ช่วยกันภาวนาให้เป็นภาคสุดท้ายจริงๆ นะคะ จะได้ไม่ต้องทนอ่านต่ออีกหลายๆ ภาค
ครั้งนี้ก็ต้องพูดถึงสารเคมีได้แล้ว สารเคมีที่ใช้มีอยู่ 2 อย่าง คือ
1 .สารละลาย trypsin ความเข้มข้น คือ .................. เอ้า young blood ช่วยกันตอบ
2. สี giemsaใน Sorrensen buffer ความเข้มข้น คือ ............... เอ้า young blood ช่วยกันตอบ
(เฉลยหลังงานกีฬาสีคณะ เอ๊ะ ! หรือว่าไม่ต้องเฉลย ตอบได้ทุกคนไม่พลาดอยู่แล้ว)
สารละลาย trypsin
เนื่องจากความเข้มข้นที่ใช้ค่อนข้างต่ำ ทางน่วยจึงใช้วิธีเตรียมครั้งละ 100-200 มล. แล้วแบ่งใส่
eppendrof เล็กๆ อันละ 1 มล. พอสำหรับใช้ย้อมแถบสีแต่ละครั้ง เก็บแช่แข็งไว้เพื่อไม่ไห้ trypsin เสื่อมสภาพเร็วเกินไป เวลาจะย้อมแถบสีก็หยิบมาใช้ทีละหลอด
ข้อควรระวังที่อยากเตือน คือ
1. ระหว่างแบ่ง (aliquot) ใส่หลอด eppendrof ให้หมั่นเขย่าบ่อยๆ เพื่อให้ความเข้มข้นของ trypsin คงที่เท่ากันตลอดทุกหลอดที่แบ่ง
2. trypsin เป็นโปรตีนตัวหนึ่ง ดังนั้นขณะที่ใช้งานเมื่อตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนานๆ แบคที่เรียก็อาจจะเข้าใจผิดได้ว่ามีการตั้งโรงทานบริจาคอาหาร จะมาช่วยกันกินอย่างสนุกสนาน เมื่อเราย้อมแถบสีเสร็จก็จะได้แบคที่เรียเป็นของแถมติดมาบนสไลด์ ถ้าเอาไปวิเคราะห์ใต้กล้อง นอกจากโครโมโซมแล้วก็จะเห็นแบคที่เรียอ้วนกลมๆ เต็มไปหมด บางที่ก็บังตัวโครโมโซมทำให้ทัศนวิสัยในการอ่านโครโมโซมเสียไป ดังนั้นเมื่อคิดว่าจะย้อมแล้วควรทำอย่างต่อเนื่องจนเสร็จ ไม่ควรทำๆ หยุดๆ ตั้งทิ้งไว้เป็นชั่งโมงๆ จะมีแขกไม่รับเชิญไปอยู่บนสไลด์ด้วย
นอกจากนี้ ราคา trypsin ก็แพงมากๆ ด้วยทั้งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ล่าสุดเพิ่งสั่งซื้อมา ราคา 13,099 บาท/ 100 กรัม นั่นคือย้อมครั้งหนึ่งราคาประมาณ10-20 บาท
3. ภาชนะที่ใช้ใส่ trypsin สำหรับย้อม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น copplin jar ต้องหมั่นล้าง ด้วยเหตุผลเดิมคือคราบ trypsin จะเป็นตัวเหนี่ยวนำแบคที่เรียอย่างดี
สี giemsaใน Sorrensen buffer
ข้อควรระวัง
1. สี giemsa ที่หน่วยฯ ใช้เป็นสีที่เตรียมให้โดยหน่วยเตรียมสารละลายของภาคพยาธิ (ถือโอกาสขอบคุณที่ให้บริการมา ณ ที่นี้ด้วย) บางครั้งเราสั่งเตรียมกระชั้นชิดเกินไป ทางหน่วยเตรียมสารละลายอาจจะ incubate ให้ยังไม่ครบ course ดังนั้นก่อนจะใช้ขวดใหม่ทุกครั้งควรเชควันที่เตรียม เชคระยะเวลา incubate ให้ดี ถ้าไม่แน่ใจควรโทรฯถามหน่วยเตรียมสารละลาย ถ้าจำเป็นก็ต้อง incubate อีกครัง หรือถ้าจะให้ดี ควรลองใช้ขวดใหม่ในขณะที่ขวดเก่ายังมีเหลือในปริมาณหนึ่ง ถ้ามีปัญหากับขวดใหม่จะได้ยังมีสีใช้ต่อ ไม่ใช่ขวดเก่าไม่เหลือขวดใหม่ใช้ไม่ได้ งานก็เลยไม่ต้องทำ
2. ต้องเขย่าขวดให้ดีทุกครั้งก่อนใช้ ที่เตือนนี่ไม่ใช่เรื่องตลกเพราะเคยเกิดปัญหามาแล้ว คือมีอยู่ช่วงหนึ่ง สังเกตุว่าทำไม band มันเห่ยๆ คือจะว่า band ก็ไม่ใช่ ไม่ band ก็ไม่เชิง เหมือนโครโมโซมอยู่เมืองในหมอก ก็เลยเชคกันไปเชคกันมาพบว่า เด็กๆ ไม่ได้เขย่าขวดสีก่อนใช้ ดูดแต่ส่วนบนมาใช้ เมื่อเขย่าให้ดีๆ band ที่ได้ก็ดีตามไปด้วย หมอกหายหมด
3. เนื่องจากสั่งเตรียมแต่ละครั้งจะสั่งเตรียมครั้งละมากๆ (500-1000 มล.) บางช่วง case ไม่มากทำให้สีค้างอยู่นาน เมื่อนำมาใช้ย้อมต้องใช้เวลานานขึ้นแถบสีที่ได้จึงจะสวย
4. pH ของ Sorrensen buffer ควรจะเป็น 6.8
5. เช่นเดียวกับ trypsin เมื่อคิดจะย้อมก็ให้ทำทีเดียวให้เสร็จเลย ไม่ควรทำๆ หยุดๆ ตั้งทิ้งไว้เป็นชั่งโมงๆ เพราะจะเกิดเหตุมหัศจรรย์ สีที่เคยใช้ย้อมได้ band สวยๆ ก็จะย้อมไม่ได้ซะเฉยๆ ต้องเททิ้งเตรียมใหม่ ที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องลำบากที่ต้องเตรียมใหม่ แต่มันเปลืองค่ะ เตรียมแต่ละครั้งราคาสีตกประมาณ 10-15 บาท
6. สีที่ใช้ย้อมแล้วหลายๆ สไลด์ (เป็นสิบๆ สไลด์) จะมีปริมาณ trypsin ตกค้างมาก ดังนั้นสไลด์แผ่นหลังๆ อาจต้องลดเวลาใน trypsin ลง
5. copplin jar ที่ใช้เตรียมสีเพื่อย้อมต้องหมั่นล้าง ไม่ให้คราบสีเกาะมากเกิน
ในที่สุดก็จบจนได้ คนเขียนเริ่มเหนื่อยค่ะ แต่ก็ดีใจที่เขียนจนจบ อาจจะยังไม่ครอบคลุมทุกเรื่องจริงๆ ถ้าใครมีข้อเสนอแนะ หรือจะช่วยเพิ่มเติมอะไรให้อีก ก็จะยอดเยี่ยมมาก (แปลว่ามีคนมาช่วยอ่าน) อยากเห็นข้อเสนอแนะค่ะ
young blood ทั้งหลายเรื่องต่อไปที่อยากรู้คืออะไรช่วยกันโหวดเข้ามา อย่ามัวแต่ไปเดินพาเหรดกีฬาสีคณะแพทย์นะจ๊ะพวกผักๆ ทั้งหลาย มะเขือเทศ(โต้), มะเขือเผา (จนดำ นะ)