เสวนาครูติดแผ่นดินเพื่อการพัฒนาส้มโอที่อำเภอมโนรมย์ครั้งที่ 2


ถ้าจะสร้างกลุ่มให้ยั่งยืนเราจะต้องพัฒนาจากความต้องการและแรงศรัทธาของชุมชน ดังนั้นอาจจะพัฒนาจากเล็กไปหาใหญ่ตรงตามสุภาษิตจีนที่ว่า “สร้างกระต๊อบก่อนสร้างตึก”

          

      การพัฒนาการผลิตส้มโอขาวแตงกวาจะต้องดำเนินการจัดการความรู้การผลิตที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและสามารถผลิตส้มโอได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งความรู้นั้นได้จากครูติดแผ่นดินซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีความรู้ ความสามารถในการผลิตส้มโอ และนำความรู้นั้นผสมผสานกับความรู้ด้านวิชาการจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเจ้าที่ที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เช่น อำเภอมโนรมย์ได้ คัดเลือกครูติดแผ่นดินส้มโอจำนวน 9 รายเพื่อการร่วมกันพัฒนาการผลิตส้มโอและถ่ายทอดความรู้สู่เพื่อนเกษตรกร แต่จากการดำเนินงานแม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้คือ มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 20 ราย  แต่จากการเสวนาในครั้งแรกจึงรับรู้ได้ว่า ถ้าจะสร้างกลุ่มให้ยั่งยืนเราจะต้องพัฒนาจากความต้องการและแรงศรัทธาของชุมชน ดังนั้นอาจจะพัฒนาจากเล็กไปหาใหญ่ตรงตามสุภาษิตจีนที่ว่า สร้างกระต๊อบก่อนสร้างตึก

            การเสวนาครูติดแผ่นดินที่อำเภอมโนรมย์ครั้งที่ 2 ประกอบไปด้วย

ที่

ชื่อ- สกุล

ตำแหน่ง

1

นายตรัยมารถ  กรียาอาภรณ์

เกษตรอำเภอมโนรมย์

2

นายสมบัติ  ทนงจิตรไพศาล

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 5

3

นางสาวสุภาวดี  บุญประสิทธิ์

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6

4

นายสายชล  ปิ่นนาค

เจ้าพนักงานการเกษตร  จากสถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท

5

นายณรงค์  กรุดเจียม

ครูติดแผ่นดิน(ส้มโอ)

6

นางสุกัญญา  เกตุเส็ง

ครูติดแผ่นดิน(ส้มโอ)

7

นายสุรินทร์  เอี่ยมพันธ์

ครูติดแผ่นดิน(ส้มโอ)

8

นายกุหลาบ  เนียมดอกไม้

ครูติดแผ่นดิน(ส้มโอ)

9

นายณัฐพล  แก้วขำ

ครูติดแผ่นดิน(ส้มโอ)

10

นายชัด  ขำเอี่ยม

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7

ขั้นตอนการเสวนา

1.      เดินสำรวจสวนส้มโอในพื้นที่ 5 ไร่ของนายณัฐพล  แก้วขำ ค้นหาปัญหาการปลูก  พบว่าดินมีลักษณะเหนียว ขาดความอุดมสมบูรณ์ ส้มโอขาวแตงกวาเจริญเติบโตชา และบางต้นแคระแกร็น จึงนำปัญหานี้เป็นประเด็นเสวนา ในครั้งนี้

2.      นายตรัยมารถ กรียาอาภรณ์ เปิดเวทีเสวนาว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้มีนโยบายที่จะเพิ่มพื้นที่การปลูกส้มโอขาวแตงกวา  ดังนั้นจึงขอให้เวทีการเสวนาครูติดแผ่นดิน เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่  พร้อมนำความรู้เผยแพร่สู่เกษตรกรอื่นๆ เพื่อพัฒนาการผลิต และขยายพื้นที่ปลูก ต่อไป

3.      นายสมบัติ  ทนงจิตรไพศาล    เสวนาว่าการผลิตส้มโอขาวแตงกวา จะต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม การเลือกพันธุ์ที่ดี และการจัดการที่ดี

4.      นายสายชล ปิ่นนาค กล่าวถึง ลักษณะดินและการปรับปรุงบำรุงดินว่า ดินที่ปลูกในพื้นที่ตำบลศิลาดานเป็นดินชุดดินที่ 4 เกิดจากตะกอนของดินที่ถูกน้ำพัดพามาจึงมีลักษณะเนื้อดินแน่น เมื่อดินแห้งแล้วจะเกาะตัวแน่นแตกละแหงส่งผลให้รากส้มโอขาด  ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงบำรุงดิน ก่อนอื่นควรนำดินเข้าตรวจวิเคราะห์เพื่อทราบถึงคุณสมบัติของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง จะสามารถจัดการดินและพืชได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยขุดลึกประมาณ 24 เซนติเมตร ก่อนปาดดินหน้าตัดด้านข้างนำดินเก็บไว้และเก็บให้ทั่วแปลง นำไปผึ่งลมให้แห้งบดคลุกเตล้าให้ทั่ว ก่อนนำดินให้ได้น้ำหนัก 1  กิโลกรัมส่งตรวจวิเคระห์ สำหรับการปรับปรุงบำรุงดิน ควรดำเนินการดังนี้

1)      การผลิตปุ๋ยจานด่วน  โดยเตรียมวัสดุดังนี้

-         แกลบดิบ 3 กระสอบ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ และมีซิลิก้าสูงช่วยสร้างผนักเซลของพืชแข็งแรงทดทานต่อโรคและแมลง

-         แกลบดำ 3 กระสอบ เกิดช่องว่างที่อาศัยของจุลินทรีย์ และปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง

-         มูลสัตว์ 10 กระสอบ เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

-         น้ำหมักชีวภาพ 4-5 ลิตร  เพื่อเพิ่มธาตุอาหารและเพิ่มจุลินทรีย์

-         สารเร่ง พ.ด. 1 และ พ.ด.3 อย่างละ 1 ซอง  เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ เร่งการย่อยสลาย กลายเป็นปุ๋นอินทรีย์ได้เร็วขึ้น

-         กากน้ำตาล 1-2 กิโลกรัม

วิธีทำ เลือกสถานที่ในที่ร่ม นำวัสดุต่างๆ ผสมกัน ก่อนที่จะนำสารเร่ง พ.ด. 1 และ พ.ด.3 ละลายน้ำ  ผสมกากน้ำตาล ราดรดลงบนกองปุ๋ยให้พอชุ่ม ไม่แฉะเกินไป ปรับกองเป็นสี่เหลี่ยมไม่สูงเกินไป คลุมด้วยกระกอบป่าน  หมักทิ้งไว้  สังเกตว่าใช้ได้หรือยังคือใช้มือซุกเข้าในกองปุ๋ยจะไม่มีความร้อน สามารถนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินโดยหว่านรอบทรงพุ่มของส้มโอ

1)      การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับโครงสร้างของดิน  เนื่องจากในพื้นที่ส่วนใหญ่มีส้มโอที่โตแล้วเกษตรกรที่ต้องการจะให้มีผลผลิตจำนวนมากต้องใส่ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง  แนวทางแก้ไขจะต้องปลูกปุ๋ยพืชสดจะได้ทั้งราก ลำต้นและใบ  โดยปลูกปอเทือง เมื่อโตแล้วจึงตัดนำลำต้นและใบคลุมดิน  เพื่อกลายเป็นปุ๋ยปรับปรุงดินต่อไป

2)      การปลูกแฝกรอบทรงพุ่ม เนื่องจากดินเหนียว เมื่อปลูกหญ้าแฝกแล้วรากจะลงลึกชอนไชลงดิน ส่งผลให้โครงสร้างของดินการระบายน้ำ การถ่ายเทธาตุอาหารของดินจะดีขึ้น

จากการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะเป็นการสะท้อนถึงปัญหาของเกษตรกรในการปลูกส้มโอขาวแตงกวา  เมื่อได้รับทราบข้อมูลแล้ว ในเริ่มแรกจะจัดทำแปลงทดลองภายในเดือนตุลาคม 2551 ก่อนที่จะทำเรื่องขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทืองเพื่อปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด  และพันธุ์หญ้าแฝก  โดยมอบหมายให้นางสุกัญญา  เกตุเส็ง ปลูกปอเทืองจากเมล็ดพันธุ์ที่มีอยู่แล้ว และนายณัฐพล  แก้วขำ ปลูกหญ้าแฝกรอบทรงพุ่ม และจะได้ปลูกปอเทืองโดยจะขอรับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท รายชื่อดังนี้

     

1

นายณรงค์      กรุดเจียม

2  ไร่

2

นางสุกัญญา    เกตุเส็ง

3   ไร่

3

นายสุรินทร์    เอี่ยมพันธ์

5   ไร่

4

นายกุหลาบ    เนียมดอกไม้

5   ไร่

5

นายณัฐพล     แก้วขำ

5   ไร่

ปัญหาที่พบ 

จากการดำเนินงานพบว่า เกษตรกรที่ภารกิจมาก  บางรายจึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้

แนวทางแก้ไข

สร้างความเข้าใจ เพื่อสร้างทัศนคติถึงผลดีของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการปลูกส้มโอขาวแตงกว่า ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ

-------------------------------------------------------------------------------------------

    

หมายเลขบันทึก: 220666เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2008 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ คิดถึงหายไปไหนมา สบายดีนะครับ ชอบทานส้มโอครับ

48ff03fe4626c

ปลูกไม่เป็น ทานเป็นอย่างเดียวอ่ะ  แวะมาให้กำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท