ชาครธมโม
นาย สมชาย ชาครธมโม ชินวานิชย์เจริญ

เดินป่านายูง รอบสาม ป่าดิบแล้ง


น่าจะกลับเข้าพื้นที่เพื่อให้คนในพื้นที่ได้รู้จักและช่วยกันรักษาให้คงอยู่

เดินป่านายูง รอบสาม ป่าดิบแล้ง

20 พฤศจิกายน 2551  วันนี้นัดออกเดินทางตอนแปดโมงเช้า   แต่พอดีนึกได้ว่าอย่างน้อยในพื้นที่น่าจะได้เห็นความก้าวหน้า โดยเฉพาะพี่หนึ่งพิทักษ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของพื้นที่ในการอำนวยความสะดวกในการเข้าพื้นที่  มักจะถามอยู่เสมอเวลาเจอกันทุกครั้งว่าได้ข้อมูลสมุนไพรไปแล้วจะไปทำอะไร ผมก็ตอบว่ามันน่าจะกลับเข้าพื้นที่เพื่อให้คนในพื้นที่ได้รู้จักและช่วยกันรักษาให้คงอยู่ไว้  ปุ๊กก็นัดพ่อมา ทีมพ่อชาย พ่ออำนวย พี่สมัย และทีมงานเป็นที่เรียบร้อย พ่อมามารอแต่เช้าเลย ผมมาถึงก็มาพิมพ์รายชื่อสมุนไพร แยก 2 ประเภทป่า คือป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ซึ่ง ป่าเต็งรังมีข้อมูลของสมุนไพร 29 ชนิด ป่าเบญจพรรณมี 66 ชนิด โชคดีที่มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมระบบฐานข้อมูลบ้าง ก็เลยให้โปรแกรมประมวลผลให้และพิมพ์ออกมา  ในวันนี้เราจะไปที่ป่าดิบแล้งกัน  ล้อหมุนตอนประมาณ 08.15 น.  ก็พอดี ๆ แวะรับทีมที่ทางแยกเข้าอำเภอบ้านผือ มาถึงพื้นที่ตอน 10.00 น. พอดีพี่หนึ่งเป็นหัวหน้าทีมงานในพื้นที่ ก็ได้ทำความเข้าใจกันในเบื้องต้นเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการ โดยตอนนี้เรากำลัง สำรวจรวบรวม ซึ่งทำไปได้ 2 ป่าแล้ว ทั้งในงานทางวางแปลง และ GROUND CHECK ซึ่งการระบุชื่อวิทยาศาสตร์นั้นอาจารย์ศิวพงษ์ขอข้อมูลเพิ่มเติม และในส่วนของการวางแปลงนั้นคงจะได้ขอให้ทางผู้เชี่ยวชาญได้แปรผลการสำรวจดังกล่าว  จากนั้นเราจะเชิญทั้งพ่อมา พ่อชาย อาจารย์มาประชุมร่วมกันเพื่อเติมเต็มข้อมูลให้ได้สมบูรณ์ที่สุด แล้วพิมพ์ออก  เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการทำประชาคมในพื้นที่เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่   สุดท้ายก็คือการประชุมสรุปผลงานให้ผู้บริหารทราบในที่ประชุมจังหวัดอีกทีหนึ่ง  นี่ก็เป็นการเล่าความก้าวหน้าให้ทีมฟัง  แต่ขณะนี้บรรยากาศของทางทีมพี่หนึ่ง มีพี่จำปี พี่นิสสัย ซึ่งอยากจะรู้จักสมุนไพรให้มากขึ้น ก็คุยกับพ่อมา พ่อชายอย่างออกรส  และเห็นว่านัดกันไปดูต้นนั้น ต้นนี้

                เราเริ่มออกเดินกันจริง ๆ ก็ตอน 10.30 น. ใช้เวลาเดินเพื่อให้ไปถึงพื้นที่ที่ต้องการสำรวจ ซึ่งพี่หนึ่งเล่าว่ามันจะมีลักษณะดิบแล้ง สลับกับเบญจพรรณ ในพื้นที่ที่จะเข้าไป  ซึ่งถ้าเอารถขึ้นก็ได้ แต่ต้องอ้อมไปอีกทางหนึ่งระยะทางกว่า 40 กม. ถ้าเดินด้วยเท้าจะง่ายกว่า สำหรับคนที่เดินประจำ  เราเดินกันไป เริ่มออกเดิน พ่อมากับพ่อชายเข้าคู่กันได้ ก็จับนู่นดูนี่ ไปไม่ถึงไหน  มีต้นใหม่ ๆ ในป่าเบญจพรรณที่เราเคยผ่านทางมาแล้ว เช่น บ้งเลน  ,  ด้ามขวานหัก เป็นต้น    เราก็เดินไปเรื่อย  ๆ น้อง ๆ ผู้หญิงมีปุ๊ก เจี๊ยบ   สงัด   พวกนี้เก่ง เดินไม่หยุด เดินไปคุยไป  ดูนาฬิกาอีกที 12.00 น. ผมลงข้างทางไปหาที่เบา แล้วกลับขึ้นมา ยังไม่ถึงที่ ก็เริ่มเร่งเท้าและเรียทั้งพ่อมา พ่อชายให้มาให้ทัน เนื่องจากเราจะต้องเข้าไปด้านซ้ายของป่าเต็งรัง เพื่อเข้าพื้นที่ป่าดิบแล้ง ลุยหญ้าเข้าไปสูงครับ บางทีแทงหูแทงตา  วันนี้ผมใส่เสื้อสนามมาด้วยเลยเอาหมวกออกมาคลุม ปิดร่างกายมิดชิดเลยครับ  และเข้าฤดูหนาวแล้ว ถึงแม้ฟ้าจะเป็นครึ้ม ๆ แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าฝนจะตก ระหว่างทางที่เราพยายามฝ่าเข้าไปก็มีเส้นทางเก่าที่หญ้ากลับมาปกคลุมเนื่องจากช่วงฝนตกหญ้าก็ดีใจเป็นธรรมดา  มีเกล็ดลินใหญ่ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ เต็มไปหมดเลยครับ มีเครือคางควายด้วย  และตรงที่เรานั่งกินข้าวเที่ยงกันมีต้นยางบง ซึ่งคุยกันว่ามีแนวโน้มหายาก เพราะเขามาปล้ำเอาไปทำธูป   กินข้างเที่ยงกันเจี๊ยบเตรียมหมูทอดข้าวเหนียวไปให้ พร้อมกับแจ่วของพี่นิสสัย ส่วนพี่จำปีเด็ดเอาเครือออบแอบแถวนั้นแหละ  เดินเข้าไปหานู่นหานี่มาเป็นผักแนม เช่น ผักกูด  ก็ทำให้ผมได้คิดว่าจะมีงานอะไรที่ได้ทำแล้วมีความสุขขนาดนี้  ไปเรื่องปวดขาธรรมดาครับ  โอเค เราเริ่มการสำรวจโดยแบบ่งทีมพ่อชายไปวางแปลง พี่หนึ่งนำทีมกราวน์เช็ค  พร้อมกับพี่นิสสัยเหน็บยากันยุงใส่ไม้เดินตาม  ผมถ่ายรูปใช้กล้องของสงัด เจี๊ยบบันทึก ปุ๊กอัดเสียง  ตอนแรกก็ลองใช้แบบบักทึกลักษณะของต้นไม้ แต่ใช้เวลานานมากต่อต้น ก็เลยใช้วิธีถ่ายรูปมาก ๆ เอา  เดินไปเรื่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ได้เวลาประมาณ บ่าย 2 โมง มาเจอะกับทีมที่วางแปลงพอดี และทีมงานก็กำลังออกล้าเล็กน้อย ส่วนสงัดนะหรือให้แยกไปกับทีมวางแปลง เพราะคาดว่าจะเดินลำบาก  น้องอรุณจาก สอ.ห้วยทราย คนนี้มาช่วยด้วยตลอด    ช่วงนั้นก็หมดป่าเต็งรัง เป็นรอยต่อของเบญจพรรณ มีคนเอากระจ้อนเน่ามาให้กันดม  ก็เฮฮากันใหญ่  ไปดูเถาจางจืด  พี่ ๆ ขุดเอากันใหญ่ครับ กะว่าจะเอาไปกินเหล้าแล้วให้เมายากสักหน่อย  และมีอีกหลาย ๆ เถาเลย  เราเดินตัดป่าเบญจพรรณเข้าไป เพื่อจะไปถึงป่าดิบแล้งอีกที่หนึ่ง มีไผ่ตายขีอยู่ข้างหน้า ทั้งต้องกระโดดข้ามห้วยเล็ก ๆ ปีนป่าย โยกตัว บางที่ต้องก้มลอดป่าไผ่  นี่มาสำรวจสมุนไพรครับ  ออกมาอีกด้านเลยคุยกันว่าอาจจะต้องมีเที่ยวหน้า เพราะตอนนี้ได้รายชื่อไปประมาณ 30 ตัวอย่างแล้ว ก็พากันย้อนรอยกลับทางเดิม  แต่ต้องลงทางที่เคยลงเมื่อคราวที่แล้ว ระหว่างทางย้อนรอยนั้นมีต้นที่น่าสนใจอีกเช่น กระบาก , รกฟ้า หรือเกล็ดลินที่ขึ้นสวยมากจนอดถ่ายรูปไว้ไม่ได้   ส่วนปุ๊กกับเจี๊ยบ ก็เดินลิ่ว ๆ ไปเรื่อย เลย ทางลงก็จำลองภูกระดึงมานี่แหละครับ แต่โหดน้อยกว่าแยะ เพราะเป็นระยะทางที่ปีนเขาไม่มาก  ประมาณว่า 1 ใน 4 ของซำแฮก ลงมาได้รถกระบะแบบที่เขาใช้ขนคนงานนะครับ คือเป็นรถกระบะมีไม้แป้นพอนั่งสบายก้นวางพาดกระบะ อีก 2 แถวแนวขวางนะ  วันนี้ก็ได้ทั้งงานและความประทับใจอีกวันหนึ่ง และ คาดว่าจะให้ปุ๊กลองดูเรื่องของการหยุดเพื่อไปต่อ คือการสรุปความก้าวหน้าว่าได้อะไร ตรงไหนที่ทำได้ดี ตรงไหนที่ต้องปรับปรุง และจะไปไหนต่ออย่างไร

 

 

WHAT

HOW

WHERE

WHEN

WHOM

COLLECT

 

สำรวจ

วางแปลง

ป่าเต็งรัง

ป่าเบญจพรรณ

ป่าดิบแล้ง

 

 

ขอแรงพี่ปัญญา แปรผล

CLARIFY

 

เวทีเสวนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ

มาดูกันว่าครบถ้วนหรือยังในส่วนของสรรพคุณ หรือชื่อวิทยาศาสตร์

 

อจ.ศิวพงษ์

พ่อมา

พ่อชาย

PRINTING / TRANSFORM

 

-ทะเบียนสมุนไพร

-รายละเอียด

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

-แผนที่ป่า

 

 

 

BROADCAST

 

เวทีประชาคม

1.มีสมุนไพรอะไรในพื้นที่

2.ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการคุ้มครองสมุนไพร 4 ประเด็น

อบต.ห้วยทราย

 

ครู

นักเรียน

อบต.

ตู้แหวง

โดยให้ สสอ. / รพ.นัด

อจ.แอ้

พี่ปุ้ย

เป็นวิทยากร

 

คำสำคัญ (Tags): #เดินป่า
หมายเลขบันทึก: 224517เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2008 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เอารูปลงให้ดูหน่อยครับ ลองใช้วิธีของผมดู

ไปสมัคร picture Gallarry ของ Picasa โดยเข้า googles นะเลือกรูปภาพแล้วสมัครดูแทรกลิงค์มาที่ Blog ของเราง่ายๆเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท