กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ


กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ

      ขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ  ประกอบด้วย

      1.) การกำหนดปัญหาในการวิจัย  ปัญหาที่ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพมี  2  ประเภท  ได้แก่  การวิจัยลักษณะทั่วไปของปรากฏการณ์  และการวิจัยลักษณะเฉพาะเจาะจง  เช่น  การวิจัยเพื่อหาสาเหตุ  ปัจจัยกำหนด  กระบวนการ  และผลกระทบ  เป็นต้น  ทั้งนี้การศึกษาปรากฏการณ์เหล่านี้จะต้องเป็นการศึกษาที่มองรอบด้านและคำนึงถึงบริบท (Context) ของปรากฏการณ์นั้น ๆ

      2.) การสำรวจวรรณกรรม  เช่นเดียวกับการวิจัยในลักษณะอื่น  ผู้วิจัยต้องสำรวจวรรณกรรมเพื่อทบทวนว่ามีผู้ใดทำวิจัยในหัวข้อที่ศึกษาหรือยัง  และสรุปแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  และที่เคยมีผู้ใช้มาก่อน  เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือนำทางในการกำหนดกรอบแนวคิดกว้าง ๆ

      3.) การเก็บรวบรวมข้อมูล  เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพไม่ใช่การวิจัยเพื่อทดสอบสมมติฐาน  แต่เป็นการวิจัยเพื่อหาข้อสรุป  หรือตั้งสมมติฐานจากข้อเท็จจริงที่พบจากการวิจัย  ผู้วิจัยมีบทบาทสำคัญในการเก็บข้อมูลที่จะได้มาจากการสังเกต  จดบันทึก  สัมภาษณ์  และข้อมูลเอกสาร 

                ดังนั้นผู้วิจัยต้องกำหนดตัวอย่าง  และสนาม(หรือพื้นที่)ของการวิจัยให้ชัดเจน  และต้องรวบรวมข้อมูลที่เป็นบริบทของข้อมูลประกอบด้วย

              การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ  เพราะผู้วิจัยจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์  และใช้เทคนิคการสังเกตการณ์  การสัมภาษณ์  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดเกี่ยวกับโลกทัศน์  ความรู้สึก  ค่านิยม  ประวัติ  คุณลักษณะ  โดยเฉพาะขณะเก็บข้อมูลต้องไม่นำตัวเองเข้าไปมีอิทธิพลหรือมีบทบาทต่อการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านนั้น  อันจะทำให้เกิดการบิดเบือนไปจากสภาพที่เป็นอยู่จริง  เช่น  ไม่ให้ผู้ถูกศึกษารู้ว่าถูกสังเกตหรือกำลังถูกสัมภาษณ์อยู่  ดังนั้นผู้วิจัยอาจไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ทันที  จึงควรเขียนบันทึกภาคสนามทุกคืนเพื่อป้องกันการลืม  การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจต้องกินเวลายาวนาน  เพื่อสังเกตกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และตรวจสอบความเที่ยวตรงของข้อมูล

      4.) การวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอรายงานผลการวิจัย  การวิเคระห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้วิธีการจำแนกและจัดระบบข้อมูลเพื่อตอบคำถามว่า  คืออะไร   เป็นอย่างไร  และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล  แยกแยะเงื่อนไข  เพื่อดูสาเหตุ  ความสัมพันธ์  กระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางสถิติ  หรือใช้เพื่อรวบรวมจัดหมวดหมู่

Mr.PK

 

ขอขอบคุณที่มา

อาจารย์มานิตย์  ผิวขาว  สาขาเศรษฐศาสตร์  วิทยาเขตหนองคาย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เอกสารประกอบการสอน  รายวิชา ระเบียบวิธีการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์  จากเว็บ  

web.nkc.kku.ac.th/manit/document/962408/ch2_research_process.doc        

หมายเลขบันทึก: 219291เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท