choothong (ชูทอง)
ครู thammarat (ธรรมรัตน์ ) choothong (ชูทอง)

แผนการจัดการเรียนรู้


แผนการจัดการความรู้

วิชาเศรษฐกิจพอเพียง 1 ส 41203

             เป็นสาระเพิ่มเติม  ที่ใช้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4           ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา   

       ข้าพเจ้า ได้สอนในรายวิชาดังกล่าว  ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  จากหนังสือบ้าง  เอกสาร บ้าง และจากสื่อสิ่งสืบค้นอินเทอร์เนตมากมาย 

       ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนนักเรียน และให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  ทั้งภาคทฤษฎี  และภาคปฏิบัติ

       ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้   ค่อนข้างยากพอสมควร  เพราะเป็นวิชาที่ไม่มีตำราเรียนเหมือนวิชาอื่น ๆ  อาศัยเพื่อนครู  พี่ ๆ  น้อง ๆ

       และพระอาจารย์พระมหาพีรพันธ์  จากวัดบึงทองหลาง  ให้ความเมตตานุเคราะห์  ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้  จนเป็นรูปเล่ม  เมื่อทางโรงเรียน  (ฝ่ายวิชาการ) ได้ให้ส่งแผนการจัดการเรียนรู้และมีการประกวดแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับโรงเรียนจึงได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลที่ทรงเกียรติ 

       คือ"รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 พร้อมเกียรติบัตร และเงินจำนวน 1,500  บา

จากท่านผู้อำนวยการโรงเรียน   นางอัปษร  ภาธรธุวานนท์ 

        ในวันที่มีการคัดเลือก+ตรวจ  แผนการจัดการเรียนรู้  ทางโรงเรียนได้เชิญคณะกรรมการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มาเป็นผู้พิจารณา  และวันที่มอบรางวัลได้เชิญรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2   

         นายพินิจ  หนูเกตุ  มาเป็นประธานมอบรางวัล.

-----------------

                              คุณธรรมจริยธรรมน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดลุยเดชมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สูงส่งด้วยความรู้ ความสามารถ และคุณงามความดี ทรงเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของปวงชนชาวไทย และทรงบำเพ็ยคุณงามความดีให้แก่ประชาชนไว้อย่างมากมาย พระราชกรณียกิจต่างๆล้วนเป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรและชาติบ้านเมือง เช่น ทรงบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก้ปัญหาการทำมาหากิน แก้ไขวิกฤตกาลต่างๆที่เกิดขึ้น ต่อสู้กับภาวะความยากจนของประชาชนเพื่อให้สามารถพึง่พาตนเองได้มากขึ้น ทรงช่วยผู้ด้อยโอกาสเป็นจำนวนมากให้สามารถดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมืองด้วยพระอุตสาหะอันยิ่งยวด

                พระราชกรณียกิจต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกิดจากพระปฐมบรมราชโองการในขณะหลั่งน้ำทักษิโณทก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.  2593 ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีใจความว่า เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

                พระมหากรูณาธิคุณของพระองค์ท่านนั้นมีมากมายเหลือเกินจนถึงขั้นที่ทรงเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์มาปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่หนักพระวรกายมาก ตั้งแต่ครั้งที่ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการมาจนถึงปัจจุบัน  เราพสกนิกรชาวไทยให้ความเคารพ เทิดทูน ความจงรักภักดี ที่มีต่อพระองค์และฝังลึกในจิตใจจนถือว่า พระองค์ทรงเป็น พ่อหลวง หรือพ่อที่ประเสริฐของคนไทยทั้งชาติ

แนวทางการปฏิบัติตนเกี่ยวกับคุณธรรมนำความรู้

 คุณธรรม หมายถึง ความรู้และความสามารถที่เกิดจากการศึกษาความดีงามในชีวิต และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  เพื่อไม่ไปเบียดเบียดกับผู้อื่น พร้อมทั้งทำประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่นด้วย  การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส มีความสงบสุข มีสุขภาพจิตที่ดี สามารถดูแลสิ่งต่างๆทั้งตนเอง ครอบครัวและทรัพย์สินให้เพียบพร้อม  ความรู้เช่นนี้เรียกว่า ความรู้ทางคุณธรรม หรือสติปัญญาทางคุณธรรม

ความรู้  หมายถึง ความรู้ความสามารถที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน การปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินชีวิต ความอยู่รอดปลอดภัย และใช้สำหรับการดูแลรักษาสมบัติทรัพย์สินของตนเอง ครอบครัว ซึ่งเป็นด้านวัตถุ ความรู้เช่นนี้เรียกว่าความรู้ทางโลกหรือสติปัญญาทางโลก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.       ความพอประมาณ  เป็นการดำเนินชีวิตอย่างพอดี โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

2.       ความมีเหตุผล เป็นการการใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเรื่องต่างๆโดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

3.       การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เป็นการเตรียมตัวรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

4.       ความรอบรู้ เป็นความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ รวมถึงความรอบคอบที่จะนำความรู้นั้นมาพิจารณาอย่างเป็นระบบสามารถเชื่อมโยงทั้งเหตุและผลและมีความระมัดระวังในการปฏิบัติตนตามระเบียบวินัย

5.       เงื่อนไขคุณธรรม เป็นการสร้างความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน และมีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

คุณธรรมพื้นฐาน  8 ประการ ประกอบด้วย

1.   ขยัน    คือ  ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงาจอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร   สู้งานมีความพยายาม  ไม่ท้อถ้อยกล้าเผชิญอุปสรรค  รักงานที่ทำ  ตั้งใจทำหนาที่อย่างจริงจัง

2.   ประหยัด  คือ  ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย  รู้จักฐานะการเงินของตน  คิดก่อนใช้  คิดก่อนซื้อ  เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิ่งของอย่างคุ้มค่า  ไม่ฟุ่มเฟือย  ฟุ้งเฟือ  รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  ของตนเองอยู่เสมอ

3.   ซื่อสัตย์  คือ  ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา  หน้าที่  และต่อวิชาชีพ  มีความจริงปลอดจากความรู้สึกลำเอียง  หรืออคติ    ๆใชเลห์กลคตโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม  รับรู้หน้าที่ของตนเอง  ปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง

4.   มีวินัย  คือ  ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต  กฎ  ระเบียบของสถานศึกษา  สภาบัน  องค์กร  และประเทศ  โดยที่ตนปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ    ยึดมั่นในระเบียบแบบแผนข้อบังคับ  และข้อปฏิบัติ  รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม

5.    สุภาพ  คือ  ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพ  และกาลเทศะ  มีสัมมาคารวะเรียบร้อยไม่ก้าวร้าว  รุนแรง   หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยจาวาและท่าทาง  เป็นผู้มีมารยาทดีงามวางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย

6.   สะอาด  คือ  ผู้ที่รักษาร่างกายที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขษณะ  ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว   มีความแจ่มใสอยู่อย่างเสมอ  ปราศจากความมัวหมองทั้งกายและใจ  และสภาพแวดล้อมมีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

7.   สามัคคี  คือ  ผุ้ที่เปิดใจกว้าง  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี  มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง  ช่วยเหลือเกิ้อกูลกัน  เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง  สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้  เป็นผุ้มีเหตุผลยอมรับความแตกต่าง   ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ความคิดความเชื่อ  พ้อมทั้งปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์

8.   มีน้ำใจ   คือ  ผู้ให้และผู้อาอสาช่วยเหลือสังคม  รู้จักแบ่งปัน  เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เห็นอกเห็นใจ  และเห็นค่าในเพื่อนมนุษย์และผู้มีความเดือดร้อน  มีความเอื้ออาทรเอาใจใส  อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายและสติปัญญาลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดในชุมชน

5.  หลักการและเหตุผล          

เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษา     ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ โรงเรียนจึงต้องส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการประยุกต์ใช้ความรู้และการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และการปฏิบัติจริง การส่งเสริมนิสัยให้รักการอ่านและใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง การปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระกิจกรรม โดยจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม โรงเรียนจึงต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงานต่างๆ ขึ้น เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 -----------------------

 

หมายเลขบันทึก: 224134เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท