คำพ้อง ไทย-มลายู (๒) กะพ้อ-กระบี่ คำพ้อง


วันก่อนลูกสาวมาขออณุญาตไปบ้านเพื่อนที่อำเภอกะพ้อ.. ก็นึกได้ว่าอำเภอนี้บ้านเรา(สามจังหวัดภาคใต้)เรียกว่า กะลูบี เลยเกิดข้อสงสัยว่ากะพ้อเป็นคำเดียวกันคำว่ากะลูบีหรือไม่ ก็ได้ข้อมูลมาอย่างนี้ครับ

กะพ้อ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Licuala paludosa Griff.) เป็น ปาล์ม ลำต้นเตี้ย สูง 1-3 ม. ลำต้นแตกหน่อเป็นกอ ใบมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียงเวียนสลับ รูปกลม ก้านใบรูปสามเหลี่ยม มีหนามแหลมสีดำ

การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใบที่เป็นยอดอ่อนใช้ห่อข้าวเหนียวต้มจนสุกเป็น "ต้ม" ใช้เป็นขนมเดือนสิบ (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)

บ้านเราเรียกว่า ฟาหุนปาลาส Pokok Palas ใบเรียกว่า ดาหุนปาลาส داون فالس ใช้ทำ ต้ม(กะตุมปัต) วันวันฮารีรายอ

ต้มหรือกะตุมปัตปาลัส

ตำบลที่ตั้งของอำเภอกะพ้อ คือ ตำบลกะรุบี ดังนั้นอำเภอกะพ้อก็คือ กะลูบี แต่ความหมายของคำว่า กะลูบี ไม่ใช่กะพ้อ

กะลูบี หรือ kelubi كلوبي จะมีความหมายตรงกับ คำ กะลุมพี ตามพจนานุกรมไทย ให้ความหมายว่า เป็นชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็น ช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลําต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียกหลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).

ลูก Kelubi

จำได้ว่าจำได้นานมาแล้วคนเก่าแก่ของจังหวัดกระบี่มาเยี่ยมที่บ้านและพูดมลายูได้ด้วย เขาบอกว่าเขามาจาก กะลูบี เขาว่าที่จังวหัดนี้มีพืชพรรณนี้มีมาก

 (หลายจังหวัดในภาคใต้จะมีชื่อเป็นมลายู ว่ากันว่าได้รับอิทธิพลสมัยอาณาจักรศรีวิชัย)

จังหวัดกระบี่ ก็คือ จังหวัดกะลุมพี 

 

 
   

 

คำสำคัญ (Tags): #คำพ้อง#มลายู#ไทย
หมายเลขบันทึก: 219481เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2008 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท