เว็บไซต์ Thaigoodview.com เว็บไซต์เพื่อการศึกษา เปิดพื้นที่ให้ครู นักเรียนร่วมสร้างสรรค์ผลงาน


เว็บไซต์ Thaigoodview เกิดขึ้นจากครูที่ชื่อพูนศักดิ์ ที่ปรารถนาจะเห็นสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ที่เด็กและครูในโรงเรียนร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้น อาจารย์พูนศักดิ์หาความรู้ทางเทคโลยีในการพัฒนาเว็บเพจด้วยตนเอง เน้นการอบรมเครือข่ายครูและนักเรียนเพื่อเป็นฐานกำลังที่ดีในการพัฒนาเนื้อหาที่มีคามหลากหลายมากขึ้น ทั้งปริมาณและวิชา ประกอบกับ อาจารย์พูนศักดิ์มักจะหาแรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเนื้อหา เช่น การร่วมมือกับผู้สนับสนุนในการจัดประกวดสื่อออนไลน์ ทำให้เเว็บไซต์นี้มีสมาชิกเกือบ ๓ พันคน มีเนื้อหากว่า ๑ ล้านชิ้น ถึงแม้อาจารย์พูนศักดิ์จะต้องประสบปัญหากับการสนับสนุนงบประมาณก็ตามแต่อาจารย์พูนศักดิ์ ทำให้เราเห็นพัฒนาการการเติบโตของการสร้างสังคมคนสร้างสื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยเด็กเป้นผุ้สร้างได้เป็นอย่างดี

 

อะไรคือ Thaigoodview.com ในระยะแรกของการทำงาน มีเป้าหมายการทำคือ ของคนมัธยม โดยคนมัธยม เพื่อคนมัธยม แหล่งรวมความรู้ เชิดชูผลงาน บริการด้วยน้ำใจ คือบ้าน thaigoodview.com ในตอนหลังเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔  เปลี่ยนมาเป็น บ้าน thaigoodview เป็นแหล่ง รวมความรู้ เชิดชูผลงาน บริการด้วยน้ำใจ เยาวชนไทยได้พัฒนา ทำให้มีเนื้อหาคลอบคลุมตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

จุดเริ่มต้นของการทำงานของอาจารย์พูนศักดิ์ไปสู่ความรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ เริ่มต้นในปี ๒๕๔๒ จากอาจารย์พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล อาจารย์ประจำจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ซึ่งแรกเริ่มนั้นยังสร้างเว็บไซต์เองไม่ได้ หลังจากที่ได้ไปอบรมกับอาจารย์พรพจน์ พุฒวันเพ็ญ และอาจารย์ทัศนีย์ กรองทอง จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้อาจารย์พูนศักดิ์เริ่มต้นจัดทำเว็บไซต์ครั้งแรกก็คือ www.thai.net/p_sakka แล้วก็มาเป็น www.thai.net/thaicom

           หลังจากที่อาจารย์พูนศักดิ์ได้ดำเนินการจดทะเบียนโดเมนเนมในชื่อ thaigoodview.com และได้ทำการเช่าพื้นที่จาก www.thaiserver.net ในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๓ อาจารย์พูนศักดิ์ ก็ได้ โดยนำเนื้อหาเดิมที่อยู่ใน www.thai.net/thaicom มาใส่ไว้ใน www.thaigoodview.com

         ในระยะต่อมาก็คือการพัฒนาเนื้อหาในเว็บไซต์ให้มีจำนวนมากขึ้น อาจารย์พูนศักดิ์เริ่มต้นจากการสอนนักเรียนในโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม โดยเริ่มต้นจากการเขียนเว็บเพจตามที่อาจารย์พูนศักดิ์ได้อบรมและค้นคว้ามา อาจารย์พูนศักดิ์เล่าให้ฟังถึง ผลงานของเด็กนักเรียนที่ถูกสร้างขึ้นโดยเด็กๆและถูกนำขึ้นเว็บไซต์ทำให้รู้สึกว่างานนั้นมีคุณค่า

           ในระยะแรกของการทำงาน อาจารย์พูนศักดิ์ต้องประสบกับปญหาด้านเทคโลยี เช่น ฟอนต์ตัวหนังสือในเว็บเพจที่ใช้โปรแกรมแบบฟรีแวร์มาพัฒนา ตัวอักษรกลายเป็นภาษาที่อ่านไม่ออก ตอนหลังอาจารย์พูนศักดิ์ไปเจอโปรแกรมที่สามารถแก้ไขปัญหาตัวอักษรได้และสาสามารถสร้างเว็บเพจได้ไม่ยุ่งยากจากห้างพันธุ์ทิพย์ ก็เลยนำมาใช้งาน ตอนหลังอาจารย์พูนศักดิ์ได้ทำการติดต่อกับเจ้าของโปรแกรมซึ่งผู้พัฒนาเป็นคนเกาหลี  เมื่อทางผู้พัฒนาโปรแกรมทราบว่าอาจารย์พูนศักดิ์นำโปรแกรมไปใช้งานด้านการศึกษา ตอนหลัง ทางผู้พัฒนาโปรแกรมจึงสนับสนุนโปรแกรมการใช้งานแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายให้กับอาจารย์พูนศักดิ์ อาจารย์พูนศักดิ์เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้ทางบริษัทในเกาหลีให้บริษัทตัวแทนในไทยส่งโปรแกรมล่าสุดก่อนที่จะมีจำหน่ายในตลาดเมืองไทยมาให้อาจารย์พูนศักดิ์ใช้ แต่อาจารย์พูนศักดิ์ไม่ได้ใช้เนื่องจาก โปรแกรมเดิมที่มีอยู่ก็ใช้ได้ดีอยู่แล้ว

การบริการจัดการเว็บไซต์  แบ่งเป็น ๓ ส่วนกล่าวคือ การขยายเครือข่ายคนสร้างเนื้อหา การประชาสัมพันธ์ การขยายพื้นที่ในเว็บไซต์

เริ่มต้นในปี ๒๕๔๔ จากคนที่เข้ามาใช้บริการเพียง ๒,๐๐๐ คลิกต่อเดือน กลายเป็น ๕๐,๐๐๐ คลิกต่อเดือน โดยเริ่มต้นจากการอบรมนักเรีนในการพัฒนาเว็บเพจ หลังจากนั้น ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายด้วยการนำข้อสอบเก่าเข้ามหาวิทยาลัยมาเฉลยและนำขึ้นเว็บไซต์ ประกอบกับการออกสื่อสาธารณะ เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้า ๑๖ ไอทีเยาวชน) สื่อวิทยุ (เช่น สถานีวิทยุ FM ๑๐๐.๕ รายการ IT รอบดึก เวลา ๒๒.๐๐ – ๒๓.๐๐ น.) www.mcot.net ก็เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเว็บไซต์

อีกทั้ง การเพิ่มความหลากหลายของเนื้อหา และ ปริมาณของเนื้อหา ที่อาจารย์พูนศักดิ์เน้นให้ครู นักเรียนเป็นผู้สร้างเนื้อหาเอง โดยในช่วงปิดเทอมปี ๒๕๔๔ อาจารย์พูนศักดิ์จะไปอบรมอบรมครู นักเรียนในพื้นที่โรงเรียนต่างๆในวันเสาร์ – อาทิตย์ หลังจากนั้น ในช่วงเปิดเทอมปีเดียวกันนี้เอง ครู และนักเรียนสร้างสรรค์เนื้อหาขึ้นบนเว็บไซต์

ต่อมาอาจารย์พูนศักดิ์ได้ขยายพื้นที่จาก ๒๕ เมกกะไบต์ เป็น ๕๐ เมกกะไบต์ และเป็น ๑๕๐ เมกกะไบต์ มีเนื้อหากว่า ๑๐,๐๐๐  หน้า เพื่อรองรับการขยายตัวของการใช้งาน และ ซื้อฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ ตำราการเขียนและการดูแลเว็บ

ความพยายามในด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์พูนศักดิ์ได้รับแรงจูงใจทางสังคมอีกครั้งเมื่ออาจารย์พูนศักดิ์ได้รับรางวัลครูดีเด่นด้านการเสริมสร้างกิจกรรมอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน ประจำปี ๒๕๔๔ ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์ ทำให้มวลชนของ Thaigoodview ขยายตัวขึ้นอย่างกว้างขวาง

ลักษณะของการทำงาน

การทำงานของเว็บไซต์เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายหลักคือ เป็นพื้นที่การเรียนรู้แบบ e-learning ที่เด็กนักเรียน และครูเป็นผู้สร้างเนื้อหา ในปัจจุบันเนื้อหาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ ๗๐ เป็นเนื้อหาที่ถูกสร้างโดยนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ และที่เหลือถูกสร้างโดยคุณครู และ อาจารย์จากโรงเรียนต่างๆ

อาจารย์พูนศักดิ์ รับหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการ thaigoodview ทั้งในแง่ของเนื้อหาและโครงสร้างในเว็บ โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒารามเป็นเจ้าหน้าที่บริหารจัดการเว็บไซต์

อาจารย์พูนศักดิ์ เน้นการอบรมสร้างความรู้ให้กับครูและนักเรียนเพื่อให้เป็นผู้สร้างเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์ประกอบกับ การแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเพื่อช่วยครู และนักเรียน ทำให้เว็บไซต์นี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดชุมชนคนสร้างสื่อการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาหลากหลาย ปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากนั้น อาจารย์พูนศักดิ์ ยังมักจะหาแรงจูงใจให้เด็กๆเร่งพัฒนาฝีมือการสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ โดยเฉพาะการจัดประกวดเนื้อหาสื่อออนไลน์ โดยอาจารย์พูนศักดิ์ จะใช้วิธีการขอการสนับสนุนจากผู้สนับสนุน เช่น มหาวิทยาลัยศรีปทุมในการสนับสนุน ไอพอด เป็นต้น ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานที่รวดเร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง

เว็บ Thaigoodview ในเวทีนานาชาติ

         หลังจากที่ อาจารย์พูนศักดิ์ได้รับเลือกให้เป็นครูดีเด่นด้านการเสริมสร้างกิจกรรมอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน ต่อมาได้รับเลือกให้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี หลักสูตรอมรม ประชุม สัมมนา นำเสนอผลงานในการประชุมระดับนานาชาติที่ประเทศเกาหลี ครั้งที่ ๒ ๓ และ ๔ ภายใต้งานที่มีชื่อว่า APEC Future Education Forum ที่มีองค์กรที่เรียกว่า “ALCoB” ภายใต้การสนับสนุนของ APEC Cyber Education Corporation เป็นเจ้าภาพในการประชุม ซึ่งอาจารย์พูนศักดิ์เล่าให้ฟังว่า ต้องเตรียมตัวในการนำเสนอ และรวบรวมความกล้าเพื่อนำเสนอผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นในนามประเทศไทย ด้วยความตั้งใจจริงของอาจารย์พูนศักดิ์ที่ต้องการทำให้ Thaigoodview เป็นพื้นที่ผลงานของเด็ก เยาวชน ทำให้อาจารย์พูนศักดิ์ได้รับการสนับสนุนการไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลี ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สนับนุนการสร้างความรู้ผ่านระบบเทคโนโ,ยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เพื่อนำกลับมาพัฒนาเว็บไซต์ Thaigoodview อย่างต่อเนื่อง

เว็บ Thaigoodview กับการเชื่อมต่อการขยายพื้นที่นำเสนอผลงานใน Sema.go.th

 

           ในการพัฒนาเนื้อหาบนเว็บไซต์ของ Thaigoodview ยังมีการขยายพื้นที่ไปยังเว็บไซต์ Sema.go.th อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่การนำเสนอเนื้อหาในรูปของสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก แผนงานไอซีทีเพื่อสุขภาวะออนไลน์และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพที่ทำงานร่วมกับศูนย์อินเทอร์เน็ตปลอดภัยสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ ที่จะนำข้อมูลบางส่วนจาก Thaigoodview ไปขยายผลต่อใน Sema.go.th ซึ่งกำลังพัฒนาให้เป็นพื้นที่การนำเสนอผลงานด้านสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ของกระทรวงศึกษาธิการ

หมายเลขบันทึก: 222199เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2008 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เสียมากๆๆ
  • ตอนงาน เด็ก ICT ท่านไม่ได้มา
  • พยายามมองหาท่าน
  • ไปรอในห้อง
  • แต่อาจารย์ท่านคงติดธุระ
  • ชื่นชมคนทำดีครับ

ได้มีโอกาคุยกับอาจารย์พูนศักดิ์หลายรอบ

ไม่ได้มา แต่ก็ตามไปเก็บงานมาขยายต่อครับ

ต้องช่วยกันสร้างคนและสร้างงาน

ขอบคุณค่ะ ที่เผื่อแผ่น้ำใจให้ครูประถม

นวลจันทร์ ตระกูลวาง

อยากเป็นศิษย์อาจารย์พูนศักดิ์จัง

เว็บดีๆมีประโยชน์เกิดขึ้นเยอะมาก

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล เป็นครูที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เริ่มบรรจุจนบัดนี้ ไม่ได้ย้ายไม่ที่อื่น ดังนั้นข้อมูล

เริ่มต้นในปี ๒๕๔๒ จากอาจารย์พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล อาจารย์ประจำจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม

จึงไม่ถูกต้องค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท