การจัดการความรู้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มข. 29 ต.ค 51


เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2551 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยเชิญ ท่าน รศ.นพ.สุรพล   วีระศิริ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการจัดการความรู้ ของคณะแพทยศาสตร์ มข. มาเล่าเรื่องการจัดการความรู้และประสบการณ์คณะแพทยศาสตร์

- ท่านได้เล่าว่า ความจริงในองค์กร องค์ความรู้ มักจะกระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบ เข้าถึงยาก ผู้หาความรู้ไม่ทราบว่ามีองค์ความรู้อะไรอยู่บ้าง และจะหาได้จากไหน ต่างๆต่างทำ คิดและแก้ไขปัญหาเรื่องเดียวกัน เสียเวลาและโอกาสที่จะแก้ปัญหาที่มีคนทำอยู่แล้ว 
best pratice ถูกใช้ในวงจำกัดและบางครั้งองค์กรก็ไม่ทราบว่าตนมี best pratice อะไรบ้าง หลายเรื่องถูกลืมและหายไปพร้อมกับคน

- ซึ่งสิ่งเหล่านี้
Know Management คือคำตอบ

ดังนั้น กระบวนการจัดการความรู้ จึงหมายถึง

Ø   กระบวนการจัดการทั้งหมดที่ได้มาซึ่งองค์ความรู้

Ø   ทำให้องค์ความรู้ คงอยู่

Ø   สามารถเข้าถึง

Ø   พัฒนาต่อยอด

Ø   นำไปใช้ประโยชน์ได้

ซึ่งประกอบด้วย

1.        การกำหนดองค์ความรู้

2.        การสร้าง

3.        การแสวงหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4.        การแบ่งปันและส่งต่อองค์ความรู้

5.        จัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ (เพื่อเข้าถึง)

6.        การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

- สิ่งที่น่าสนใจคือ การจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ท่านได้นำตัวอย่างมาให้ดูเล็กน้อย อาทิเช่น การจัดเก็บเป็นเรื่องๆ และทำเป็นเอกสาร ตามตัวอย่างข้างล่าง

ชื่อเรื่อง ................................

ประเด็นหลัก/หลักการสำคัญ

เรื่องเล่า

ตัวอย่างประสบการณ์

แหล่งข้อมูล

 

 

 

 

 

คุณ...........

 

 

ตัวอย่าง ปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหน้าท้องปวดน้อยลงได้สำเร็จ

เรื่องเล่า พยาบาลสังเกตเห็นผู้ป่วยกอดหมอนเมื่อจะลุกจากเตียง จึงถามผู้ป่วยและได้ความรู้ว่าการกอดหมอนไว้ทำให้แผลผ่าตัดกระเทือนน้อยลงและบรรเทาอาการปวดเมื่อจะเคลื่อนที่ได้ดี พยาบาลจึงแนะนำผู้ป่วยรายอื่น

 

- ท่านแนะนำให้ส่งเสริมชุมชนนักปฏิบัติ ให้มีการติดตามและวัดผล การยกย่องชมเชยและให้รางวัล

 

- ท่านได้เล่าประสบการณ์ การทำชุมชนนักปฏิบัติในคณะแพทยศาสตร์ สรุปจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำ ชุมชนนักปฏิบัติ คือ

            1. การรวมพล ใช้วิธีใจรัก สมัครใจ และแมวมอง

            2. การเลือกประเด็น เช่น นำปัญหามาแก้ไข

            3. เทคนิค/ประเด็นที่ใช้ เช่น ประชุม จดบันทึก เล่าเรื่อง

            4. บทเรียนที่ได้รับ เช่น ได้เรียนรู้และมีแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ปัญหาได้รับการแก้ไข

            5. การขยายผล เช่นมีการทำ web site /web blog

            6. การทำให้ยั่งยืน จัดเวทีต่อเนื่อง

 

- สิ่งท่านสรุปในตอนท้าย คือ การนำความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่องเพื่อองค์กรโดยรวม

- ในวันนั้น มีการแบ่งกลุ่มย่อยและเล่าเรื่องความภูมิใจให้กันฟัง และนำเสนอในช่วงท้าย

 

- จากการจัดงานในครั้งนี้ หวังว่า หลายคนคงได้ฉุกคิด หรือปิ้งแว็บ ที่จะนำเรื่องที่ได้จากการร่วมงานไปทำอะไรต่ออีก และขยายต่อเนื่องไปอีกแน่นอนเลยค่ะ

 

- ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์และทีมงานที่มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

 

ดูภาพบรรยากาศที่นี่นะคะ http://www.dentistry.kku.ac.th//dt2008/Flash/knowledge/index.html 

หมายเลขบันทึก: 221552เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2008 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • คิดถึงนะคะ
  • หายไปนานทีเดียวค่ะ
  • มาทักทายและเป็นกำลังใจให้นะคะ
  • ไม่ได้แสดงความคิดเห็นคงไม่ว่ากันนะคะ
  • อ่านแล้วก็ได้เกิดความคิด..ได้ค่ะ
  • ขอขอบคุณนะคะ

พี่บุญคะ

แก้วบันทึกว่า... พี่บุญจะไปปายด้วยกันนะคะ 4-9 พย 2551 ค่ะ

คิดถึงเช่นกันค่ะ ครูคิม สบายดีนะคะ ดีใจที่ใครมาอ่านแล้วได้คิดค่ะ

ต้องลาหลายวันใช่ไหมคะคุณอ้อย ขอเคลียร์อะไรต่อมิอะไรก่อนแล้วคงจะตอบได้ค่ะ แต่อยากไปค่ะ ยังไม่เคยได้ไปกิจกรรมอะไรที่เป็นจิตอาสาแบบนี้เลยค่ะ

เป็นบันทึกที่ "คม ชัด ลึก" มากเลยทีเดียวครับ และโดยส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยกับแนวคิดหลักนี้มาก ๆ

นำไปใช้ประโยชน์ ...

ขอบคุณ คุณแผ่นดินค่ะ

รู้สึกดีใจที่หากบันทึกเล็กๆที่ได้เขียนไว้แล้วมีคนที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท