การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน


วิสาหกิจชุมชน

                  ประชากรคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก มีทั้งผลิตแล้วบริโภคเอง และไม่ได้ผลิตแต่ซื้อมาบริโภค  ชุมชนในเขตชนบท มีอาชีพหลักคือทำนาโดยมุ่งเน้นการผลิตแบบพอเพียง กล่าวคือ มีผลผลิตเพียงพอสำหรับบริโภคเหลือจากบริโภคจึงจำหน่าย การบริโภค เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ90 จะนำไปที่โรงสีข้าวของเกษตรกรรายอื่น กล่าวคือ ไม่มีโรงสีข้าวเป็นของตนเอง ทำให้ถูกอาเปรียบจากเจ้าของโรงสีซึ่งมักจะกักข้าวสารที่ได้จากการสีส่วนหนึ่งไว้ ทำให้ได้ปริมาณข้าวสารน้อยลง  เกษตรกรเสียเปรียบตลอดมา

                กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวกล้องบ้านสร้างช้าง ตำบลไผ่  อำเภอทรายมูล  จังหวัดยโสธร  จึงได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 16 กรกฎาคม ปี 2550 มีสมาชิกแรกตั้ง 48 คน ปัจจุบัน 95 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวและส่งเสริมการรวมกลุ่มการผลิตเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ตลอดจนปลูกฝังทัศนคติให้ชุมชนหันมานิยมบริโภคข้าวกล้องซึ่งเป็นข้าวที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและโภชนาการ  เป็นแนวทางการส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

การสร้างและการพัฒนา นวัตกรรม

          องค์ประกอบ

-          โรงสีข้าว

-          คณะกรรมการ

-          สมาชิก

-          ผลิตภัณฑ์

วิธีการ

          1.ปี 25050  จัดทำเวทีชุมชนเพื่อจัดทำแผนขอรับการสนับสนุนงบประมาณอยู่ดีมีสุขจากอำเภอทรายมูล ก่อสร้างโรงสีข้าวกล้อง จำนวน 1 แห่ง ได้รับงบสนับสนุน 86,500 บาท ชุมชนสมทบ มูลค่า 40,000 บาท  และครั้งที่ 2 ได้รับงบอยู่ดีมีสุขสนับสนุน จำนวน 43,000 บาท และได้รับคัดเลือกจากอำเภอทรายมูลและจังหวัดยโสธร เป็นจุดต้นแบบในการนำแผนชุมชนมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม

                2.ตั้งระเบียบในการบริหารจัดการและคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม โดยมีสาระสำคัญดังนี้

                                2.1) สมาชิกต้องอาศัยอยู่ในชุมชนตำบลไผ่

                                2.2)คณะกรรมการจะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นผู้สีข้าว ตลอดสัปดาห์ โดยคณะกรรมการจะมีรายได้จากการการสีข้าวกล้อง กิโลกรัมละ 0.50 บาทและข้าวสาร กิโลกรัมละ 0.30 บาท เป็นค่าตอบแทน

                                2.3) เกษตรกรที่นำข้าวมาสีที่โรงสีของกลุ่ม คิดค่าบริการ ดังนี้

                                                - ข้าวกล้อง  คิดจากเกษตรกรที่นำข้าวมาสี กิโลกรัมละ 1 บาท

                                                - ข้าวสาร กลุ่มจะจ่ายให้กับเกษตรกรที่นำข้าวมาสี กระสอบพลาสติกสาน(กระสอบปุ๋ย)ละ 3 บาท 

                                2.4) กลุ่มมีรายได้จาก

                                                - ค่าจ้างสีข้าวกล้อง

                                                - จำหน่ายรำข้าว

                                                - จำหน่ายแกลบสด

                             - จำหน่ายปลายข้าว

                                                - จำหน่ายข้าวกล้อง (ตามราคาท้องตลาด)

                                2.5) การจัดสรรกำไรสุทธิ

                                                - ค่าตอบแทนกรรมการ ร้อยละ10

                                                - เฉลี่ยคืนสมาชิก ร้อยละ 30

                                                - กองทุนสวัสดิการให้กับสมาชิก  ร้อยละ 10

                                                - กองทุนประกันความเสื่อม ร้อยละ 10

                                                - สมทบกองทุน  ร้อยละ 40

การทดสอบ

          สิ้นปี 2550 กลุ่มดำเนินการครบ 6 เดือน กลุ่มจึงมีการประชุมใหญ่เพื่อแถลงผลการดำเนินงานและประเมินผลการดำเนินงานปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากคนในและนอกชุมชน  สมาชิกได้รับเงินปันผลจากการดำเนินงาน ร้อยละ 41 บาท(โดยคิดจากการระดมหุ้น) นอกจากจะเป็นการประเมินผลการดำเนินงานแล้วกลุ่มได้เปิดโอกาสให้ชุมชนได้สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิก 95 ราย ระดมหุ้นสมาชิก 6,000 บาท    เงินทุนหมุนเวียน   30,241  บาท   แต่กลุ่มพบปัญหาจากการดำเนินการ ดังนี้

                1) มีข้าวปนระหว่างข้าวสารกับข้าวกล้อง เพราะใช้โรงสีเดียวกันใช้วิธีสลับสายพาน จึงเกิดปัญหาการปนของข้าว

                2) สีข้าวไม่ทันกับความต้องการผู้มาใช้บริการเพราะสีสลับระหว่างข้าวสารกับข้าวกล้อง

                                กลุ่มจึงจัดประชุมและหาแนวทางแก้ไขโดยใช้เวทีประชาคมของชุมชนขอสนับสนุนงบประมาณจากงบอยู่ดีมีสุข(รอบสุดท้าย ในปี 2551) เพื่อก่อสร้างโรงสีข้าวสารโดยเฉพาะเพื่อบริการชุมชน

ทำให้การดำเนินการเป็นไปได้ด้วยดี นอกจากนี้กลุ่มยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ จำนวน 5,000 บาท ผ่านโครงการบริหารจัดการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลไผ่  ในปี 2550 

ผลประโยชน์ที่ได้รับ

          1) ชุมชนได้บริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางอาหาร

                2) ชุมชนมีการบริหารจัดการกลุ่มโดยชุมชนเองเป็นพื้นฐานการพึ่งตนเองของชุมชน

                3) เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต

                4) แก้ปัญหาเกษตรกรถูกเอาเปรียบจากผู้ดำเนินกิจการโรงสีข้าวระดับครอบครัว

                5) มีผลิตภัณฑ์เป็นของชุมชน 

       6) เป็นการใช้ประโยชน์จากแผนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

           ที่ผมเล่ามานี้เป็นเพียงตัวอย่างการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพในชุมชนที่พยายามพึ่งตนเองโดยใช้ประโยชน์จากแผนชุมชนและความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน เผื่อบางครั้งจะเป็นประโยชน์สำหรับนักส่งเสริมหรือคนทำงานในชุมชนไม่มากก็น้อย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินสนับสนุน หมู่บ้าน SML ล็อตใหม่กำลังเข้าสู่ชุมชน ลองใช้ทางเลือกโรงสีข้าวกล้องเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของชุมชนในการพัฒนาอาชีพดูบ้างก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร

หมายเลขบันทึก: 224396เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับท่านหนุ่มโลโซ
  • ขอบคุณครับที่นำมาแลกเปลี่ยน
  • สบายดีนะครับ
  • เมื่อวานผมไปเยี่ยมเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ของกำแพงเพชรที่ผ่านการอบรมมา
  • วันหลังจะบันทึกมาแลกเปลี่ยนนะครับ

P

  • สวัสดีพี่สิงห์ป่าสัก
  • สบายดีครับ
  • วันก่อนเขียนเรื่องการเพาะเห็ดในโอ่งมีหลายท่านเข้ามาให้กำลังใจเพียบเลย
  • ผมลืมใส่คำสำคัญกรมส่งเสริมการเกษตรเลยไม่ถึงพี่
  • แวะไปให้กำลังใจหน่อยนะครับ
  • แล้วจะนำมาแลกเปลี่ยนอีกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท