วิธีเพาะเห็ดแบบเก่าของชาวเวียดนามที่ปรากฏในเอกสารลาวปี พศ. ๒๔๙๓


๒ ซังวิเย ๑๙๕๓

วันนี้ผมได้ลาภก้อนใหญ่ที่ถูกใจมากๆครับ ท้าวค้ำคูณ ผู้ช่วยของผมที่หงสา ถือหนังสือเก่ามาให้สี่เล่ม บอกว่ารื้อตู้หนังสือเก่าของคุณพ่อที่เคยเป็นเจ้าเมืองเชียงฮ่อน ได้หนังสือเก่านึกถึงอาจารย์เลยเอามาฝาก เป็นหนังสือที่พิมพ์สมัยระบอบเก่า อายุราวห้าสิบปีทุกเล่ม บางเล่มเขียนเป็นลายมือก็มี มีเล่มหนึ่งที่ผมถูกใจมากได้แก่ หนังสือ ปื้มคู่มือกะสิกอน แต่งโดย ท่าน พันท์ เหง้าสีวัทะนะ ในปี ๑๙๕๐ ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์ลาวทันสมัย เวียงจันทน์ วันที่ ๑๒ ซังวิเย ๑๙๕๓ (สมัยนั้นลาวยังเรียกเดือนตามภาษาฝรั่งเศส...แปลว่าเดือนมกราคม..วานผู้รู้ช่วยยืนยันครับ) นั่งพลิกดูด้วยความสุขแบบยากลำบากพอสมควรเพราะเป็นอักษรแบบเก่าใช้วิธีสะกดแบบเก่า และเห็นมีข้อมูลที่น่าสนใจ จึงนำมาเผยแพร่ ประโยชน์ที่หากจะมีจาากบันทึกนี้ขออุทิศให้กับผู้แต่งหนังสือ และท่านเจ้าเมืองคุณพ่อของค้ำคูณครับ

 

บันทึกนี้ขอเผยแพร่วิธีเพาะเห็ดแบบเก่า ที่ผู้เขียนบอกไว้ว่าไปดูตัวอย่างมาจากเวียดนามครับ อยู่ประเทศแกวใต้ การปลูกเห็ดชนิดนี้แพร่หลายในแขวงต่างๆ ที่มีประชากรหลวงหลาย....เราหวังว่าพ่อนา และพ่อสวนประเทศเรา คงจะทดลองการปลูกนี้เบิ่ง...การปลูกเห็ดนี้เป็นเวียกว่างและบ่ต้องการทุนรอนหลายเลย

๑.     การเลือกที่ ดินที่เหมาะสมนั้นคือดินสูงน้ำบ่ท่วมจักเทื่อ เป็นดินทรายยิ่งดี และเป็นที่ร่ม ดินเค็ม(ดินเอียด) และดินส้ม(มีน้ำขังหน้าดิน) นั้นใช้บ่ได้เลย ต้องเฮดหนาน(แปลง)อยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่อสดวกในการรดน้ำ

๒.   การแปง(เตรียม)บ่อนปลูก และวัสดุเพาะ

·       การเตรียมดิน จงเฮดเป็นหนาน(แปลง) ลวงยาวตามใจ ส่วนลวงกว้างควรมีขนาด ๑.๒ ถึง ๑.๕ เมตรเพื่อให้เก็บเห็ดได้ง่าย พูนแปลงให้สูงจากพื้นเพื่อป้องกันน้ำขังซึ่งอาจทำให้เห็ดเน่าได้

·       การเตรียมวัสดุเพาะ สามารถใช้ฟางข้าวหรือหญ้าที่ใช้มุงหลังคา(ไม่ทราบชนิด...ที่เวียดนามน่าจะเป็นพวกหญ้าคา....เอหรือพวกกก...ผู้บันทึก) สำหรับฟางข้าวไม่ควรใช้ข้าวที่ปลูกบนดินเค็มหรือดินเปรี้ยว ฟางข้าวใหม่ต้องแช่น้ำสองสามวันจึงจะใช้ได้

๓.   วิธีการเพาะเห็ด มีสองวิธีดังนี้

·       วิธีแรก ให้วางฟางที่เปื่อยวางบนแปลงเสียก่อน แล้วเอาฟางวางทับอีกให้หนาประมาณ ๓๐ ซม. แล้วจึงเอาขี้เถ้าที่ได้จากการเผาฟางโรยข้างบน(ห้ามใช้ขี้เถ้าจากไม้) รดน้ำแล้วนำฟางมาวางและโรยหน้าด้วยขี้เถ้าจากฟางอีกรอบ จนกองเพาะเห็ดสูง ๗๐ซม. รดน้ำอีกรอบ แล้วเอาขี้เถ้าจากฟางโรยรอบๆกองเพาะเห็ด นำใบกล้วย ทางมะพร้าวมาปิดทับด้านบน

·       วิธีที่สอง กองฟางให้สูง ๗๐ ซม. แล้วเอาข้าวเหนียวตำให้แหลกพอสมควรผสมกับรำและแป้งเหล้ามาโรยใส่กองฟาง หรืออาจใช้ส่าเหล้าแทนก็ได้ จากนั้นให้นำต้นกล้วยผ่าสองหรือผ่าสี่มาวางทับเอาฟางคลุมบางๆอีกชั้นหนึ่ง แล้วคลุมด้านบนด้วยใบตองกล้วยหรือทางมะพร้าว

๔.   การดูแลรักษา

·       รดน้ำทุกวันแต่อย่าให้เปียกโชกเกินไป

·       ใช้น้ำจากสระจากท่าได้ แต่ห้ามใช้น้ำจากบวก(ปลักควาย)เด็ดขาด

·       ในฤดูฝนควรทำหลังคาคลุมกองเพาะเห็ด

๕.   การเก็บเห็ด      หากใช้ฟางเก่าเห็ดจะออกดอกหลังจากเพาะประมาณ ๒๕วัน หากเป็นฟางใหม่จะได้เก็บเห็ดภายใน ๖๐ วัน และสามารถเก็บเห็ดได้นาน ๔ เดือนจึงหมด เมื่อฟางเปื่อยหมดแล้วก็ทำการเพาะใหม่ในแปลงเดิมได้และการนำฟางที่เปื่อยออกจากแปลงควรเหลือชั้นฟางเก่าไว้บ้างเพื่อให้เป็นชั้นล่างของกองใหม่

 

เป็นอย่างไรบ้างครับผมอ่านแล้วคิดว่าน่าลองนะครับ เป็นเห็ดอินทรีย์ปลอดสารไร้พิษทีเดียวครับ สมัยก่อนที่บ้านก็เคยได้ทานเห็ดจากกองฟางเก่าๆอย่างนี้เหมือนกัน รวมถึงเห็ดที่ขึ้นตามกองเปลือกถั่วเหลือง และกองต้นถั่วลิสงที่อร่อยพอๆกับเห็ดโคน ผมเองก็ว่าจะชวนพี่น้องที่หงสาทำตามบ้างเหมือนกัน ที่นี่สั่งเชื้อเห็ดเข้ามายากครับ ทางไกล ลองใช้แบบเก่าๆน่าจะดีครับ

หมายเลขบันทึก: 225559เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2008 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ

เป็นวิธีการเพาะเห็ดแบบดั้งเดิมที่เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ (ซื้อ) ก้อนเชื้อเห็ดฟาง 

คงจะทดลองการปลูกนี้เบิ่ง...เพราะ..การปลูกเห็ดนี้เป็นเวียกว่างและบ่ต้องการทุนรอนหลายเลย

ขออนุญาตเอาไปแนะนำต่อ..ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับคุณพิทักษ์

ยินดีที่บันทึกมีข้อมูลที่สนใจครับ ยิ่งยินดีมากหากได้ช่วยนำไปเผยแพร่

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

โห ได้ตำราเก่าด้วย

สนใจมากครับ..

  • การเลือกที่ ดินที่เหมาะสมนั้นคือดินสูงน้ำบ่ท่วมจักเทื่อ เป็นดินทรายยิ่งดี
  • แสดงว่าดินที่น้ำท่วมถึงบ่ดีก๋า
  • เคยเห็นเพื่อนเพาะเห็ดฟางแต่เปิ้นบ่ใช้ดิน
  • ใช้กะฟางอย่างเดียว
  • บ่ฮู้เข้าใจถูกก่อ
  • ขอบคุณจั๊ดนักที่ไปเยือน
  • และเอาน้องแมวไปเยี่ยมเจ๊า

           อย่าจับหนูไปเลี้ยงเลย   หนูอยากเป็นแมวเสรี  อิอิ

สวัสดีครับ

สมัยก่อนไม่ต้องใช้เชื้อ หัวเชื้อ..กองทิ้งไว้ไม่นานก็ได้กิน

อาจจะเนื่องจากความบริสุทธิ์ของอกาศในธรรมชาติ

ปัจจุบันคงไม่ไหว..เชื้อที่ไม่พีงประสงค์มาก

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ ท่าน บก. ธ วัช ชัย

สนใจหนังสือเก่าตามประสาคนรักหนังสือใช่ไหมครับ

ผมกำลังคัดสรรว่าจะเอาเล่มใดไปถ่ายเอกสารอยู่ครับ

สวัสดีครับคุณมนัญญา

ผมคิดว่าที่เขาพูนดินขึ้นเป็นแปลงน่าจะป้องกันน้ำท่วมครับ

ปกติก๋านเพาะเห็ดเฟืองเฮาแป๋งฮ้านแล้วก้อยเอาเฟืองวางเพาะก่ได้ครับ แต่วิธีนี้ต้องใส่เจื้อเห็ด

ขอบคุณครับท่านเกษตรยะลา

ผมกำลังทดลองที่หงสาครับ ที่นี่อากาศยังดีอยู่ ยังน่าจะได้ผล

แล้วจะรายงานผลครับ

สวัสดีค่ะพี่เปลี่ยน...ภูมิปัญญาชาวบ้านนี่น่าสนใจจริง ๆ ค่ะ

น่าสนใจมากค่ะ แปลงที่ท่าน้ำกำลังว่าง เพราะน้ำท่วมต้นพืชที่เคยมีตายหมด หากท่านใดลองแล้วได้ผลเป็นอย่างไรมาเขียนเล่าสู่กันบ้างนะคะ อ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจว่า ทำแปลงอย่างนี้แล้วเห็ดจะมาขึ้นเองหรือคะ หรือเราต้องไปหาเชื้อเห็ดมาบ้าง อยากลองปลูกเบิ่งดูค่ะ เพราะเป็นวิธีเหมือนปลูกพืชอื่นๆ ไม่ต้องสร้างโรงเรือนอย่างการเพาะเห็ดสมัยนี้เขาทำกัน

อันฟางตี้ฮ้อง ปี้น้องเฟืองหนา บ่ใจ้ใบคา แต่เป๋นใบข้าว
อันคนโบราณ ปื๊นบ้านฮากเหง้า เอาเฟืองมาเนา ก๋องไว้
เอาน้ำเข้าหะ หาหยังปกไซ้ สามสี่เดือนได้ เห็ดฮา
มันบ่หมีปิ๊ษ ติดค้างเลยหนา โบราณต่ำฮา หาซื้อบ่ได้ หาซื้อบ่ได้.

ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร

เป็นการเพาะเห็ดฟางแบบเก่ามากๆ ไม่ต้องใช้เชื้อเห็ด แต่อาศัยสปอร์ของเห็ดฟางที่มีอยู่ในธรรมชาติ คล้ายกับการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง (อาจเรียกว่าเป็นวิธีดักสปอร์เห็ดฟางในอากาศก็ได้ครับ) จะเกิดหรือไม่ อยู่ที่ ณ.เวลานั้นๆมีสปอร์เห็ดฟางหรือไม่ ถือว่าเป็นยุคแรกซึ่งช่วงนั้นยังไม่สามารถผลิตเชื้อเห็ดฟางได้เหมือนปัจจุบัน ขอขอบคุณ ผู้เขียนจากตำราเก่า และได้เล่าให้ชาวเห็ดฟังครับ **โดย. ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร โทร.081-886-9920,089-850-5103. www.phetphichit.com**

ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร

เพาะเห็ดฟาง

มีหลายวิธี มีข้อมูลมากมายที่ www.phetphichit.com หรือโทร.ติดต่อได้ที่ 081-886-9920 ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร จ.พิจิตร และทุกวันที่9ทุกเดือนเปิดอบรมฟรี ที่ฟาร์ม เรื่องการเพาะเห็ดทุกชนิดครับ. รายงานโดย. **ศูนย์ข้อมูลเห็ดเพชรพิจิตร 089-850-5103**

สามารถทดลองเพาะได้ครับ(เป็นการย้อนยุค)

ควรใช้ฟางข้าวเหนียว เพราะมีสารอาหารมากกว่าฟางข้าวเจ้า(น่าจะมากกว่าเท่าตัว) เคยทดลองใช้เชื้อกับฟางเท่านั้น ทั้ง 2 ชนิดให้ผลผลิตแตกต่างกันมาก และยังมีการเพาะกองเตี้ยแถว อ.เทิง จ.เชียงราย (รอบ เทศบาลป้อง)เพาะกันเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่หลังวันพ่อ(5ธ.ค.-สิ้นเดือน มี.ค. ทุกปี) โดยใช้เพียงเชื้อเห็ดฟางและฟางข้าวเหนียวเท่านั้นครับ # รายงานโดย ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร www.phetphichit.com โทร.081-886-9920 #

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท