอบคุณมากครับที่ร่วมเป็นห่วงเป็นใยลุงเก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท