บทความเรื่อง "รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา"


การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM)

บทความเรื่อง   รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา

 

                การเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์  เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาคในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา  ตระหนักถึงความสำคัญ  ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ  การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัยในชีวิตประจำวันของคนทุกคน  ไปจนตลอดการสิ้นอายุขัย  เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่  ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในสถานศึกษาก็เช่นเดียวกัน  การที่จะสร้างสมรรถนะคนในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้น  ผู้บริหารจำเป็นต้อง ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  เทคโนโลยีและสารสนเทศ  วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ  สร้างแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้   รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้บุคคลในสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

                การจัดการความรู้ในสถานศึกษา เป็นวิธีการ หรือแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่บรรลุวัตถุประสงค์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยนำความรู้ของแต่ละคนที่มีอยู่รอบ ๆ ตัว และที่มีอยู่ในตัวเองมารวบรวมเป็นวิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practice : BP) เพื่อนำมาแก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และการนำความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาและประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือสร้างความรู้ใหม่ และนำมาบันทึกไว้ในรูปสื่อต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการทำงานขององค์กร (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 : 33)

                 จะอย่างไรก็ตามในความเห็นของผู้เขียน  การจัดการความรู้ในสถานศึกษาควรจะถือเป็นนโยบายสำคัญ

ที่ผู้บริหารทุกโรงเรียนต้องให้ความสำคัญ  เพื่อให้นักเรียน  ครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาทุกคน  เป็นผู้ที่มีความรู้  ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต  และก้าวทันโลกในยุคศตวรรษที่ 21

แหล่งอ้างอิง   

 

ท้องเนียนคณาภิบาล, โรงเรียน. (2549).    ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนท้อง เนียนคณาภิบาล .ม.ป.ท.. 

                   ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546).  การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. 

                    กรุงเทพฯ :ม.ป.ท..
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2548). สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา การจัดการความรู้ใน

                    สถานศึกษา.  กรุงเทพฯ : ม.ป.ท..   

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.(2544 ).  การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.

                     กรุงเทพฯ :  จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด. 

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.(2548).  เทคนิคการประชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก.

                     กรุงเทพฯ : ม.ป.ท..

อภิวัฒน์   ทรัพย์ศิริ. สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา [online]. 

                     เข้าถึงได้จาก  htty//www.google.co.th . (2551,  พฤศจิกายน 16)

“Knowledge Management  [online].  เข้าถึงได้จาก: http://vdo.eng.psu.ac.th/km/documents/ store_academic/

                        KnowledgeManagment.doc. (2551,  พฤศจิกายน 16) 

 8 ขั้นตอนการนำ KM สู่การปฏิบัติ  [online].  เข้าถึงได้จาก: http://siweb.dss.go.th/LO/fulltext/new.

                      (2551,  พฤศจิกายน 16)

หมายเลขบันทึก: 223452เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คมจริงๆๆๆๆๆ เลือดเกือบออกนะท่าน ท่านก็ไม่ใช่ธรรมดา จริงๆ แล้วก็ชอบนั่งดูเน็ตทั้งคืน แต่ไม่ชอบทำงาน ตอนนี้ขอพักผ่อนบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท