หัวใจนักส่งเสริมสู่การพัฒนางานด้วยPAR


นำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR )ไปประยุกต์ใช้

หัวใจนักส่งเสริมเกษตรสู่การพัฒนางานด้วย PAR

 

 

กว่าจะมีโอกาสได้ออกไปปฏิบัติงานร่วมกับนักส่งเสริมการเกษตร ในระดับอำเภอนำร่องของการนำระบบส่งเสริมการเกษตรฉบับปรับปรุงใหม่เมื่อปี 2551ไปใช้ในระดับอำเภอและพื้นที่ โดยใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไก ซึ่งมีการประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา

 

         โดยกระบวนการทำงานแล้วทางทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด ได้ชี้แจงและทำความเข้าใจกับบุคลากรทั้งจังหวัด จากนั้นได้ทำการคัดเลือกอำเภอนำร่อง เป็นอำเภอเน้นหนัก โดยนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR )ไปประยุกต์ใช้

          สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย เป็นอำเภอนำร่อง ความจริงเราก็ได้เริ่มวางกระบวนการทำงานร่วมกันมาหลายเดือนแล้ว ได้พิจารณากำหนดโจทย์ร่วมกัน ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร กรณีศึกษา สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

 

          ในระดับสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย  ได้มีการวางกระบวนการทำงานร่วมกัน มีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ที่สมัครเข้าร่วมในการนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR ) ไปประยุกต์ใช้ แต่ก็ต้องขอเรียนว่าในเบื้องต้นเรามีความตั้งใจที่จะสร้างความเข้าใจแก่นักส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบล หรือผู้ที่ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลให้มีความเข้าใจในหลักการของ PAR  ซึ่งจำเป็นที่จะต้องซักซ้อมความเข้าใจกันหลายๆครั้ง เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน หรืออาจจะพูดให้ง่ายๆก็คือต้องให้เห็นช้างทั้งตัวเหมือนกันนั่นเอง

 

              แต่ข้อตกลงร่วมแต่ละตำบลจะต้องกำหนดกลุ่มเรียนรู้หรือชุมชนตัวอย่างที่เป็นกรณีศึกษาที่มาจากผลการวิเคราะห์พื้นที่และชุมชน ตามแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล ที่ผ่านเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านและระดับตำบล มาแล้ว โดยมีเกษตรกรเป้าหมายมีความประสงค์ที่เข้าร่วมกระบวนการวิจัย PAR  ร่วมกันต่อไป โดยที่ผู้ดำเนินการวิจัย ต้องไปออกแบบร่วมกัน ตลอดจนกำหนดโจทย์วิจัยร่วมกันในชุมชนนั่นเอง

          ในวันนี้วันที่ 29 ตุลาคม 2551 ทางทีมงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งประกอบไปด้วย ผม และหัวหน้าวิโรจน์ พ่วงกลัด และอ.สิงห์ป่าสัก ความจริงแล้วเราไปสรุปบทเรียนการนำระบบส่งเสริมการเกษตรฉบับปรับปรุงใหม่ไปใช้ ว่าผลความก้าวหน้าเป็นอย่างไรพบปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง แล้วมีการแก้ไขอย่างไร ความจริงแล้วเรามีความตั้งใจที่จะลงไปปฏิบัติงานร่วมกับทีมงานในระดับอำเภออย่างต่อเนื่อง  แต่ระบบการเอื้อหนุนผู้ปฏิบัติงานก็มีข้อจำกัดมาก ซึ่งอาจจะรวมถึงบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน เวทีของการเรียนรู้มิได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆในองค์กรแต่นักส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่-ชุมชนเขาทำงานกันอยู่ ในช่วงนี้ก็มีพี่น้องเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติน้ำท่วมทำให้ข้าวและพืชไร่เสียหาย จะต้องเร่งรัดสำรวจพื้นที่ได้รับเสียหาย ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาและยกระดับของการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรในขอบเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบอีกด้วย

                                                              คุณประสิทธิ์ อุทธา รับผิดชอบตำบลพรานกระต่าย

                      คุณกัลยาณี สมงาม รับผิดชอบตำบลคลองพิไกร

                      คุณเสนาะ ยิ้มสบาย รับผิดชอบตำบลเขาคีรีส

                    คุณประทุมวัน บัวเผี่ยน รับผิดชอบตำบลวังตะแบก

                   คุณสนอง ขวัญคำ รับผิดชอบตำบลถ้ำกระต่ายทอง

                     คุณรัตติยา ขวัญคำ รับผิดชอบตำบลคุยบ้านโอง

                    คุณบุญส่ง จอมดวง รับผิดชอบงานสถาบันเกษตรกร

             แต่นักส่งเสริมการเกษตรระดับปฏิบัติการ ที่มีความพร้อมในการพัฒนาตัวเองเข้าสู่กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย จำนวน 7 คนประกอบด้วย ตำบลพรานกระต่าย ตำบลคลองพิไกร ตำบลเขาคิริส ตำบลวังตะแบก ตำบลคุยบ้านโอง ตำบลถ้ำกระต่ายทอง  แต่เราก็ต้องให้กำลังใจกัน ช่วยเติมพลังให้มีความมุ่งมั่นที่พัฒนางานกันต่อไปนะครับ

หมายเลขบันทึก: 219603เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2008 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับพี่เขียว

ยังไงก็  PAR กันให้ตลอดรอดฝั่ง

อยากลืม  เกษตรหมู่บ้าน นะครับกลับมาอีกแล้ว

ขอบคุณมากครับ

  • ขอบคุณพี่ไมตรี
  • ที่มาแวะให้กำลังแก่กันเสมอมา
  • ช่วงนี้ต้องลงไปให้กำลังใจนวส.ที่อยู้ในพื้นที่
  • แต่ก็ไม่รู้ว่าPARกันไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่
  • ณ.วันนี้ก็คิดได้แค่นี้
  • พอกลับที่โตะทำงานก็มีหนังสือ กษม.มาอีกก็ต้องทำต่อไปอีก.
  • ขอบคุณครับ.........ฮิๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท