ระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ


ระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ

ระบบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ


     ในปี พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายปีการศึกษาเพื่อคนพิการขึ้นโดยมีคำขวัญว่า ""คนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน"" รวมทั้งได้มีการจัดระบบโครงสร้างการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ เพื่อขยายโอกาสให้กับคนพิการทุกกลุ่ม ทุกประเภท และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อคนพิการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งสรุปได้ดังนี้
 
1. การจัดให้มีคณะกรรมการระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ

2. การจัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษแห่งชาติ ทำหน้าที่บริหารจัดการการศึกษาเพื่อคนพิการ

3. การจัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา จำนวน 13 เขต ทำหน้าที่นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการดูแลงานวิชาการศึกษาพิเศษ

4. การจัดให้มีศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ทำหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม(EI)แก่เด็กพิการและครอบครัว และเตรียมความพร้อมแก่คนพิการ รวมทั้งการดำเนินการคัดแยก ฟื้นฟูและส่งต่อคนพิการไปยังสถานศึกษา

5. การจัดให้มีการเรียนร่วมในทุกสังกัดและทุกระดับการศึกษาทั้งในสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชน

6. การจัดโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ

7. การจัดการศึกษานอกระบบ

8. การจัดการศึกษาโดยองค์กรเอกชน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

9. การจัดการสนับสนุนเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย

10. การสนับสนุนให้คนพิการได้รับสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นทางการศึกษา

การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ


คนพิการสามารถรับการศึกษาได้ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีการจัดที่สำคัญอย่างน้อย 6 แบบหลัก ดังนี้

1. การเรียนร่วม

2. โรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ

3. การจัดในครอบครัว

4. การจัดโดยชุมชน

5. การจัดในสถานพยาบาล

6. การจัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ

7. การจัดการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย


การเรียนร่วม


การเรียนร่วม หมยถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป การเรียนร่วม ในแนวคิดใหม่ เป็นความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน (Collaboration) ระหว่างครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษในโรงเรียน เพื่อดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนและบริการต่าง ๆ ให้กับนักเรียนในความดูแล การเรียนร่วม อาจจัดได้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน

2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ

3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน

4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม

5. ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ

6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ


โรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการ

เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนศึกษาพิเศษ เฉพาะประเภทความพิการแต่ละประเภทโดยจัดในทุกระดับตั้งแต่ชั้นเรยนเตรียมความพร้อมก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีทั้งการศึกษาสายสามัญ และสายอาชีพ มีการจัดทำหลักสูตรเฉพาะประเภทความพิการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละกลุ่ม มีการจัดทำโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล การมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่เพียงพอและมีคุณภาพ

1. การจัดในครอบครัว

2. การจัดโดยชุมชน

3. การจัดในสถานพยาบาล

4. การจัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ

http://www2.se-ed.net/thaieducate/

http://dekspecial.blogspot.com

หมายเลขบันทึก: 222416เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท