บทคัดย่อ ศิลปะ อุบัติการณ์แห่งการสร้าง + สรรค์


การสร้างสรรค์ คือ การสำแดงความเป็นมนุษย์ เป็นการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ โดยการให้กำเนิดความจริงใหม่ๆ

เรียบเรียงจากบทความ รศ.ดร. ทิพย์สุดา  ปทุมานนท์

William James กล่าวว่า เมื่อเริ่มแรกมีความคิดใหม่ (new idea) มักถูกตำหนิ ว่าน่าหัวเราะเยาะ ว่าเป็นของเล่นๆ ตราบกระทั่งมันได้ปรากฏชัดแก่ผู้คนในสังคมนั่นแล...

การสร้างสรรค์ (Creativity) จึงต้องการความกล้าหาญในการที่จะคิด ดั่งที่ Rollo May เขียนไว้ในหนังสือ The courage to create ว่า "เราถูกเรียกร้องให้ทำในสิ่งใหม่ การมุ่งไปสู่วันข้างหน้า คือการก้าวข้ามไปสู่ความไม่รู้ เรามีความกังวลในความว่างเปล่า เราต้องสะสมความกล้าเพื่อจะเดินทางไปสู่ดินแดนแห่งนั้น เพื่อค้นหาความมีในความว่างเปล่านั้น และหากเราไม่นำพาต่อความคิดที่เป็น ปฐมกำเนิด (Originality) เราก็จะไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จที่จะเป็นส่วนหนึ่งและสนับสนุนสังคมส่วนรวม"

Rollo May แบ่งความกล้าหาญออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
1. ทางกาย (physical courage) - การปันร่างกายเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
2. ทางใจ (mental courage) - การรับรู้หรือยินยอมให้ตนเองเห็น รู้สึก ความทุกข์ยากหรือความลำบากของผู้อื่น
3. ทางสังคม (social courage) - การเสี่ยงชีวิตของตนเพื่อให้บรรลุถึงความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อื่น
4. ทางการสร้างสรรค์ (creativity courage) - เพื่อนำไปสู่การค้นพบรูปฟอร์มใหม่ๆ

แต่ Albert Camus เขียนไว้ใน Exile and the Kingdom ว่าความกล้าหาญมี 2 ประเภทตรงข้ามกันคือ
1. ความกล้าหาญที่จะอยู่คนเดียว (Solitary) - รักษาความสงบทางจิตใจ เพื่อความจำเป็นที่จะฟังเสียงที่อยู่ลึกๆ ในจิตใจของตน
2. ความกล้าหาญที่จะอยู่ในฝูงชน (Solidary) - อยู่ในชนหมู่มากได้โดยมีความสมานฉันท์ผูกพันเกี่ยวข้องกัน

ส่วน Otto Rank กล่าวว่ามนุษย์ต้องอาศัยความกล้าในการเอาชนะความกลัว 2 แบบคือ
1. ความกลัวชีวิต (life fear) - กลัวที่จะเป็นอยู่อย่างอิสระ ต้องปกครองตนเอง ต้องรับรู้ตัวตนของตัวเอง
2. ความกลัวความตาย (death fear) - กลัวที่จะถูกคนอื่น "กลืน" โดยสิ้นเชิง หรือกลัวที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง

การสร้างสรรค์ คือ การสำแดงความเป็นมนุษย์ เป็นการเติมเต็มความเป็นมนุษย์ โดยการให้กำเนิดความจริงใหม่ๆ ให้ความจริงที่ไม่เคยมีมาก่อนกำเนิดขึ้นบนโลก

การสร้างสรรค์ต้องอาศัยการเผชิญหน้า (encounter) ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของการซึม+ซับ+ซาบ (absorption) ความเข้ม+ข้น (intensity) และต้องมีการผูก+มัดจิตใจ (engagement) มีการผูกประสานกันในคุณภาพระดับใดระดับหนึ่ง จนบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวกันกับโลก โลกที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่มีปฏิสันถารสัมพันธ์กับเราแทบทุกขณะ สิ่งหนึ่งจักเป็นนัยยะของอีกสิ่งหนึ่งเสมอ เราจะไม่สามารถเข้าใจสิ่งหนึ่งได้โดยลืมหรือมองข้ามอีกสิ่งหนึ่งไป นี้คือความหมายที่ว่าทำไมเราจึงไม่สามารถจำกัดการสร้างสรรค์ให้อยู่ในปรากฏการณ์แห่งอัตวิสัยเพียงลำพัง

"One can never localize creativity as a subjective phenomenon. One can never study it simply in terms of what going on within the person."

Carl Jung's Polarity มีใจความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในขบวนการหลุดพ้น (Breakthrough) อยู่ในภาวะพลวัตที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล ระหว่างสิ่งที่บุคคลคิด (จิตสำนึก) และภาพที่เกิดจากการมองเห็นภายใน (จิตใต้สำนึก) เป็นความดิ้นรนจะมาเกิด จะมาปรากฏประจักษ์ โดยมีเหตุมาจาก 1) ความรู้สึกกังวล ความรู้สึกผิด หรือ 2) ความรู้สึกหรรษา ความอิ่มใจ

เหมือนดั่งที่ Rollo May  กล่าวว่า การปะทุของความคิดจากจิตใต้สำนึกสู่การรับรู้ของจิตสำนึกเป็นการยกระดับของประสบการณ์แห่งประสาทสัมผัส (Sensory experience) เป็นการดิ้นรนของประสบการณ์สองขั้วที่ต่างกัน ผลลัพธ์คือ ความเข้มข้นของจิตสำนึกและการยกระดับของ
1. ความสามารถในการเกิดปรากฏ
2. กระบวนการของประสาทสัมผัส
3. ความทรงจำที่เข้มข้นขึ้น

ซึ่งการจะเกิด Breakthrough ได้นั้น เราจะต้องอุทิศตนให้อยู่ในความคิดที่วนเวียน เข้มข้นขึ้นทุกขณะ แล้วจึงค่อยผ่อนคลายใจลง ให้เกิด "ช่องว่าง"

ในพุทธประวัติ ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานจะมีการสังคายนาพระไตรปิฎกโดยกำหนดให้ดำเนินการโดยพระอรหันต์ 500 รูป และที่ขาดไม่ได้คือ "พระอานนท์" แต่พระอานนท์เป็นองค์เดียวที่ยังไม่บรรลุพระอรหันต์เนื่องจากทรงละความโศกเศร้ากับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าไม่ได้ พระอานนท์ทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนักแต่ยิ่งพยายามก็ยิ่งไม่สำเร็จ จนกระทั่งคืนสุดท้ายก่อนวันสังคายนาพระอานนท์ทรงปลงพระทัยหย่อนพระวรกายลงบรรทม บัดนั้นความรู้จากใจก็ปรากฏ ประจักษ์ แจ้ง บรรลุอรหันตผล

จึงกล่าวได้ว่า การปรากฏประจักษ์เกิดขึ้นจาก
1. กำลังคิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่
2. ใจกำลังกระเสือกกระสนอยู่กับมันอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
3. แต่มันจะถูกปล่อย(break) ให้เปิดช่องว่างขึ้น บางส่วนของฟอร์มที่แตกต่างจากฟอร์มของสิ่งที่กำลังคิดจะกระเสือกกระสนออกมาสู่ปรากฏให้รับรู้ได้ในฉับพลัน

I chnuolt blveiee taht I cluod aulaclty uesdnatnrd waht I was radnieg. The huamn mnid deos not raed ervey lteter by istlef, but the wrod as a wlohe. Amzanig huh? yaeh and I awlyas thought slpeling was ipmorantt.

แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

คำสำคัญ (Tags): #creativity#สร้างสรรค์
หมายเลขบันทึก: 220491เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2008 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท