OUTCOME MAPPING II: M&E Part 7 Work OM, Live OM


Work OM, Live OM

ถ้าต่อให้ครบ น่าจะเป็น work OM, live OM, share OM, collective OM และ interconnected OM ก็จะกลายเป็น FIfth Discipline Version of Outcome Mapping พอดี

ตอนที่แล้ว เล่าให้ฟังถึงสองคำถาม "ชอบ OM ตัวไหนมากที่สุด" และ "ในชีวิตจริง ได้เอา OM อะไรไปใช้" ซึ่งก็ดูเหมือนเป็นคำถามกลางๆ ธรรมดาๆ แต่ผมว่าเป็นคำถามนำที่ ชวนให้เรา "สะท้อนบทเรียน" ได้ดีจริงๆ อาจารย์ประพนธ์ได้ชี้นัยยะว่าของอะไรบางอย่างทีดีจริงๆ มันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรานั้นทีเดียว ผมก็คุ้นๆขึ้นมาว่าอาจารย์น่าจะกำลังชี้แนะเรื่อง Learning organization หรือ The Fifth Discipline ของ Peter Senge อยู่รึเปล่า

แน่นอนที่สุด ในระดับแรกของ OM ก็คือ การทำงานโดยใช้ OM นั้น ก็พอเราได้เรียน ได้ลองทำ workshop สุดท้ายก็นำไปใช้ เราก็จะค่อยๆเกิด skill ขึ้นมา มีทักษะเพิ่มมากขึ้น แบบฟอร์มที่นั่งคิด นั่งออกแบบ ได้ถูกนำมาใช้จริง พบข้อบกพร่องว่ามันกรอกไม่ได้ มันใช้เวลามากไป หรือมันหา evidence มาสนับสนุนยากมาก ต้องปรับแก้กันอีกหลายต่อหลายรอบ และการปรับแก้แผน แก้ strategy นี้เองที่เป็นหัวใจ และเป็นจุดแข็งของ OM (จนถึงขนาด อาจารย์บอกว่า ถ้าอยากจะวางแผนโดยไม่ต้องแก้ ไม่ต้องปรับอะไรเลยตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ไม่ต้องใช้ OM ก็แล้วกัน!!) เราจะใช้ชีวิต และทำงาน อย่างมีการตื่นตัวสูง awareness ระดับสูงตลอดเวลา ใช้ทั้งหัว ตัว ใจ ในการทำงานและการประเมินผล การทำงานนี้ นำไปสู่การรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ฉะนั้น Work OM ก็คือขั้นตอนของ Personal Mastery นั้นเอง

กลยุทธ หรือหลักการอะไรที่ได้ผลดีมากจริงๆนั้น มักจะผลิดอกออกผลได้ในหลายๆบริบท ไม่ได้ใช้ได้บริบทเดียว เพราะมันออกเป็น concept มากกว่าที่จะเป็น rigid guidelines หรือ protocol เป็นหลักการ เป็นปรัชญา มากกว่าเป็นรายวิชา เป็นสาขา OM ที่ได้ผลดีจริง มันไม่น่าจะ work เฉพาะในพื้นที่ทำงาน ที่ office ที่โรงเรียนหรือโรงพยาบาลเท่านั้น มันน่าจะ work ที่บ้านด้วย

จริงไหม?

ก็มีหลายๆคน share ประสบการณ์น่ารัก น่าเอ็นดู ของการใช้อะไรๆของ OM ในชีวิตประจำวัน เป็นทั้งแบบไม่ได้รู้ตัวมาก่อนว่าอยู่ใน OM แต่ก็เข้ากันได้ หรือเป็นแบบที่น่าจะลองเอา OM มาใช้ แล้วก็ได้ผลดี สำหรับผมนั้น concept หลายๆอย่างของ OM นั้น ในสายงาน ระบบคิด ก็พอจะมีเค้า มีโครงมาก่อนหลายประการ อาทิ Success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind นี่ก็จะตรงกับ concept OM ในการเขียนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ว่า เราควรจะเขียนเน้นที่ "ผู้รับประโยชน์" ก่อน

หรือหลักการทางพุทธศาสนา ได้แก่ อิทัปปัจจยตา นั้นก็อย่างที่วิเคราะห์มา ว่าเป็นเรื่องเดียวกับ interconnectedness และ การคำนึงถึง direct and strategic partners รวมทั้งการที่ OM จะไม่ claim ว่าเราทำงานอะไร หรืองานอะไรประสบความสำเร็จ​ "เพราะเราทำ" แต่จะพิจารณาเพียงว่าเรา "เป็นส่วนหนึ่งของแรงผลัก" ที่ทำให้เกิด collective direction มาทางนี้เท่านั้น ผมก็มีความเชื่อในเรื่องของความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงนี้มาก่อนแล้วเช่นกัน

การการประเมินแบบ OM ที่ต้องมี awareness สูง มองหาความสัมพันธ์ และมองหาความเชื่อมโยง ก็เป็นหลักการครองชีวิตที่เน้นการรู้สติ มี mindfulness and awareness ตามหลักของอริยสัจสี่ ที่หาราก หาที่มา เชื่อมโยงกรรมและวิบาก เป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ที่รุ่มรวย และตื่นเต้นได้ตลอดเวลา

OM อาจจะนำมาดัดแปลงใช้กับการเลี้ยงลูกก็ยังได้ ลูกเป็น direct partners และเรา (พ่อแม่) ก็มี "ความฝัน" ให้ลูกเราเป็น ฯลฯ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม สิ่งที่เรากำลังจะทำให้ลูก เกิดขึ้นภายหลังที่มีการจูน "ฝันของเรา" กับ "ฝันของลูก" แล้วล่ะก็ นั่นก็จะเป็น commitment ระหว่างแผน (พ่อแม่) และ direct partner (ลูก) ได้อย่างแนบเนียน เรามาช่วยกันเขียน OC (หรือ desirable behaviors) ของลูกกัน ว่า จบประถม จบมัธยม เขา/เธอ น่าจะมีพัฒนาการอะไรบ้าง จึงไปสู่ฝันระยะไกลได้ ระหว่างนี้ strategy ก็จะเริ่มชัดเจนขึ้นเยอะ ว่า เราควรจะปรับบริบทรอบข้างให้ลูกได้ expose ต่อ experiences อะไรบ้าง อาทิ ถ้าเราหวังจะให้ลูกเก่งด้านการตัดสินใจ การพึ่งตนเองนั้น เราได้ให้พื้นที่ปลอดภัย ที่เขาจะลองตัดสินใจ ลองรับผลของการตัดสินใจของตนเองไว้บ้างรึยัง ไม่งั้นเราก็จะแปลกใจว่า "เอ... เราก็ประคบประหงมดูแลเป็นอย่างดี จนลูกจะขึ้นมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ทำไมมันยังเลือกเสื้อใส่ไปมหาวิทยาลัยวันแรกไม่ได้เลยวุ้ย" ก็เพราะเราไม่เคยวางกลยุทธ์ด้าน maturation หรือ decision-making อะไรมาเลยนั่นเอง

ตัวอย่างครอบครัวนี่เห็นชัด เพราะที่จริงแล้ว direct partners ตัวจริงในชีวิตของเรา ก็เป็นคนที่เดินทางร่วมฝันกับเราจริงๆ มี Outcomes ในชีวิตจริงๆ ที่ซับซ้อน มี direct partners อื่นๆ และ strategic partners อื่นๆ อันมีผลต่อความฝันของเราด้วย การคิดแบบ OM จะช่วยให้เรามองเห็น outcome challenges ในแต่ละช่วงได้ดี เห็น progress markers ที่แท้ ไม่ใช่มองเห็นแต่ประกาศนียบัตรชั้นประถม มัธยม มหาวิทยาลัย แต่ทำให้เรามองหา "พฤติกรรมอันพึงปราถนา" ที่แท้จริงในตัวลูกของเรามากขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน ตามจังหวะชีวิตที่เหมาะสม sustainable ไปถึงชั่วหลาน ชั่วเหลน นั้นเลยทีเดียว

การใช้ชีวิต OM นั่นก็คือการเกิด Mental Model กับ outcome mapping concept นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 223245เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008 03:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่หมูครับ การทำ OM นี่

คงต้อง ฝึกๆๆๆ โดยเฉพาะ กับตนเองก่อน

เพราะ ลำพัง Direct Partner ที่ ยังไม่ opens ก็ยากพอ บ่อยครั้งที่ตัวเราเอง ก็ closed

OM ของชีวิตตัวเรา นี่น่าจะเจ๋งที่สุด เรากำลังเป็น refugee เดินทางออกจากวัฏฏะ

ผมกำลัง สงสัยว่า OM นี่เป็น กิจกรรม กึ่ง Hard กึ่ง soft side (Human) management หรือเปล่า

เราเห็น จุดอ่อน ของ การเอา OM มาใช้หรือยัง เป็นจุดอ่อน ที่พอจะแก้ได้ไหม

เท่าที่ผมสังเกต ใน gotoknow มักจะเข้ามาอ่าน แล้ว ก็ เออๆ ดีๆ ครับๆ เป็น Level มารยาท กันสะมาก

ยังไปไม่ถึง :evel 2 Debate เท่าไรนัก

อ.วรภัทร์ครับ

เห็นด้วยครับเรื่องการคุยใน gotoknow นี่ ค่อนข้างจะ "สุภาพ" เกินรสนิยมผมไปนิด ผมเคยอยู่ใน EZ-board ที่ต่างประเทศ เป็น open webboard แต่มันมากจริงๆ และเป็น self-control, self-restrain ที่มี psychopath ผ่านมาบ้าง แต่ก็ถูกเขี่ยไปอย่างรวดเร็ว การสนทนาลงลึกได้เร็วทันใจกว่าที่นี่มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท