บอกเล่าเครือข่ายด้านพื้นที่ในการเข้าถึง เข้าใช้ ไอซีที จากงาน ICT Youth Connect


สามารถแบ่งแยกตามลักษณะของการใช้งานได้ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) พื้นที่ทางกายภาพ ได้แก่ ร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ โรงเรียน บ้าน และ (๒) พื้นที่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ในระบบอินเทอร์เน็ตที่เด็ก เยาวชน สามารถใช้เป็นพื้นที่ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบของตัวอักษร รูปภาพ เพลง วีดีโอ เป็นต้นพื้นที่ในระบบนี้ได้แก่ เว็บบล็อก เว็บไซต์ กระดานข่าว

        ในวันที่ ๖ ตุลาคม ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้มีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง เด็กหัวใสฉลาดใช้ไอซีที หรือ ICT Youth Connect ซึ่งมีเป้าหมายหลัก (๑) ในการรวบรวมเด็ก เยาวชน ที่ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการทำงานสร้างสรรค์ ส่งสารสร้างสรรค์ไปยังสังคม รวมถึง รวบรวมเครือข่ายผู้ใหญ่ที่เข้าใจและสนับสนุนการใช้ไอซีทีในเชิงสร้างสรรค์ของเด็ก เยาวชน (๒) เพื่อรวบรวมประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการทำงานระหว่างกันต่อไป (๓) เพื่อรวบรวมผลงานที่เกิดขึ้นเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างที่จะนำไปสู่การขยายผลต่อ

       ในการทำงานครั้งนี้ มีการแบ่งห้องย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เป็น ๕ ห้อง ห้องชุมชนคนทำเกม ห้องไอซีทีเพื่อการศึกษา ห้องพื้นที่ในการเข้าถึง เข้าใช้ ไอซีที ห้องเด็กหัวใสฉลาดใช้ไอซีที และ ห้องเครือข่ายผู้ใหญ่ เข้าใจไอซีที

       โดยในห้องที่ ๓ เรื่องของพื้นที่ มีผม (อาจารย์โก๋) เป็นคุณอำนวยการประชุม และ มีอาจารย์รุ่งรัตน์ เป็นคุณลิขิต และ ยังมีอาจารย์แหวว มาร่วมด้วยช่วยกันอีกหนึ่งแรง

      เบื้องต้น เราเริ่มจากการแนะนำตัว โครงการ ผลงาน ในห้องเรา ประกอบด้วย ๔ กลุ่มใหญ่ จำนวน ๘ เครือข่าย กล่าวคือ

       ๑      องค์กรพัฒนาเอกชน : (๑) โครงการไอซีทีเพื่อสังคม มูลนิธิกระจกเงา สาขาเชียงราย (๒) สถาบันอาศรมศิลป์ (๓) ธรรมนวัตกรรม และ (๔) สมาคมเพื่อนแก้ว

      ๒     องค์กรเอกชนเพื่อสังคมที่ไม่แสวงกำไร : (๕) โครงการ WeareImpact.com กลุ่มคริสเตียนเล็กๆ ที่ตั้งใจที่จะทำสื่อ เพื่อพระเจ้า และพี่น้องคริสเตียนทุกคน

     ๓     องค์กรภาคนโยบาย : (๖) โครงการศูนย์อินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ

     ๔      องค์กรภาคเอกชน : (๗) โครงการร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยสร้างสรรค์ OZONE Net จังหวัดเชียงใหม่ (๘) โครงการ OKGAME.in.th บริษัท ฟิวเจอร์ เกมเมอร์ จำกัด      

     หลังจากนั้นก่อนที่เราจะเริ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน  เราได้หารือถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพื้นที่ในการเข้าถึง ใช้งานและบริโภคสื่อไอซีที โดยได้ใจความว่า สามารถแบ่งแยกตามลักษณะของการใช้งานได้ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) พื้นที่ทางกายภาพ ได้แก่ ร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ โรงเรียน บ้าน และ (๒) พื้นที่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ในระบบอินเทอร์เน็ตที่เด็ก เยาวชน สามารถใช้เป็นพื้นที่ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบของตัวอักษร รูปภาพ เพลง วีดีโอ เป็นต้นพื้นที่ในระบบนี้ได้แก่ เว็บบล็อก เว็บไซต์ กระดานข่าว เช่น เว็บไซต์ fuse.in.th youtube.com,hi5.com,weareimpact.com เป็นต้น

 

  

หมายเลขบันทึก: 219466เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2008 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาหาอาหารสมองค่ะ ขอบคุณค่ะ

อย่าลืมพูดถึงการสร้งพื้นที่พูดคุยกันระหว่าง ๓ เดือนที่ไม่เจอกัน ถ้า อ.โก๋ลืม ทุกคนก็ลืมค่ะ

http://332982264.hi5.com/friend/group/3699726--IAMOKICT--front-html

ต้องเขียนเรื่องนี้ และรณรงค์กันมาคุยกันค่ะ

สร้าง online forum กันเถอะค่ะ

ดีครับ

ผมมีความสนในกฏหมาย และเทคโนโลยี

มาร่วมขบวนการสร้างแนวคิดด้านกฎหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท