ลปรร. R2R DM สวรส. ครั้งที่ 4 /2551


ลปรร. R2R DM สวรส.  ครั้งที่ 4 /2551

26 พฤศจิกายน 2551

Theme เครือข่ายความเข้มแข็ง DM จาก 300 กว่าเป็น DM 70 กว่าเรื่อง และได้รับรางวัล 30 กว่าเรื่อง

 

อ.แต้ม...เล่าถึงที่มาที่ไปของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการประชุมครั้งก่อน

“เชื่อมคน เชื่อมงาน...เชื่อมความรู้” 

 

เพื่อลด....ช่องว่างของ “ความรู้”

 

บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เริ่มจากคุณทัศนีย์ จาก สปช. เล่าเรื่องการขับเคลื่อนเครือข่ายเบาหวาน...

คุณทัศนีย์: งานเครือข่ายเรียนรู้เบาหวาน primary จะช่วยได้เยอะ สปช. จะเชื่อมให้ให้เกิดการทำงานเครือข่าย เริ่มจาก DM เริ่มมีการขยายผลไปสู่การสร้างเครือข่ายการทำงานอื่น เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ภาคกลางจะเป็นจุดอ่อนที่สูงของการทำงานที่ สปช. ซึ่งมีปัญหาเรื่องกลไกทำงาน บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน “ชุมชนจะเป็นต้นแบบ และขยายไปยังผู้ดูแล ถือเป็นกลยุทธ์หลักโดยเสริมสร้างผ่าน อสม. การจัดการที่ยังมีปัญหา คือ เขตเมือง”  --- primary care team

 

“บุคลากร และศักยภาพของบุคลากร”  ---- ภาระงานมาก เวลาน้อย นี่คือคำบอกเล่าที่มักได้ยินอย่างคุ้นชิน จากคนหน้างาน

 

ถ้าหากว่ามีการกำหนด Know How จะยังพอช่วยให้กระบวนการทำงานขับเคลื่อนไปด้วยได้

มีกระบวนการคัดกรอง ที่ไม่เป็นไปอย่างสอดคล้องกับพื้นที่

 

รูปแบบการบริการ ทาง สปช. ได้ทำ tool  kid เพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานได้มากที่สุด – ท้องถิ่น สาธารณสุข และชุมชน เพื่อให้primary  care team ได้ทำงานอย่างเต็มที่

 

Problem ที่พบมาก คือ ในเรื่อง Information  system

 

ปิยะรัตน์:  ศูนย์สุขภาพชุมชนตาปี จ.สุราษฏร์ธานี เล่าว่า มีหมอผลัดกันมาออกตรวจสองวันในหนึ่งสัปดาห์

 มีการชักชวนกันก่อตั้งเป็นชมรม

เรียนรู้การใช้สมุนไพร

การเรียนรู้กันเป็นกลุ่ม

เน้นการทำงานเชิงรุกมากขึ้น เช่น ลงไปหาและคัดกรองผู้ที่มีแนวโน้มหรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นหวาน จากที่ลงไปออกตรวจหรือคัดกรองในชุมชม พบว่า มีผู้พิการที่มีผู้ป่วยเบาหวานมาก

ให้เจ้าที่ อสม. หรือแกนนำสุขภาพไปประเมินและตรวจ screen ก่อนจากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกตรวจเยี่ยมตามอีกครั้งหนึ่ง ภาระงานเยอะ แต่บริบทของ PCU ทำให้กระบวนการทำงานค่อนข้างมีปัญหา ความหลากลายของการตรวจและรักษาในผู้ป่วยก่อให้เกิดเป็นปัญหา ไม่มีแนวทางชัดเจน การสร้างกระบวนการเรียนรู้ไม่เหมาะสมกับสภาพบริบทของผู้ป่วย

 

Need ต้องการความชัดเจนในแนวทางการดูแล ซึ่งประเด็นนี้ อ.หมอวิจารณ์ท่านจึงเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติงานแต่ละแห่งเล่าสู่กันฟัง

 

อำเภอสันทราย : ผู้ป่วยขาดนัด การรักษาไม่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวม

แยกการทำงานออกจากโรงพยาบาล เพื่อ support ต่อชุมชนในเรื่องการได้ความเสมอภาคในการรับบริการของประชาชน

 

Best Practice คุณนิตยาภา :

ข้อค้นพบของหนองหาร อ.สันทราย ---- (1) ชุมชนซึ่งเป็นเรื่องของเครือข่าย โดยเฉพาะจะช่วยได้ในเรื่องคัดกรอง “อาสาคัดกรอง-”  เรียนรู้ร่วมกันกับผู้ป่วยเบาหวาน(2)  primary ต้องเชื่อมโยงระหว่าง PCU กับโรงพยาบาลโดยมี CPG เป็นแนวทาง (ผู้บริการทุกระดับ-สาธารณสุขระดับ) (3) อบท. (4) ของบประมาณโดยให้เป็น net work โดยแบ่งตามพื้นที่ที่ อบท. มาร่วมให้การสนับสนุนในการพัฒนา

 

การ train บุคลากรในเรื่องการมองชีวิต โดยเฉพาะในเชิงคุณภาพ มากกว่าการดูเฉพาะในเรื่องโรค

*การใส่เงื่อนไข* ในเชิงพฤติกรรมของผู้ป่วย + ระดับน้ำตาลในเลือด

 

ทำแผนผังเครือญาติ ที่สัมพันธ์กับผู้ป่วย เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการใช้คัดกรอง

มีการ plot กราฟ เกี่ยวกับสภาพของผู้ป่วยตามพื้นที่

มีการเชื่อมโยงกับคณะเภสัช มช. และเครือข่ายของมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มช.

(เภสัชกร จะลงสู่ชุมชนมากขึ้น เปลี่ยนบทบาทจากการคอยนั่งแจกยาในห้องจ่ายยา เปลี่ยนลงไปสู่ชุมชนมากขึ้น)

 

คุณศิริมา : รพ.หนองกุงศรี

นำแนวคิดในเรื่องเสี่ยวเบาหวาน แนวคิดมาจาก เรื่อง self  help group มาประยุกต์ใช้กับสภาพบริบทของพื้นที่

 

อยากทำงาน prevention

นำแนวคิดเรื่อง ฮีตสิบสอง ---- นำคนที่เป็นเบาหวานมาทำในเรื่อง ฮีตสิบสอง

 

อ.หมอวิจารณ์ - กระบวนการเคลื่อนไหวระบบสุขภาพ

เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการทำงานสู่ระบบชุมชน เกิดการเรียนรู้ ----- เกิดเป็นการเปลี่ยนระบบสุขภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากปัจจัยเล็กๆ หลายๆ ปัจจัย เพื่อจับทิศทางและการเคลื่อนไหว

 

เมื่อไรที่เป็นกระบวนการเชิงสังคม – ภาคกลางจะค่อนข้างพัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีสภาพทางสังคมที่แตกต่าง

 

อ.พรศรี: เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น ---- Impact ที่เกิด องค์ความรู้  ปัจจัยที่ควบคุมระดับน้ำตาล การให้ความรู้อย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขกระบวนการที่ซับซ้อน กระบวนการเรียนรู้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันระหว่างแม่และเด็ก ได้ทักษะในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น

Out come – self-esteem ดีขึ้น เช่น “เด็กได้เข้าร่วมหวาดภาพ ชีวิตหวานๆ ของฉัน” ผลิตตุ๊กตาในการสอนเด็กเรื่องการฉีดยา เกิดชมรมผู้ปกครองเด็กและวัยรุ่น มีการจัดกิจกรรมค่ายเบาหวานเพื่อสร้างทักษะในดูแลตนเอง เกิดหลักสูตรพัฒนาค่ายพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน

Care team จะมีการประชุมทุกสองเดือน

 

อ.หมออัครินทร์: ขยายเรื่องการดูแล ผู้ป่วยทุกกลุ่มวัย เน้นในเรื่องการเรียนการสอน เพื่อเน้นให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างไรให้มีความสุข

 

ปัญหาและอุปสรรค มองทางบวกให้เป็นโอกาสในการคิดแก้ปัญหา

 

***อ.หมอเชิดชัย : ชี้ให้เห็นได้ว่า screening d. และ Health screen นั้นให้ผลไม่เหมือนกัน

ทำ value ตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น จากตั้งแต่ PCU ไปจนถึงโรงพยาบาล เก็บเป็นข้อมูล

ศิริราช รับขับเคลื่อน R2R ทั้งประเทศ จากความร่วมมือกับทาง  สวรส.  สปสช.

 

วันนี้ อ.หมอเชิดชัยมีโจทย์วิจัยมาแจกจ่ายให้กับเครือข่าย R2R เบาหวานอย่างมากมายซึ่งเป็นที่น่าสนใจและน่าค้นหาคำตอบเพื่อสู่กระบวนการพัฒนาหน้างานต่อไป

 

อ.หมอวิศิษฐ์ :  เสนอเรื่อง CPG ทางโรงเรียนแพทย์ต้องเป็นตัวหลัก  คุณทัศนีย์เล่าให้ฟังว่าตอนนี้ที่เครือข่ายเบาหวานใช้ไกด์ไลน์ จะใช้ของ สปช.

 

คุณศิริโสภา : เป็นนักศึกษาปริญญาโททางการพยาบาล มาร่วมเล่าเรื่องการศึกษา care giver ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานเด็ก ผู้วิจัยมีความเชื่อว่าหากว่า care giver มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลผู้ป่วยได้ดีจะช่วยในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้ดี

 

สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วันนี้ นำไปสู่การขับเคลื่อนเครือข่าย R2R DM เกิดเป็นรูปธรรมที่น้อมนำกลับไปสู่การสนับสนุนการทำงานขับเคลื่อน R2R สำหรับคนหน้างานต่อไป และสิ่งที่ได้ตามมา การพัฒนาในเชิงระบบในการขับเคลื่อน R2R DM เกิดขึ้นต่อไป นอกจากนี้สิ่งที่ได้ในวันนี้ก่อให้เกิดการเชื่อมคน เชื่อมงาน...

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วรรคสุดท้ายของความคิด; การบันทึกนี้เป็นการ short note ที่ตนเองบันทึกไว้ขณะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีหลายประเด็นมากที่ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจในเรื่องเล่าของคนต้นแบบเหล่านี้ บอกเล่าสู่กันฟัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คุณนิตยาภา เล่าถึงงานที่คณะเภสัชกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาร่วมในกระบวนการทำงาน เพื่อเป้าหมายทะลายกรอบการทำงานของเภสัชในห้องกระจก เพื่อเข้าสู่หัวใจผู้รับบริการมากขึ้น ชุมชนมากขึ้น...

คุณนิตยาภา จาก หนองหาร อ.สันทราย กำลังเล่าเรื่องการทำงาน

พี่รัตน์ จาก PCU โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานีบอกเล่าเรื่องราวการทำงาน

คุณศิริมา (เสื้อสีดำ)จากหนองกุงศรี...เจ้าของประโยคที่ว่า "ไม่อยากเป็นคนดัง" แต่ตอนนี้ดังไปแล้วเพราะข้าพเจ้ามักนำเรื่องราวการทำงานของเธอผ่านเรื่องราว VCD ที่ สวรส. จัดทำเผยแพร่ไปทั่วประเทศแล้ว

นั่งข้างๆ กันนี้ คือ พี่รัตน์จากสุราษฏร์ธานี

-------------------------------

หมายเลขบันทึก: 225985เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณอาจารย์กระบุ๋ม ที่ลงรูปและเนื้อหาให้ค่ะ

ถ้ามีอะไรดี ๆ เกี่ยวกับงานเบาหวานก็ส่งมาความรู้มาให้บ้างนะค่ะ

ในเขตเมือง ค่อนข้างทำงานยาก ประชาชนจะเห็นคุณค่าของเจ้าหน้าที่น้อยกว่า

ชนบท องค์กรใหญ่การทำงานเป็นทีมค่อนข้างยากค่ะ

ขอให้อาจารย์มีความสุขกับการทำงานอย่างนี้ตลอดไปนะค่ะ

สวัสดีค่ะ...พี่ปิยะรัตน์

ดีใจจังที่ได้รับการทักทายผ่าน Blog ไม่ทราบว่าการเดินทางวันกลับของพี่เป็นอย่างไรบ้าง...แต่ได้มาเห็นการทักทายนี้ รับทราบได้ว่าพี่ถึงบ้านที่หมายอย่างปลอดภัย...

วันนั้นกะปุ๋มจำได้ว่า ชอบคำพูดของ อ.หมอวิจารณ์ที่ท่านจะเน้นอยู่หลายครั้งเหมือนกันว่า "ปัญหาและความยาก เรามองให้เห็นเป็นความท้าทาย" กะปุ๋มก็เห็นสอดคล้องกับท่านเช่นกันนะคะ ว่าความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นได้นั้น มาจากปัญหาและอุปสรรคนี่แหละค่ะ

เป็นกำลังใจให้ในการทำงานนะคะ

(^____^)

นางประหยัด ธุระแพง

สวัสดีค่ะ

อ่านเรื่องราวเบาหวาน แล้วชอบจังค่ะ กระหายอยากอ่านฉบับเต็ม จะหาได้จากที่ไหนคะ หรือถ้าจะกรุณาส่งเมลล์ให้ก็ขอขอบคุณค่ะ คือตอนนี้ทำงานที่ พีซียู ของรพท.หนองบัว อยากให้การดำเนินงานเบาหวานประสบผลดีต่อคนไข้มาก ๆ เลยค่ะ

ยินดีและขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์กะปุ๋มมากค่ะ ที่ได้นำเรื่องราวของคนตัวเล็กตัวน้อยไปขยายผล ยังอยู่ในใจเสมอ"ไม่อยากดัง " แต่ที่ทำในปัจจุบันนี้ประทับไว้ในดวงจิตว่า "ทำดีไว้เพื่อลูก ทำถูกไว้เพื่อหลาน" ขอขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

อ.หมอวิจารณ์ - กระบวนการเคลื่อนไหวระบบสุขภาพ

เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการทำงานสู่ระบบชุมชน เกิดการเรียนรู้ ----- เกิดเป็นการเปลี่ยนระบบสุขภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากปัจจัยเล็กๆ หลายๆ ปัจจัย เพื่อจับทิศทางและการเคลื่อนไหว

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท