beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

จุดเปลี่ยนประเทศไทย : วิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ ปี๒๕๕๑-๒๕๕๒


ประเทศไทย และคนไทยจะต้องหวนกลับไปใช้ พุทธภาษิต "อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ" ในการดำเนินชีวิตให้มากขึ้น...แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะถูกนำมาปรับใช้ในวิถีชีวิตของคนไทยเพิ่มมากขึ้น.

     ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า บันทึกนี้เขียนโดยคนที่ไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ครับ แต่เขียนโดยความเข้าใจของคนๆ หนึ่ง...ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์

  1. วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 "Tomyamgoong disease" และ
  2. วิกฤตเศรษฐิกจปี 2551 "Hamburger disease"

     วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดจากการที่สถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไทย กู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาเก็งกำไรกันมากเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปเก็งกำไรทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ทีนี้พอ "ฟองสบู่" แตก...สถาบันการเงินต่างๆ ก็ล้มครืนกันลงมา จนประเทศไทยต้องไปกู้เงินจาก "ไอเอ็มเอฟ"

     ผลกระทบทันที คือ ค่าเงินบาทไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินสหรัฐร่วงกราวรูดไปถึง 50 กว่าบาท ก่อนที่กลับมาเสถียรภาพอยู่ที่ประมาณ 41 บาท...(ต่อมาอีก 11 ปี ค่าเงินมาเสถียรอยู่ที่ 33-34 บาท)

     ผลกระทบต่อบุคคล คือ บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน มีเลิกจ้าง หรือจ้างคนให้ออกจากงาน ส่งผลกระทบต่อสังคม และครอบครัว

     แต่ช่วงนั้นภาวะการส่งออกของไทยดี..มีความต้องการสั่งซื้อสินค้าเข้ามามาก เพราะค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงไปมากนั่นเอง...และประเทศไทยก็ฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรวดเร็ว

     Hamburger disease สิ่งที่เหมือนกันกับวิกฤตต้มยำกุ้ง คือ การล้มครืนของสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา และลุกลามไปยังประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น อังกฤษ และญี่ปุ่น...และผลกระทบจะลุกลามมายังประเทศไทย...ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนในต้นปี 2552

     ส่วนที่ต่างกันระหว่าง Hamburger disease และ วิกฤตต้มยำกุ้ง มีหลายประเด็น ขอยกมาเพียงบางประเด็น

  1. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งจะลามไปทั่วโลก ทำให้กำลังซื้อของประเทศต่างๆ ลดลง มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย...ที่เราเห็นได้ชัดคือ ราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  2. เมื่อกำลังซื้อลดลง ทำให้ภาวะการส่งออกของไทย ชลอตัว คำสั่งซื้อใหม่ๆ จะไม่มี ส่งผลให้ราคาพืชผลทางเศรษฐกิจของไทย ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ที่เห็นชัดเจน คือ ราคาข้าวโพด, ข้าว, ยางพารา, มันสำปะหลัง ฯลฯ และ จะตามมาอีกหลายตัว...มากจนกระทั่งรัฐบาลประกันราคาไม่ไหว..หนี้สินของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้น..เกิดปัญหาสังคมตามมาอีกมาก
  3. อุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แทบจะไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ๆ ส่งผลต่อการจ้างงาน ซึ่งคาดว่า จะเกิดภาวะคนว่างงานประมาณ 1 ล้านคน
  4. นิสิต นักศึกษา ที่จบใหม่ ในปี 2552 ต่อเนื่องไปปี 2553 และย้อนหลังไปปี 2551 จะตกงานสะสม ทำให้ยอดคนตกงานอาจเพิ่มเป็น ๒ ล้านคนเลยทีเดียว

     จากที่กล่าวมาทั้งหมด ผมอยากชี้ให้เห็นว่า "ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์" จากสำนักต่างๆ พอถึงยุคนี้ สมควรต้องมีการสังคายนากันใหม่....ลัทธิบริโภคนิยม เห็นอะไรใหม่ๆ เป็นอยากซื้อ (ถ้ามีเงิน) ถึงคราวที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่..โลกจะหมุนกลับ..

     ประเทศไทย และคนไทยจะต้องหวนกลับไปใช้ พุทธภาษิต "อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ" ในการดำเนินชีวิตให้มากขึ้น...แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะถูกนำมาปรับใช้ในวิถีชีวิตของคนไทยเพิ่มมากขึ้น....จบ

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

 

ปล. ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า "วิ-กริด" เขียนได้ ๒ แบบ คือ "วิกฤต" กับ "วิกฤติ" ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

วิกฤต, วิกฤต, วิกฤติ, วิกฤติ [วิกฺริด, วิกฺริดตะ,วิกฺริด, วิกฺริดติ] ว. อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย
 เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น
 วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น
 มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).

 

หมายเลขบันทึก: 219460เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2008 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ อาจารย์ บีแมนที่เคารพ

  • เศรษฐกิจ เปลี่ยนไปแบบหมุนกลับ  ดังนั้น  คนไทยต้องรับสภาพ ปรับ และเปลี่ยนอะไรหลายๆอย่างทีเดียวค่ะ
  • ครูอ้อยมีมาตรการที่คิดไว้ส่วนบุคคลค่ะ  แต่ไม่หวงค่ะ
  • ไปโรงเรียนโดยขึ้นรถประจำทาง  ออกจากบ้านแต่เช้าอากาศบริสุทธิ์ มลภาวะน้อยจะได้ไม่ป่วย  ตรงไหนเดินได้ ก็เดิน พกร่มกันแดดเล็กๆไว้  ไม่นั่งมอเตอร์ไซค์  มันเสี่ยง  ซื้อกับข้าวบ้าง ทำเองบ้าง มากินด้วยกันทั้งหมดที่บ้าน...
  • ครูอ้อยมีมาตรการ หลายมาตรการ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม  เช่น หากฝนตกก็ต้องใช้รถยนต์ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่มีความรู้มาให้อ่าน และมีเวทีให้ได้คิดได้เขียนกันบ้างค่ะ

อาจารย์สบายดีนะคะ

สวัสดีครับครูอ้อย แซ่เฮ (ไม่มีหน้าตาดีต่อท้าย)

  • ขอบคุณที่ครูอ้อยแวะมาเยี่ยมครับ
  • พิษณุโลกเริ่มอากาศเย็นบ้างแล้ว
  • มาตรการของครูอ้อย น่าสนใจดีครับ
  • มาตรการของ beeman คือ ทานข้าวเช้าที่บ้าน, เอาปิ่นโตมาทานกลางวัน และมื้อเย็นก็กลับไปทานที่บ้านอีก..แต่ตอนนี้จะเริ่มงดอาหารเย็นแล้ว อาจดื่มน้ำเต้าหู้ไม่ใส่น้ำตาลแทน
  • ขี่จักรยานมาทำงาน
  • วันไหนไม่ออกไปนอกมหาวิทยาลัยก็ไม่เสียสตางค์เลย..อิอิ

ผมขอเรียนรู้ด้วยนะครับ

เห็นด้วยกับแนววิเคราะห์ในบทความนี้ คงจะเป็นการเตรียมการในระดับหนึ่งของน่าที่ที่ผมในฐานะทำงานหน่วยงานจัดหางานของรัฐ แต่ที่ผ่านมานั้นผมก็ได้พยายามแนะแนว

แนะนำประชาชนให้ยึดหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด

ขอบคุณครับ

ในระดับอำเภอ ชุมชน หน่วยงานของรัฐใด ที่มีใช้จ่ายงบประมาณ ซื้อของมากที่สุด

คิดว่า ไม่ใช่โรงเรียน ไม่ใช่อำเภอ แต่เป็น โรงพยาบาล ครับ

คราวนี้ มีกี่โรงพยาบาลในประเทศ ที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจชุมชน เท่าที่ทราบ มีอยู่ประมาณ 15-20 แห่ง ที่ตั้งใจทำ จากทั้งหมด 1000 รพ.

ส่งเสริมการปลูก แปรรูปใช้สมุนไพร ให้ชุมชน มีรายได้ด้วย และ ได้ภูมิปัญญาฟื้นคืนด้วย

ซึ่ง หากดูงบประมาณ สุขภาพ ประมาณ แสนล้านบาท ต่อปี

เราใช้ยาไทย น้อยมาก ในระบบสุขภาพ ต่างจากจีน และ อินเดีย

ไม่รู้ว่า คราวนี้ จะมีการฉวยโอกาส จัดระบบสุขภาพ และเศรษฐกิจชุมชน ระบบภูมิปัญญา ในภาพใหญ่ และตั้งใจขับเคลื่อนได้ หรือไม่

ได้แต่หวังว่า คงจะมีบุญของประเทศหลงเหลือ ให้มีผู้ใหญ่ของชาติบ้านเมือง กำหนดชี้นำนโยบายอย่างจริงจัง

ผมคิดว่า ไม่ควรประหยัดไปหมด คนจนจะตกงาน แต่หันมากินใช้ของ ผลิตผลในประเทศให้มากขึ้น เพื่อคงการจ้างงาน แต่ค่อบๆ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไปด้วย

  • ได้ข้อคิด : พึงสังวรณ์ให้หนัก ในเรื่องการใช้เงิน-ใช้ทอง ในช่วงปี-สองปีนี้
  • คงจริงอย่างที่หลายคนพูด...รวมทั้งอาจารย์ "ปีนี้เผาหลอก ปีหน้าเผาจริง"
  1. ท่านชนะทำดีแล้วครับ
  2. ท่านหนุ่มกรก็แนะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง..ช่วยกันคนละนิดครับ
  3. แนวคิด ท่าน วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์ เป็นแนวคิดที่ดีมากครับ ที่มีโรงพยายาลเป็นผู้นำในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และช่วยกันใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อให้เกิดการจ้างงานต่อเนื่อง..
  4. ผมได้ทบทวนความรู้จาก คุณครูธนิตย์ครับ..

ขอบทความอาจารย์ไปใช้อ้างอิงหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท