วิเคราะข้อมูลโดยใช้ SPSS


SPSS วิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงเปรียบเทียบ

วันก่อนได้เข้าไปสัมมนา เกี่ยวกับการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล    

 โดย อ.ดร.ปุญญพัฒน์  ไชยเมล์ อ.ประจำคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ม.ทักษิณ พอสรุปความได้ดังนี้

โปรแกรม SPSS (Statistical Package for Social Science) สำเร็จรูปทางสถิติที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะแสดงค่าสถิติต่างๆ พร้อมทั้งสามารถแสดงกราฟและตาราง ซึ่งประกอบด้วย

            1.  Data Editor หน้าจอแสดงข้อมูลในแฟ้มข้อมูล และแสดงชื่อ ชนิด และลักษณะต่างๆ ของตัวแปรในแฟ้มข้อมูล

            2.  Viewer เป็นหน้าจอแสดงผลลัพธ์ทั้งที่อยู่ในรูปข้อความ ตาราง และกราฟ

            3.  Multidimensional Pivot Tables ผลลัพธ์ของ SPSS ส่วนใหญ่อยู่ในรูป Pivot table ซึ่งทำให้สามารถปรับเปลี่ยน row, column และ layer ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

            4.  High-Resolution Graphics ใน SPSS จะแสดงกราฟชนิดต่างๆ เช่น pie chart, histogram, 3-D graphics ฯลฯ

            5.  Database Access ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจาก database ที่สร้างด้วยโปรแกรมอื่นๆ มาวิเคราะห์ โดยใช้ Database Capture Wizard

            6. Data Transformation การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจะต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลก่อนที่จะนำมาคำนวณค่าทางสถิติต่างๆ และยังสามารถเลือกข้อมูลบางส่วนในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มเข้าเป็นแฟ้มเดียวกัน หรือแยกข้อมูลจากแฟ้มเดียวกันออกเป็นแฟ้มย่อยหลายๆ แฟ้ม ฯลฯ

            7.  Electronic distribution SPSS สามารถ export ตารางผลลัพธ์และ chart ในรูปแบบ HTML สำหรับ Internet และ Internet distribution

            8.  Online Help จะให้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับคำสั่งของ SPSS โดยผู้ใช้สามารถเลือกหัวข้อที่ต้องการทราบรายละเอียด

 


 

ความหมายของข้อมูลและตัวแปร

 

 


          ข้อมูล  หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น  อาจจะอยู่ในรูปของข้อความหรือตัวเลข

            ตัวแปร  หมายถึง ขอมูลที่ได้จากการสังเกต  วัด สอบถามจากหน่วยศึกษา  แต่หน่วยศึกษาจะแตกต่างกัน  ข้อมูลที่ได้จึงจะแตกต่างกัน เช่น รายได้ของคนใน กทม.  แต่รายได้ของแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน  ตัวแปรนั้นก็คือรายได้ของคน

สาเหตุที่ทำให้ค่าของตัวแปรหรือข้อมูลมีค่าแตกต่างกัน

            1. คุณลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น การที่รายได้แตกต่างกัน เนื่องจาก ระดับการศึกษา  อายุ  เพศ  หรือตำแหน่งเป็นต้น

            2. เวลาที่แตกต่างกัน เช่น ราคาข้าวต่อถังของแต่ละปีจะแตกต่างกัน

            3. สถานที่แตกต่างกัน เช่น ราคาข้าวต่อถังในแต่ละภาคอาจจะแตกต่างกัน

การประมวลผลข้อมูล

 

 

 


            ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากแบบสอบถาม  การสงเกตหรือการทดลองเรียกว่าข้อมูลดิบ (raw data) ผู้วิจัยต้องทำการวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูลดิบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในเบื้องต้น

ความหมายและขั้นตอนการประมวลผล

 

 

 


            การประมวลผลคือ การจัดข้อมูลอย่างมีระบบเพื่อให้ข้อมูลที่ได้รับการประมลแล้วอยู่ในรูปแบบที่สามาระนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การเตรียมข้อมูลเพื่อการประมวลผล / วิเคราะห์

1.      การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจจะมาจากเอกสาร  แบบสอบถาม  การทดลอง

2.      การเปลี่ยนสภาพข้อมูล ประกอบด้วย 

การลงรหัส คือ การเปลี่ยนรูปแบบขอมูลโดยใช้รหัสแทนข้อมูล  รหัสอาจอยู่ในรูปตัวเลข  ตัวอักษรหรือข้อความ

            การบรรณาธิการ คือ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

            การแปรสภาพข้อมูล  คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูล

 

 

การประมวลผลข้อมูล

ประมวลผล

 

 

 


            เป็นการนำข้อมูลที่เปลี่ยนสภาพแล้วมาทำการวิเคราะห์  ปัจจุบันการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมา

วิเคราะห์จะแบ่งออกเป็น  2 ระดับคือ

1.      การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น  ประกอบด้วย

            การดึงข้อมูล (Retrieving) เป็นการค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผลต่อไป

            การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) เป็นการจัดข้อมูลให้เรียงเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร

            การรวมข้อมูล (Merging) การนำเอาขอมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปมารวมเป็นชุดเดียวกัน

            การคำนวณและเปรียบเทียบ เป็นการคำนวณเบื้องต้น เช่น หาผลรวมของยอดต่างๆ

2.      การวิเคราะห์ขั้นสูงประกอบด้วย

การประมาณค่า (Estimation) เป็นการประมาณค่าประชากรตัวอย่าง เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าแปรปรวน

การทดสอบสมมติฐาน

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร

การพยากรณ์ เป็นการประมาณการตัวแปรในอนาคต

เมนูบนหนาจอของโปรแกรม SPSS

ประมวลผล

 

 

 


            File  :  เป็นเมนูคำสั่งเปิดแฟ้ม สร้างแฟ้ม บันทึกแฟ้มข้อมูล อ่านแฟ้มข้อมูลที่สร้างโดยโปรแกรมอื่นๆ เช่น Excel , dBase พิมพ์ข้อมูลเป็นต้น

            Edit  :  เป็นเมนูที่ใช้แก้ไข คัดลอก  ตัด  ค้นหาข้อมูล

            View :  เป็นเมนูที่ใช้ costumize  toolbar , status bar , font และ label

            Data :  เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงแฟ้มข้อมูล เช่น การรวมแฟ้ม การสร้างเซ็ทย่อยของแฟ้มเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล การเพิ่มตัวแปร การเพิ่มข้อมูล การเรียงลำดับ การแยกแฟ้ม การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว จึงไม่มีผลต่อแฟ้มข้อมูลเดิม ยกเว้นจะสั่งให้มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลง

            Transform :  เมนู Transform จะใช้ในการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรแฟ้มข้อมูล คำนวณหาค่าตัวแปรใหม่ โดยใช้ฟังก์ชั่นของตัวแปรเดิม การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่มีผลต่อแฟ้มเดิม ยกเว้นจะสั่งให้มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลง

            Analyze :  เป็นเมนูที่ประกอบด้วยกี่วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เช่น การสร้างรายงาน การหาค่าสถิติเบื้องต้น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Compare means) , หาความสัมพันธ์ (correlation) อนุกรมเวลา (time series) การทดสอบที่ไม่ใช่พารามิเตอร์ (nonparametric) เป็นต้น

            Graphs            :  เมนู Graphs จะใช้สร้าง bar chart, pie chart, histogram, scatter plot , ROC curve ฯลฯ

            Utilities :  เป็นเมนูคำสั่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรในแฟ้มข้อมูลที่ใช้อยู่

            Windows :  เป็นเมนูที่ใช้ในการจัดเลือกและควบคุม window เราจะใช้ window menu ในการสลับ SPSS windows หรือ minimize SPSS window ที่เปิดไว้ทุก window

            Help :  ใช้เชื่อมกับ SPSS Internet home page และอธิบายความหมายของคำสั่งต่างๆ

สถิติเบื้องต้น

ประมวลผล

 

 

 


            หลักจากเก็บรวบรวมข้อมูลและสร้างแฟ้มข้อมูลเรียบร้อยแล้ว  ผู้วิจัยต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยจะแบ่งสถิติออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.      สถิติเชิงพรรณา  เป็นหลักการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  และการนำเสนอทั้งในรูปกราฟ  รูปภาพและการหาค่าสถิติเบื้องต้น ฯลฯ

2.      สถิติเชิงอนุมาน  หมายถึงค่าสถิติของวิเคราะห์ตัวอย่าง  แล้วนำผลการวิเคราะห์นั้นอ้างอิงถึงลักษณะที่สำคัญของประชากร  โดยใช้หลักเกณฑ์ของความน่าจะเป็น  ประกอบด้วยการประมาณค่า

 

สถิติเชิงพรรณา  ประกอบด้วย

1.      การนำเสนอข้อมูล 

v   การนำเสนอในรูปบทความ เช่น สถิติของคนไทยแยกตามเพศ

v   การนำเสนอในรูปตารางหรอร้อยละ  ซึ่งอาจจะจำแนกทางเดียวหรือหลายทาง

v   การนำเสนอในรูปกราฟ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลม ฯลฯ

2.      การแจกแจงความถี่ เช่น จำนวนเปอร์เซ็นต์ของอาจารย์จุฬาฯแยกตามวุฒิการศึกษาและเพศ

3.      การวัดค่ากลางของข้อมูล  สถิติที่ให้วัดค่ากลางดังนี้

v   ค่าเฉลี่ย (Mean) ประกอบด้วยค่าเฉลี่ยเขคณิต มัชฌิมเราขาคณิต  มัชฌมฮาร์โมนิค

v   มัธยฐาน (Median)

v   ฐานนิยม (Mode)

v   เปอร์เซนต์ไทล์ (Percentile)

v   ควอไทล์ (Quartile)

4.      การวัดการกระจายของข้อมูล ประกอบด้วยสถิติ

v   พิสัย (Range)

v   พิสัยควอไทล์ (Interquatile Range)

v   ค่าแปรปรวน (Variance)

v   ค่าเบี่ยงบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

v   สัมประสิทธิ์ความแปรผัน (Coefficient of Variation)

v   ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าเฉลี่ย (Standard Error of Mean)

v   การวดความเบ้ (Skewess)

v   การวัดความโด่ง (Kurtosis)

เป็นต้น

 

          สถิติเชิงอนุมาน  เป็นสถิติสำหนับข้อมูลเชิงปริมาณ  เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข  และจัดให้ข้อมูลสเกลอันตรภาค  และสเกลอัตราส่วน  ซึ่งสามารถคำนวณสถิติเพื่อการแสดงถึงค่ากลางและการกระจายของข้อมูล เช่น ค่าเฉลี่ย  ค่ามัธยฐาน  ค่าแปรปรวน  ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด

 


 

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม

 


            ประกอบด้วย  4 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

1.      เลือกแฟ้มข้อมูล&

หมายเลขบันทึก: 224938เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสสดีลูกคนตัดยาง

วันนี้เข้าโปรแกรมspssที่มรภ. สงขลา มึนมาพอดี

มาพบSPSSอีกที ที่บล๊อกท่าน ก็มาทบทวนอีกที

ขอบคุณมากครับ

แวะมาอ่าน และเรียนรู้เพิ่มเติมค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ก้อใช้เคยวิเคราะห์ข้อมูล...เหมือนกันค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน  นะคะ

ฝากบอกด้วยว่าคิดถึง

สวัสดีค่ะ

มีปัญหาการหาค่า t-test ค่า E1-E2 ค่า SPSS ทำผลงานทางวิชาการกำลังจะเยียวยาช่วยคิดให้หน่อยได้ไหมคะ กรรมการคอมเมนท์มาว่าค่า SPSS ได้ซื้อมาหรือเปล่าหมายความว่าอย่างวไรคะ

หมายความว่าSPSS ถูกลิขสิทธิ์หรือไม่แค่นั้นนะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท