ผลการดำเนินงานพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการ


ความก้าวหน้าโครงการพอบ.

ขั้นตอนการดำเนินงาน     
          1. ประสานหน่วยงานภาคีในอำเภอเด่นชัยเพื่อวางแผนการดำเนินงานโดยนายอำเภอ เด่นชัยเป็นประธาน                                    

                   2. กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานเพื่อได้ข้อมูลผู้ลงทะเบียนคนจน

          3. ดำเนินการคัดกรองผู้ลงทะเบียนคนจน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย และ องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นชัย ในวันที่ 23-24 มกราคม 2549 ได้ผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ จาก 2 ตำบล จำนวนทั้งสิ้น  65  คน แบ่งตามกลุ่มอาชีพที่ต้องการพัฒนา เป็น กลุ่มปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ (สุกร ผักและเห็ด)   ทอผ้า ด้นผ้า  ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้       

          4. พิธีเปิดศูนย์ โดย ดร. ศรีวิการ์ เมฆธวัชชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย(วันที่ 31 มกราคม 2549)      
         5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางการพัฒนาอาชีพ และวางแผนกิจกรรมร่วมกัน โดยใช้สถานที่ ศูนย์ ฯในที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อยในวันที่ 31 มกราคม 1 กุมภาพันธ์   ได้แบ่งผู้เข้าร่วมโครงการตามกลุ่มอาชีพและเขตพื้นที่ คือ พื้นที่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย   พื้นที่ในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเด่นชัย   พื้นที่ในการดูแลของเทศบาลตำบลเด่นชัย
          สรุปสภาพทั่วไปและปัญหา ของผู้เข้าร่วมโครงการ จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในวันที่ 31 มกราคม 2549 จำแนกได้  ดังนี้
            1.  มีรายได้น้อย เนื่องจากที่ดินทำกินมีจำกัด   หรือบางรายไม่มีที่ทำกินต้องรับจ้างทั่วไป
          2. ต้นทุนการผลิตสูง เช่น ต้องใช้ปุ๋ย ใช้ยาฆ่าแมลง และเมล็ดพันธุ์ราคาแพง ต้องกู้ ธกส. มาลงทุน
          3. ผลผลิตราคาไม่ดี ทำมากแต่ขายได้เงินน้อย
          4. มีเวลาว่างงานหลังปลูกข้าว ประมาณ 3 เดือน และหลังปลูกถั่ว ประมาณ 3 เดือน ไม่มีรายได้  บางคนต้องไปรับจ้างในเมืองหรือต่างจังหวัด เหลือแต่ผู้สูงอายุทำงานอยู่กับบ้าน
          5. อาชีพเลี้ยงสุกร มีปัญหาเรื่องอาหารแพง และราคาจำหน่ายต่ำ เนื่องจากรับลูกหมูจากฟาร์มที่รับซื้อหมูคืนในราคาประกัน ถ้าซื้อลูกหมูจากชาวบ้านจะขายยาก ปัญหาที่เพิ่มมาคือเมื่อเลี้ยงหมูมากขึ้นจะมีปัญหากลิ่นเหม็นในชุมชน  ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเลี้ยงหมูขุนครอบครัวละ 2-3 ตัว
          6. ชาวบ้านที่ต้องการเลี้ยงหมูหลุมตามโครงการ SML ที่องค์การบริหารส่วนตำบลให้งบประมาณสนับสนุน บางคนยังได้ทำคอกไว้แล้วแต่ยังไม่มีลูกหมูมาเลี้ยง
          7. การปลูกผักมีปัญหาว่าไม่รู้จะไปขายที่ไหน  เคยมีหน่วยงานของรัฐมาส่งเสริมให้ปลูกแตงกวา ในระยะแรก ขายได้ราคาดี ต่อมาคนปลูกมากขึ้น ขายไม่ออกเลยเลิกปลูกไป
          8. แม่บ้านเกษตรกร 13 คนได้รวมกลุ่มกันทอผ้าทอมือ ในช่วงที่ว่างจากงานในไร่นา แต่ยังขาดความรู้และวัสดุอุปกรณ์ ที่มีคุณภาพ ต้องการความรู้เรื่องย้อมสีธรรมชาติ และการศึกษาดูงาน
         9. ชาวบ้านที่ใช้เวลาหลังทำนาไปรับจ้างเป็นช่างทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ ในอำเภอสูงเม่น และเด่นชัย เห็นว่าหากนำความรู้และประสบการณ์ที่มีมาประกอบอาชีพในหมู่บ้านโดยทำให้ถูกต้องตามกฎหมายจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ได้รวมกันเป็นกลุ่มและยื่นเสนอขอใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมาย ผ่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย หากได้รับอนุญาต ก็จะพัฒนาในเรื่องรูปแบบผลิตภัณฑ์ และต้องการความรู้เกี่ยวกับการใช้และดูแลเครื่องมืออุปกรณ์
        10. ผู้ร่วมโครงการส่วนใหญ่มีภาระรายจ่ายประจำเป็นค่าเล่าเรียนบุตรหลาน

        11. ส่วนใหญ่มีหนี้ในกองทุนหมู่บ้าน
        12. ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนลูกสุกรจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลได้จัดตั้งกองทุนกลุ่ม มีการซื้อหุ้นและการออมเงินอยู่แล้ว
        13. องค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นชัยและเทศบาลตำบลเด่นชัยมีโครงการสนับสนุนการพัฒนาอาชีพของราษฎร คอยให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
        14. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเด่นชัยได้วางพื้นฐานการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาอาชีพ ด้วยการนำไปศึกษาดูงาน และฝึกอบรมวิชาชีพมาระยะหนึ่งแล้ว ( สมาชิกส่วนใหญ่ได้เรียนรู้ร่วมกับ กศน. ในเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ การเลี้ยงหมูหลุม และการเพาะเห็ดฟางตะกร้า แต่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง เนื่องจากขาดวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณ)
          จากการร่วมเสนอปัญหาและความต้องการของกลุ่มอาชีพ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม และวิทยากรที่มีประสบการณ์ผ่านกิจกรรมการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการ เช่น ประธานกลุ่มเห็ดฟางบ้านธรรมเมือง กลุ่มผ้าด้นมือบ้านธรรมเมือง กลุ่มผักอินทรีย์อำเภอสอง และ ตัวแทนหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่สนับสนุนการวิจัย ท้องถิ่น สรุปได้ว่า
1.   การจะแก้ปัญหา ต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไร และต้องยอมรับว่าปัญหานั้นมีอยู่จริง เช่น ปัญหายากจน มีอะไรบ้างที่เป็นตัวบ่งชี้ว่ายากจน เช่น รายได้น้อยกว่ารายจ่าย  ละต้องรู้ว่ารายจ่ายที่มีมากกว่ารายได้นั้นจ่ายเรื่องใดบ้าง หรือเรื่องการประกอบอาชีพไม่ได้ผลสภาพที่ไม่ได้ผลคืออย่างไร   เมื่อรู้สภาพปัจจุบันก็จะมองเห็นว่าประเด็นใดคือปัญหา และจะสามารถหาแนวทางได้
      ต้องระลึกเสมอว่า ยากจน ไม่ใช่อยากจน
2.      เมื่อรู้ปัญหาแล้วจะหาแนวทางแก้ปัญหา หากเริ่มต้นใหม่หมดจะทำให้ล่าช้าและหมดกำลังใจ แก้ปัญหาไม่ได้
3.   วิธีที่รวดเร็วและได้ผลที่ส่วนใหญ่ทำกันคือไปดูว่าใครที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้บ้าง และเขาแก้ปัญหากันอย่างไร ได้ผลอย่างไร ใครที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ  เขามีกระบวนการหรือวิธีการอย่างไร และจะนำมาปรับใช้กับปัญหาของเรา ในสภาพพื้นที่ของเราจะต้องปรับเปลี่ยนตรงไหนบ้าง
4.      การหาข้อมูลจากเอกสาร ตำราที่หน่วยงานหรือสถานศึกษาต่างๆรวบรวมไว้ (อาจไม่สะดวกสำหรับเกษตรกร)
5.   การรวมกลุ่มกันทำจะทำให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาได้เร็วกว่าต่างคนต่างทำ แต่วิธีการต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมให้มาก ผู้นำในการแก้ปัญหาควรให้ทุกคนมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น และความคิดเห็นทุกประเด็นควรได้รับการจดบันทึกไว้แล้วเลือกแนวทางที่เหมาะสมและเป็นไปได้มากที่สุดมาทดลองทำก่อน

6.      ควรมีการจดบันทึกประเด็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มและสมาชิกอย่างต่อเนื่อง
7.   ความพร้อมในการพัฒนาอาชีพ ใจต้องมาก่อน  คือพร้อมที่จะทดลองทำและติดตามและบันทึกผลการทดลองทำนั้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสรุปผลการทดลองปฏิบัตินั้นร่วมกัน

          เมื่อแต่ละกลุ่มรับทราบแนวทางและเลือกประธานกลุ่มแล้วได้ร่วมกันศึกษาสภาพอาชีพและสภาพของสมาชิกแต่ละคน ความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพ และเรื่องเล่าจากประสบการณ์อาชีพของสมาชิกในกลุ่มล้วให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องเล่าที่ประทับใจของกลุ่มพร้อมทั้งตัวบ่งชี้ว่าการพัฒนาอาชีพที่จะประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง จากนั้นร่วมกันเสนอปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่ม สรุปได้ ดังนี้
            สรุปความต้องการของผู้ร่วมโครงการตามกิจกรรมอาชีพที่ต้องการพัฒนา ดังนี้

          กลุ่มอาชีพ
ความต้องการ
1.อาชีพปลูกพืชเลี้ยงสัตว์
มี  3 กลุ่มคือ
1.กลุ่มบ้าน
น้ำโค้ง  อบต. เด่นชัย
2.กลุ่มบ้านแพะโรงสูบ เทศบาลเด่นชัย
3.กลุ่ม อบต.ไทรย้อย
1. ต้องลูกสุกรมาเลี้ยงเพิ่มอีกคนละ 2 ตัวเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง หมุนเวียนไปเรื่อยๆ
2. ต้องการลดต้นทุนค่าอาหารหมู
3. ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสุกรขุนและสุกรแม่พันธุ์
4. ต้องการเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำคลอด การตัดเขี้ยวและตัดหางละอุปกรณ์การฉีดวัคซีน   วัคซีนและธาตุเหล็ก
5. ต้องการฝึกเพาะเห็ดฟางตะกร้าเพื่อเป็นอาหารในครอบครัวและเป็นรายได้เสริม
6. ต้องการเมล็ดพันธุ์พืชผักคุณภาพดี ปลูกเป็นผักสวนครัวและเก็บขายเป็นรายได้เสริม
7. ต้องการเครื่องจักรในการเตรียมดินสำหรับการปลูกผักอินทรีย์เพื่อการค้า
8. ต้องการเครื่องสูบน้ำและระบบน้ำในแปลงผัก(เนื่องจากเกษตรกรเป็นผู้สูงอายุ และแรงงานในครัวเรือนมีน้อย)
9.ผู้ที่เลี้ยงวัว ควายต้องการลูกไก่พันธุ์พื้นเมืองเลี้ยงเป็นอาหารและขายเป็นรายได้เสริม
10. ต้องการความรู้เรื่องการวางแผนการปลูกและการตลาด
11. ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนในด้านการตลาดทั้งพืชผักและสัตว์
กลุ่มอาชีพ
ความต้องการ
2. กลุ่ม
เฟอร์นิเจอร์
อบต.ไทรย้อย
1. ต้องการได้รับใบอนุญาตประกอบการเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
2. ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้และการเพิ่มมูลค่าไม้
3. ต้องการแหล่งเงินทุนในระบบดอกเบี้ยต่ำ
กลุ่มอาชีพ
ความต้องการ
3. กลุ่มทอผ้า
บ้านปากปานตำบลไทรย้อย
1. ต้องการพัฒนาเทคนิคการทอเพื่อเพิ่มผลผลิตเนื่องจากปัจจุบันทอได้ประมาณวันละ
    6-10 นิ้วต่อคน
2. ต้องการแท่นกรอด้ายที่ช่วยทำงานได้เร็วขึ้น
3. ต้องการกี่กระตุก จำนวน 1 หลัง(ปัจจุบันมีกี่ทอมือแบบโบราณอยู่ 7 หลัง)
4.ต้องการเส้นด้ายดิบ และเส้นใยชนิดอื่นๆเป็นวัตถุดิบในการทอผ้า
4. ต้องการเรียนรู้เรื่องการย้อมสีธรรมชาติและการออกแบบลายผ้า
5. ต้องการศึกษาดูงานกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองที่ประสบความสำเร็จ ( ที่อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์)
6. ต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด

          หลังจากการศึกษาสภาพและปัญหาและความต้องการของผู้ร่วมโครงการ คณะทำงานของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่องการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ให้แก่ผู้ร่วมโครงการในวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2549 โดยใช้วิธีการ บรรยาย สาธิต และดูงานในวิทยาลัย  จากนั้นจึงไปลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดฟางตะกร้าที่ศูนย์การเรียนรู้องค์การบริหารส่วนตำบลไทรย้อย  และการปลูกผักในพื้นที่ของเกษตรกรที่บ้านน้ำโค้งตำบลเด่นชัย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21929เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท