การพัฒนาการเก็บข้อมูลอัลตร้าซาวด์


อัลตร้าซาวด์

การพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลอัลตร้าซาวด์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์

 

ด้วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 เป็นหน่วยงานที่ให้การส่งเสริมสุขภาพด้านแม่และเด็กในพื้นที่เขต 8 ให้มีสุขภาพที่ดีตามนโยบายกรมนามัยและขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นขั้นตอนหนึ่งของการดูแลสุขภาพสตรีที่มาฝากครรภ์เพื่อดูว่าเด็กในครรภ์มีความสมบูรณ์หรือไม่โดยจะตรวจสตรีที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 24 สัปดาห์เป็นต้นไปและทำการเก็บข้อมูลผลตรวจไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในใบผลตรวจให้กับผู้รับบริการโดยใช้กระดาษอัลตร้าซาวด์จำนวน 2  ใบโดยใบแรกจะเก็บไว้ที่แผนก ใบที่สองเก็บไว้ที่ผู้รับบริการแต่ต่อมาได้เกิดปัญหากับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยบริษัทเจ้าของโปรมแกรมไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้การเก็บข้อมูลคนไข้อัลตร้าซาวด์มีข้อจำกัดในการเก็บประวัติประกอบกับมีไวรัสในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งในโรงพยาบาลมีการต่อเชื่อมกันเป็นระบบ LAN ทำให้มีความยากลำบากในการเก็บข้อมูลมากขึ้น อีกทั้งในใบบันทึกที่ทางโรงพยาบาลจัดเก็บมีจำนวนใบบันทึกเพิ่มมากขึ้นขาดสถานที่จัดเก็บให้เป็นระบบได้ อีกทั้งใบบันทึกข้อมูลที่มอบให้กับคนไข้มีการสูญหายทำให้มีการติดตามผลเป็นไปด้วยความยากลำบาก

ดังนั้นงานรังสีวินิจฉัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลอัลตร้าซาวด์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ ศูนย์อนามัยที่ 8 เป็นระบบที่ดีและเหมาะสม ค้นหาได้ง่ายไม่มีการสูญหายในข้อมูลในการตรวจประหยัดงบประมาณและใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาดั่งกล่าว

วัตถุประสงค์

1.เพื่อรวบรวมผลการตรวจอัลตร้าซาวด์ไม่ให้สูญหายและมีข้อมูลครบถ้วนเก็บไว้ในหน่วยงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์

2.เพื่อลดการผิดพลาดจากการใช้โปรแกรมหรือลงบันทึกข้อมูลในโปรแกรม

3.ลดต้นทุนการใช้วัสดุการแพทย์น้อยลง

 

วิธีการดำเนินงานการนำไปใช้ประโยชน์

แพทย์ผู้ใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์จะบันทึกข้อมูลในเครื่องอัลตร้าซาวด์ดังนี้

- ลงเลข HN ของผู้รับบริการทุกราย

- ใส่รหัสประจำตัวแพทย์ผู้ให้บริการ

- บันทึกข้อมูลหรือภาพด้วยเครื่องบันทึกข้อมูลผู้รับบริการทุกราย

 - ทำการพิมพ์ภาพอัลตร้าซาวด์มอบให้ผู้รับบริการเก็บไว้

อุปกรณ์ที่ใช้

1.เครื่องบันทึกข้อมูล                  จำนวน     1      เครื่อง

2.เครื่องคอมพิวเตอร์                  จำนวน     1      เครื่อง

3.แผ่นดิสก์                                 จำนวน     1      แผ่น

4.แผ่น CD-RW                           จำนวน      1      แผ่น

วิธีการรวบรวมข้อมูล

หลังสิ้นสุดการตรวจทุกวันจะนำแผ่นดิสก์นำมาบันทึกลงในคอมพิวเตอร์โดยจะเก็บทุกวันโดยข้อมูลที่เก็บได้ตั้งแต่เดือน 1ตุลาคม 2549  ถึง เดือน 30 กันยายน 2550 มีผู้รับบริการอัลตร้าซาวด์ทั้งหมด 3,639 ราย จำนวนภาพที่ทำการบันทึก 3,680 ภาพและทำการสำรองข้อมูล(BACK UP) ไว้ทุกเดือนในแผ่น CD-RW

ผลการดำเนินงาน

ผู้รับบริการตรวจอัลตร้าซาวด์จำนวน 3,639 รายที่บันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ 3,680 ภาพ

ผลกาดำเนินการพบว่า

-เก็บข้อมูล/ผลการตรวจ/ภาพ ได้ครบถ้วน

-ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น

-นำภาพที่บันทึกเก็บไว้พิมพ์ภาพออกมาได้

-ลดการใช้วัสดุการแพทย์ประเภทกระดาษอัลตร้าซาวด์ได้ 50 %

การนำไปใช้ประโยชน์

ในกรณีแพทย์หรือพยาบาลที่เกี่ยวข้องที่ต้องการดูข้อมูลอัลตร้าซาวด์ย้อนหลังเนื่องจากข้อมูลเก่าในการตรวจสูญหายหรือค้นหาไม่พบสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเวชระเบียนอัลตร้าซาวด์ดิจิตอลที่ได้จัดเก็บไว้ในแผนกหรือใช้ในการส่งภาพ/ข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานที่ต้องการได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 220135เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2008 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นความคิด+ความพยายามที่ดีครับ ขอเป็นกำลังใจและจะรอฟังข่าวความคืบหน้าครับ จาก bikeforheaven(หมอจักรยาน) 1/11/51

  • ดีจัง
  • เป็นทางการ ไปหรือเปล่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท