ตรวจสอบข้อมูลก่อนสอน


ตำราบางเล่มก็อาจมีข้อมูลที่น่าสงสัยว่าจะไม่ถูกต้อง

เมื่อสัปดาห์ก่อนได้เล่าเรื่องการไปช่วยสอนนักศึกษาเรื่องเบาหวาน (อ่านที่นี่) บังเอิญได้พบ Handout PowerPoint ของวิชาอะไรไม่ได้บอกไว้ รวมทั้งไม่ปรากฏชื่อผู้สอน เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการประเมินภาวะโภชนาการ จึงถือวิสาสะเอามาอ่านดู

สาระเชิงทฤษฏีที่อธิบายไว้มีเหตุมีผลดี แต่พบว่าข้อมูลตัวเลข เช่น ค่า BMI ที่ปรากฏในเอกสาร มีความคลาดเคลื่อนไปจากที่เขาใช้กันอยู่ในวงการ ไม่ทราบอ้างอิงมาจากตำราเล่มไหน หากนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จากผู้สอนหลายคน ได้ข้อมูลไม่ตรงกัน คงสับสนน่าดู เลยพานคิดเป็นห่วงไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย

ตำราบางเล่มก็อาจมีข้อมูลที่น่าสงสัยว่าจะไม่ถูกต้อง ยกตัวอย่างตำราเบาหวานภาษาไทยเล่มหนึ่ง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ให้สูตรการคำนวณน้ำหนักตัวมาตรฐาน ดังนี้

ผู้ชาย = (๑๐๐-ส่วนสูง) x ๐.๙ หน่วยเป็นกิโลกรัม
ผู้หญิง = (๑๐๐-ส่วนสูง) x ๐.๘ หน่วยเป็นกิโลกรัม

๑๐๐-ส่วนสูง ก็น่าสงสัยอยู่แล้ว ควรจะเป็น ส่วนสูง-๑๐๐ มากกว่า
ดิฉันสูง ๑๕๒ ซม. หนัก ๕๐ กก. แต่เมื่อคำนวณตามสูตรนี้ น้ำหนักตัวมาตรฐานของดิฉันจะเท่ากับ ๔๑.๖ กก. หุ่นอรชรอ้อนแอ้นทีเดียว แสดงว่าปัจจุบันน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานอยู่ตั้ง ๘.๔ กก.

ลองเอาน้ำหนัก ๔๑.๖ กก.มาคำนวณเป็น BMI ได้ = ๔๑.๖/๑.๕๒x๑.๕๒ เท่ากับ ๑๘.๐๐ จัดอยู่ในระดับผอมมาก ถ้าเอาน้ำหนักปัจจุบัน (๕๐ กก.) มาคำนวณ BMI จะได้เท่ากับ ๒๑.๖๔ อยู่ในระดับปกติ

บันทึกมาฝากผู้สอนให้ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ก่อนถ่ายทอดไปยังนักศึกษา

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 220492เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2008 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท