Play Day


การเล่นและนันทนาการด้มีการกล่าวถึงในที่ประชุมสหประชาชาติ

Play day พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ฉบับพกง่าย ใช้สะดวก ราคาย่อมเยา

 

วันเล่น(Play Day)  คืออะไร? แล้วทำไมต้องมีวันเล่น?  เด็กๆ ก็เล่นอยู่ทุกวันแล้วไม่ใช่เหรอ? วันเด็กกับวันเล่นเหมือนกันไหม? เล่นเพื่ออะไร? ใครเล่นได้บ้าง?  มีใครจัดวันเล่นบ้าง? ถ้าจะจัดต้องทำอย่างไร? ……..ฯลฯ

หลากหลายคำถาม ที่ทุกคนต่างสงสัย อยากได้คำตอบ ไม่ว่า จะเป็นเด็ก ผู้ปกครอง นักศึกษา อาสาสมัคร ผู้ใหญ่ คนทำงานอย่างเราๆ อยากรู้  เมื่อได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานพัฒนาเด็กผ่านการเล่น กับอาสาสมัครชาวแคนาดา ชื่อ Kathleen Mahon(Katie)

เคที่(Katie)  เป็นนักศึกษาปีที่ 4  คณะพลศึกษาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยอัลเบอร์ต้า  ประเทศแคนาดา ที่ขออาสา มาเรียนรู้ชีวิต พร้อมกับฝึกปฏิบัติ การทำงานพัฒนาเด็กผ่านการเล่น ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เป็นเวลา 3 เดือนเต็ม โดย เคที่ มีประสบการณ์ด้านการจัดการเล่นสำหรับเด็ก ในโครงการการเล่นรอบโลก(Play Around the World) ทั้งในแคนาดา และในไทย ที่เชียงใหม่ และ พัทยา  ซึ่ง เคที่ เป็นผู้นำในการจัดงานวันเล่น ทั้งวางแผน และออกแบบงาน โดยมีอาสาสมัครนักศึกษาแคนาดาร่วมทีม  จัดวันเล่นให้ กับเด็กหลากหลายกลุ่ม เช่น เด็กชาวไทยภูเขา เด็กพิการ เด็กเร่ร่อน เป็นต้น

หลังจากพูดคุย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดการวางแผนงานเพื่อจัดงานวันเล่นที่สมบูรณ์แบบ แทบไม่น่าเชื่อ ทุกคนเปรยเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่แหละ คือ เครื่องมืออย่างง่ายที่จะทำให้ คำว่า พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เข้าใจได้ง่าย เห็นภาพ เป็นรูปธรรม คุ้มค่า เพราะใช้ทรัพยากรไม่มาก (คน เวลา เงิน) เรียกว่า ย่อมเยา เข้ากับยุคสมัย และเข้าถึง ได้ประโยชน์ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง คนทำงานไม่ว่าจะกลุ่มไหน วัย เพศ ศาสนา ภาษา ชาติใดๆ   และแล้ว..ทุกคนก็เข้าใจ กระจ่างชัด  เมื่อวันสนุกกับการเล่นมาถึง..........

มพด. จัดงานวันเล่น(Play Day) รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง   ดังนี้

1.        โรงเรียนคลองยางนุสรณ์  ต.ห้วยโจด  อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว          21 กรกฎาคม 2551

2.        โรงเรียนโปร่งเกตุ  อ.สนามชัยเขต  จ.ฉะเชิงเทรา                                 23 กรกฎาคม 2551

3.        ชุมชนวัดดวงแข ณ ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)         17 สิงหาคม 2551

4.        ชุมชนหมู่บ้านปิ่นเกล้าพัฒนา หน้าสำนักงานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)                    31 สิงหาคม 2551

ใส่ภาพตัวอย่างให้เห็นนิดหน่อย

มากมายคำตอบ ที่ได้จาก การจัดงานวันเล่น(Play Day) และเด็กๆ ก็เป็นผู้เฉลย...ความมหัศจรรย์จากวันเล่น

วันเล่น คือ อะไร?

วันเล่นเป็นวันที่มีการจัดกิจกรรมที่พิเศษ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้มีการเล่นอย่างสร้างสรรค์ วันเล่นได้มีการจัดในหลายชุมชน ทุกฤดูกาล ทั้งในร่มและกลางแจ้ง คุณสามารถพบวันเล่นได้ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ในอังกฤษ เยอรมนี อเมริกา อเมริกาใต้ ฮ่องกง และแคนาดา ในแคนาดา วันเล่นจัดให้กับเด็กเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเด็ก โครงการภาคฤดูร้อน ในโรงเรียนหรือในชุมชน ในวันที่มีการเฉลิมฉลอง เช่น วันครอบครัว หรือวันชาติ วันเล่นประสบผลสำเร็จมากกว่าเป็นความบันเทิง การเข้าร่วมวันเล่น คุณจะพบว่าการวันเล่นได้รวมสิ่งที่สำคัญสามประการเข้าด้วยกัน คือ 1) สถานที่เล่น ซึ่งเด็กสามารถเข้าร่วมเล่นในแต่ละฐานที่จัดไว้เป็นพิเศษ 2) การสร้างสรรค์การเล่นในแต่ละฐาน และ 3) ผู้นำที่มีความสามารถ ที่คอยแนะนำเด็กให้ค้นพบความหลากหลายของมุมมองของการเล่น

 ความสำคัญของการเล่น

การเล่นเป็นพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์ ประกอบด้วยพื้นฐานทางร่างกาย สังคม จิตใจ และพัฒนาการทางอารมณ์ การเล่นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการรู้จักผ่อนปรน โดยการเล่น เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพร่างกายของตนเองและสังคมรอบตัว จากแรกเกิด เด็กมีความต้องการเล่นโดยธรรมชาติ ในทางมานุษยวิทยา ความต้องการเล่นของเด็กเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกลไกการมีชีวิตรอดของมนุษย์ เด็กที่ได้รับการเล่นจะสามารถแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ดี ดังนั้น คำถามคือ การเล่นคืออะไร? มีการยอมรับอย่างกว้างขวางถึงคำนิยามว่า การเล่นประกอบด้วยสิ่งที่สำคัญดังนี้ คือ อิสระในการเลือก การควบคุมบุคลิกภาพ แรงจูงใจภายใน หรืออีกนัยหนึ่ง เด็กเป็นผู้ริเริ่มและควบคุมการเล่นของตนเอง สิ่งกระตุ้นเกิดจากภายในตัวเด็ก และไม่มีอะไรถูกหรือผิดในการเล่น การเล่นช่วยให้มีการพัฒนาความต้องการพื้นฐานของตัวเด็กเพราะความต้องการของเขาไม่ถูกครอบงำและเพราะเด็กเป็นผู้เลือกด้วยตนเอง การเล่นช่วยพัฒนาเด็กให้มีการคิด การใช้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของร่างกาย เด็กจะค้นพบและเรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจของตนเอง การใช้จิตนการ เด็กสร้างสรรค์โลกที่พิเศษของตนเองและค้นพบวิธีที่จะบริหารจัดการ ในการเล่นกับคนอื่น ๆ เด็กเรียนรู้ที่จะร่วมมือกัน การเล่นในครอบครัวที่ต่างวัยและในสังคม เด็กจะมีการเพิ่มขึ้นของความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งหมดดังกล่าวจะช่วยพัฒนาเด็กให้เป็นผู้ประสบผลสำเร็จและพัฒนาบุคลิกภาพและความเชื่อมั่นของตนเอง

 

การวางแผน: การทำให้เป็นมากกว่าการเล่น

                ประสบการณ์สอนเราว่า การประสบผลสำเร็จของการจัดวันเล่น ในการท้าทายและการชักจูงให้เด็กเกิดจินตนาการเล่น จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ด้วยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงบุคคลที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องในการวางแผนและกำหนดบทบาทและหน้าที่ของบุคคลดังกล่าว เราเสนอแนะให้มีการกำหนดให้มีความแตกต่างกัน แต่ไม่แยกออกจากกัน เป็นทีม เช่น ทีมสร้างฝัน ทีมออกแบบและวางแผนสถานที่เล่น และทีมประสานงานและจัดเตรียมเครื่องมือ

               

ตัวอย่างฐานการเล่น   เช่น

                1. ฐานเกม

                2. ฐานน้ำ

3. ฐานทราย

                4. ฐานกล่องและการก่อสร้าง

                5. ฐานเขาวงกตและสิ่งกีดขวาง

                6. ฐานทาสี

                7. ฐานวิทยาศาสตร์

                8. ฐานละครสัตว์

                ฐานการเล่นอื่น ๆ

                นอกจากฐานการเล่น 8 ฐาน ที่ได้แสดงให้เห็นมาข้างต้น ยังมีฐานการเล่นอีกมากที่สามารถนำมาจัดได้ในวันเล่น ประกอบด้วย แฟนตาซี ดนตรี การจัดสวน จานบิน สเกตบอร์ด การทำงานกับกระดาษ เป็นต้น

การเล่นและนันทนาการ ได้มีการกล่าวถึงในที่ประชุมสหประชาชาติ ในหัวข้อเกี่ยวกับสิทธิของเด็ก

ในการที่จะช่วยพัฒนามนุษย์อย่างเหมาะสม  การเล่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับการพัฒนาสมอง

ในความจริง ไอไตน์ กล่าวว่า การเล่นเป็นรูปแบบสูงสุดของการวิจัย!

การเล่นทำให้มีความสุข มีชีวิตชีวา มีการใช้พลัง  พัฒนาจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ

หมายเลขบันทึก: 219766เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2008 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท