การสร้างวินัยในตัวเอง (ตอนแรก)


วินัยในตนเองเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดหนึ่งเดียวที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

 

เหตุที่เราคิดจะมารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างวินัยในตัวเอง ก็เพราะ..

1. เราคิดว่าตัวเองเป็นคนขาดวินัยอย่างมาก ทำให้ทำอะไรจับจด

2. เราพยายามหาอ่านบทความเกี่ยวกับการฝึกวินัยในตัวเองทางกูเกิ้ล แล้วได้ไอเดียดีๆ เต็มไปหมดเลย เก็บเล็กผสมน้อย แล้วไม่อยากเก็บไว้ที่ตัวเองคนเดียว เอามาแชร์ให้คนอื่นได้อ่านด้วย น่าจะมีประโยชน์มากกว่า

3. มีบางสิ่งที่เรา "สร้าง" มันขึ้นจนวินัย กลายเป็นนิสัย แล้วเราได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้เรารู้สึกว่าการสร้างวินัย เป็นวิธีที่ได้ผลในการพาตัวเองไปสู่จุดหมายที่ต้องการ

 

ขอเริ่มบทความแรก เพื่อให้เพื่อนๆ ได้วิเคราะห์ตัวเองว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน เพื่อโยงต่อไปว่าทำไมเราถึงต้องสร้างวินัยให้ตัวเอง

 

เราขออนุญาต ยกมาไว้ที่นี่ จากเว็ปไซต์ นี้ (คาดว่าคงไม่ผิดกติกาของ GTK นะคะ ถ้าผิดกติกา เราจะลบออกค่ะ) เพราะเค้าเขียนไว้ได้ดีมาก เราขอตัดแต่งเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป ใครอยากอ่านต้นฉบับ ก็คลิกลิงค์เข้าไปอ่านได้เต็มๆ แบบยาวๆ ค่ะ

=============================================

จากบล็อกคุณ lawit

หนทางฝึกศาสตร์อะไรซักอย่าง จะมีลักษณะแบบนี้

master step

คือเมื่อเริ่มต้นแรก ๆ เราจะค่อย ๆ ฝึกฝนทับถมไปเรื่อย ๆ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ทับถมได้ที่แล้ว ก็จะมีการพัฒนาอย่างชัดเจนเห็นได้ชัด เมื่อพัฒนาแล้ว ก็จะถอยลงมาเล็กน้อยเพื่อให้เข้าสู่สภาวะสมดุล และกลายเป็นช่วง

ฝึกฝนทับถมอีก เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนตลอด ไม่มีที่จบสิ้น เปรียบแล้วเหมือนคนเรียนศิลปะป้องกัน เมื่อแรกเป็นลูกศิษย์ก่อน ต่อมาฝึกมาก ๆ มีประสบการณ์ก็พัฒนาไป แต่แม้พัฒนาจนเป็นปรมาจารย์สุดยอดแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะรู้หมดทุกอย่าง คนเรายังมีอะไรให้เรียนอยู่ได้เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะปิดตัวเองหรือเปล่าเท่านั้นเอง

 

 คนสมัยนี้นี่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเรียนรู้หรือการประสบความสำเร็จอยู่มาก เพราะสื่อและการโฆษณารอบตัวนั้น มักพยายามเน้นแต่ช่วงสำคัญ ช่วงตื่นเต้น โดยละเลยช่วงเวลาที่ต้องฝึกฝนทับถม (ซึ่งเรียกว่า "ที่ราบ") ไป เพราะคิดว่าไม่สำคัญ จืดชืด น่าเบื่อ เมื่อละเลยไปแล้ว ในที่สุดคนส่วนใหญ่จึงไม่รับรู้ว่ามีช่วงที่ราบนั้นอยู่ และไม่อยากรับรู้ด้วยว่าการจะเป็นมาสเตอร์อะไรได้ ล้วนต้องผ่านที่ราบทั้งนั้น 

 

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการฝึกฝนที่ดีคือการพัฒนาตลอดเวลา (จริง ๆ ตอนอยู่ในที่ราบก็มีการพัฒนา แต่มันค่อยเป็นค่อยไปมากจนเราไม่รู้สึกตัว) เมื่อเห็นว่าไม่พัฒนาได้รวดเร็วสมใจแล้ว ก็เฝ้าหาทางลัด เฝ้าหาทางให้ได้สิ่งที่ต้องการมาเร็ว ๆ ประมาณเจ็ดวัน สิบห้าวันจะให้ได้ผล 

 

เรื่องจะได้ผลหรือไม่ได้ผลนี้ ขอยกไว้ทางหนึ่ง (ถ้าดูตามประสบการณ์ เราไม่เคยเห็นมีทางลัดไหนได้ผลจริง ๆ หรือถาวรสักที) แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ที่จริงเราอยากได้ความสำเร็จนั้นมาเพราะอะไร หากเราอยากได้มันเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีแต่เพียงประการเดียว โดยไม่คำนึงถึงการพัฒนาตัวเองอย่างแท้จริง เราก็ใช้ความสำเร็จนั้นไม่ต่างกับการอัพยา อัพไปให้รู้สึกดี ซ้ำร้าย มันก็เหมือนยานั่นเอง คือยิ่งเสพยิ่งอยากได้มากขึ้น เมื่อมีบ้านหลังเล็กแล้วก็อยากมีบ้านหลังใหญ่ขึ้น เมื่อมีบ้านหลังใหญ่ขึ้นแล้วก็อยากมีรถ เมื่ออยากมีรถแล้วก็อยากต่อไปอีกเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมันเป็นการอัพยา มันเป็นการเติมความปรารถนาเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ช้าก็เบื่อหน่ายไปเอง

 

ปัญหาเรื่องฝึกอะไรไม่ตลอด หรือไม่สำเร็จ สามารถแบ่งได้เป็นสามอย่าง คือ dabbler, obsessive, และ hacker 

dapper

พวก dabbler คือพวกที่เข้าไปแตะ ๆ สนใจไปหมดทุกเรื่อง อยากลองไปหมดทุกเรื่อง แต่พอไปแตะเข้าแล้ว ผ่านการพัฒนาครั้งแรกไปได้ แล้วไปเจอ "ที่ราบ" เข้า ก็เบื่อหงุดหงิด แล้วเลยเลิกไปไม่ทำต่ออีก ทิ้งขว้างไปอย่างนั้น แล้วก็บอกว่าตัวเอง "ไม่มีพรสวรรค์" เสียด้วย

 

obsessive

พวก obsessive เป็นพวกชอบความสำเร็จ และเชื่อว่าจะต้องสำเร็จตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อไปเจอที่ราบ จึงคิดว่าตัวเองพยายามไม่พอ และพยายามหนักขึ้นเรื่อย ๆ แบบหักโหม ไม่บันยะบันยัง เอาจนถึงขั้นทำร้ายตัวเอง และสุดท้ายเมื่อไปต่อไม่ไหวอีก ก็เลิกไปด้วยความโกรธ ด้วยความคิดว่าตัวเองไม่ดี ไม่เหมาะสมกับสิ่งนั้น ๆ เพราะพยายามเท่าไรก็ไม่เห็นผลแบบกระฉูด ๆ เสียที

 

hacker

 

พวก hacker เป็นคนที่เรียนมาถึงจุดหนึ่งแล้ว แต่ไม่พัฒนาต่อ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่นไม่สนใจจะไปให้ได้ไกลกว่านี้ แค่นี้ก็พอแล้ว เอาแค่พอคุยมีเพื่อนมีฝูงในแวดวงเดียวกันก็พอ เมื่อไม่ได้สนใจจะฝึกหรือพัฒนาต่อ ก็อยู่ในที่ราบตลอดไป และซ้ำจะคิดว่าตัวไม่มีพรสวรรค์จึงไปไม่ถึงดวงดาวด้วย

 

ที่จริงคนเรามักร้อนใจเพราะไม่เห็นผล แล้วเลยเลิกไปก่อน คนที่ประสบความสำเร็จเป็นมาสเตอร์ บางครั้งจึงไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด ฉลาดที่สุด แต่เป็นคนที่พอใจจะเดินไปเรื่อย ๆ พอใจจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ ว่าไปแล้วก็คือ หากเลิกเดินย่อมไปไม่ถึง หยุดเดินย่อมไปไม่ถึง และเดินหักโหมมากเกินไป คิดว่าจะเดินเอาเป็นเอาตายทั้งวันทั้งคืนจะได้ถึงเร็ว ๆ ก็ย่อมไปไม่ถึงเหมือนกัน (เพราะเหนื่อยตายระหว่างทางก่อน) แต่ถ้ายังเดินไปเรื่อย ๆ มันย่อมต้องถึงที่ไหนสักแห่งจนได้นั่นเอง

 

======================================

 

ดังนั้น การสร้างวินัยในตัวเอง จึงเป็นส่วนสำคัญในการเดินทางไปสู่ความเป็นมาสเตอร์ของศาสตร์ที่คุณสนใจค่ะ..

หลังจากอ่านบทความข้างบนแล้ว คุณคิดว่าคุณจัดอยู่ในประเภทไหนกันคะ ถ้าคุณอยู่ในแบบมาสเตอร์อยู่แล้ว ก็ปิดบล็อกเรื่องนี้ไปได้เลย ไม่ต้องอ่านต่อแล้วค่ะ (แต่ถ้าจะแนะนำเทคนิคดีๆ ให้เราเพิ่ม ก็ยินดีเลยค่ะ)

สำหรับท่านอื่นๆ ที่เริ่มอยากสร้างวินัยให้ตัวเองอย่างเราบ้างแล้ว ถ้าสนใจจะอ่านเทคนิคต่อ ช่วยทิ้งข้อความให้กำลังใจคนอัพบล็อกด้วยนะคะ จะได้ไม่ทิ้งมันไปกลางครันค่ะ อิอิ ..^^

หมายเลขบันทึก: 219801เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ   ครับเขียนต่อไปนะครับ..เรื่องดีๆ มีประโยชน์..ขอบคุณครับ

 

  • แวะมาดูว่าจัดอยู่ในพวกไหน
  • วินัยคือจุดเริ่มของทุกสิ่งค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท