เด็กดอยใจดี+แครอท (Carrot)+อัพยากตธรรม เกี่ยวข้องกันอย่างไร?



เพลงเด็กดอยใจดี (1)



วันนี้ (คือเมื่อ 27 ตุลาคม 2551) ในที่ประชุม Discussion : Case จริยธรรม ผอ. และ รอง ผอ. คณาจารย์แพทย์  นักวิชาการศึกษา (กวิน) และ นศพ. ปี 4-6  สถาบันพระบรมราชชนกฯ เข้าประชุม

นศพ. ปี 6 แสดงละคร (Case จริยธรรม ) ประกอบการ Discussion+ได้ Extern จาก มช. 2 ท่าน เป็นคนพากย์บท Case จริยาธรรมะที่ยกขึ้นมา Discussion มี 3 case) หลัง Discussion ท่านรอง ให้ นศพ. เขียน รายงานเหตุการณ์สำคัญ Critical Incident Report (CIR) ส่ง วันที่ 27 พ.ย. 51

เมื่อวันจันทร์ก่อน เป็นคณะกรรมการร่วมคุมสอบวิชากุมารฯ  ข้อสอบ MCQ 1 ชุด MEQ 3 ชุด นศพ. ปี 6 มาจาก มช. ใช้ข้อสอบของ มช. มี นศพ. เข้าสอบ 2 คน ใช้เวลา 4 ชุดนั้นประมาณ 3 ชั่วโมง ในช่วงสอบเสร็จ แนะนำตัวให้ นศพ. รู้จัก และสอบถาม นศพ. ว่ารู้จัก ผู้ประพันธ์ เพลงเปลวเทียน (อดีตนักศึกษาแพทย์) นายแพทย์ขจรศักดิ์ เทพเสน   และผู้ขับร้องเพลงเปลวเทียน (พญ.อรอุษา ศิรินภาพันธ์) หรือไม่?  น้อง นศพ. ทั้งสองคนบอกว่า รู้จัก และบอกว่า คุณหมอขจรศักดิ์ ตอนนี้มาเป็น  resident ที่ สปร. 2 เดือน (โลกกลมจริงๆ ลองสอบถาม นศพ. ตอนเซ็นต์ชื่อเข้าประชุม Discussion ปรากฎว่าข้อมูลถูกต้องตรงกับที่ Extern จาก มช. บอก) จากนั้นสอบถาม นศพ. คนที่ 1 ว่า ชื่อ ปาณัสม์ แปลว่าอะไร? (ถามไปงั้นพอรู้ความหมายอยู่บ้าง) และถาม นศพ. คนที่ 2  ที่ชื่อ ธนฤทธิ์ (แปลว่า มีเงินเป็นอิทธิ/พล) ว่ามีญาติเป็นนักการเมืองหรือไม่? (เพราะนามสกุล จุรีมาศ) ได้รับคำตอบว่า มี   

ตอนเย็นของวันจันทร์ ฟังธรรมที่ห้างแฟรี่แลนด์ โดย ยุวพุทธิกสมาคมฯ +ชมรมคนรักษ์ธรรมนครสวรรค์   ธรรมกถึก (ผู้สอนธรรมกล่าวซึ่งธรรม/ผู้มีวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งธรรม)  สอน การเจริญวิปัสนากรรมฐาน ในตอนท้ายได้ตั้งกระทู้ถาม (ลองภูมิท่าน) ว่า ในบทมาติกาที่สวดว่า

กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล  (ธรรมขาว)
อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล  (ธรรมดำ)
อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต คือไม่เป็นทั้ง กุศล และอกุศล (ธรรมไม่ขาวไม่ดำ)

อัพยากตธรรม (ธรรมเป็นอัพยากฤต/) คือไม่เป็นทั้ง กุศล และอกุศล (ธรรมไม่ขาวไม่ดำ) เป็นเช่นไร?



ก่อนจะอ่านคำตอบอยากให้ท่านผู้อ่านได้อ่าน "นิทานการจัดการเรื่อง ลาโง่กับไม้เรียว ซึ่งเป็นอมตะนิทานที่สอนเรื่องการจูงใจทีมงาน มานาน จนไม่แน่ใจว่ามีที่มาอย่างไร แต่ยังคงใช้ได้ในปัจจุบัน เมื่อเข้าสู่ยุค Performance management เรื่องก็มีเพียงคำถามสั้นๆที่ว่า ชาวนาคนหนึ่งต้องพาลาไปทำงาน ถามว่าจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ลาตัวนั้นเดินไปข้างหน้า? มีคำตอบในเรื่องนี้อยู่ 2 แนวทาง โดย แนวทางที่ 1 ใช้ไม้เรียวตี (Stick) เมื่อลาถูกตีย่อมเดินไปข้างหน้า แต่ถ้าหยุดตีเมื่อไรลาตัวนั้นก็หยุดต้องตีต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงที่หมาย (Goal) แนวทางที่ 2 ใช้ไม้ยาวๆ ผูกแครอท ล่อไว้ที่ด้านหน้าของลา เมื่อลาอยากได้แครอทก็จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ เช่นกัน เรื่องนี้มีนัย อย่างไรในการบริหารจัดการ เราคงเดาได้ว่า ไม้เรียว คือสิ่งที่ลาไม่ชอบ เปรียบเสมือนการลงโทษ คำตำหนิ คำขู่ ฯลฯ ต่างๆ เมื่อลา (พนักงาน) ถูกลงโทษ ก็จะทำงาน ไปเรื่อยๆ เมื่อไรที่ไม่มีการลงโทษก็จะหยุด ทางจิตวิทยาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เป็น การเสริมแรงทางลบ ( Negative raienforcement) ปัญหาคือลูกน้องจะทำงานก็ต่อเมื่อมีแรงกระตุ้นที่พอดี แต่ถ้ากระตุ้นมากไป (ตีแรงไป) อาจโดนลาเตะเอาได้! ถ้าเช่นนั้นการใช้แครอท ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่มี ข้อควรคำนึงไว้บางประการเกี่ยวกับลักษณะของการใช้แครอทดังนี้ 1. แครอทต้องมีขนาดที่พอดี บางคนบอกว่าจะใช้แครอทเพื่อล่อให้ลาเดิน แต่ใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสม มีขนาดเล็กจน ลาไม่สนใจ จะล่อเท่าไรก็ไม่ไปสักที เลยเอาไม้นั้นแหละ หวดลาเข้าจนได้ เปรียบเสมือนบางบริษัทที่ให้ incentive ที่ไม่จูงใจเอาเสียเลย เมื่อพนักงานทำงานจนบรรลุ KPI ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย หรือการผลิต แบ่งมาแล้วได้เดือนละ ร้อยกว่าบาท อุตส่าห์ทำแทบตาย บางครั้งเจ้านายยังบอกว่าเป็นหน้าที่เสียอีก แล้วจะมีลา (โง่) ที่ไหนจะทำงานให้ 2. แครอทที่มีกลิ่นตุ เป็นการให้ผลตอบแทนที่ไม่จูงใจ เปรียบเสมือนเอาแครอทเน่าๆ มาล่อ บางองค์กรก็หารางวัลที่พนักงานไม่สนใจ หรือ อยากได้เท่าไร บางทีจึงมีวิธีการให้รางวัลที่หลากหลายตามกลุ่มของพนักงาน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่นพนักงานในวัยรุ่น ชอบรางวัลที่หวือหวา พวกเครื่องประดับ งานสังสรรที่มีบรรยากาศสนุกสนานฯลฯ แต่ขณะที่พวกสำนักงานชอบการท่องเที่ยว การพักผ่อน เรื่องสุขภาพ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม เงินเป็นรางวัลสากล ที่ทุกคนยอมรับกันอยู่แล้ว 3. แครอทที่อยู่ไกล ใช้ไม้ยาวเกินไปจนลา (ที่สายตาสั้นอยู่แล้ว) ก็มองไม่เห็น บางองค์กรบอกว่าจงทำงานให้เต็มที่ สิ้นปีจะมีโบนัสรออยู่ วาดฝันไกลอย่างนี้ พนักงานจะมีแรงกระตุ้นได้อย่างไร ควรมีการให้รางวัลระยะสั้นบ้างเป็นขวัญกำลังใจ 4. แครอทที่แกว่งไปมาบนไม้ บางบริษัทตั้งเงื่อนไขรางวัลไว้แบบยากเกินไป เช่นต้องสะสมคะแนนหลายๆ KPI แล้วเอามาคูณกัน จนคนทำงานจำไม่ได้ว่า KPI ตัวไหนทำได้เท่าไหร่ เลยไม่สนใจก้มหน้าก้มตาทำไปเรื่อยๆ ดีกว่า อย่างนี้ก็เหมือนแครอทที่แกว่งไปมาจนลามองจนตาลาย จะให้กินหรือเปล่านี่ ไม่สนใจดีกว่า คุณคงคิดได้อีกว่ามีแครอทประเภทอื่นๆ ได้อีก เรื่องทำนองนี้คงอยู่คู่กับหัวหน้า และลูกน้องไปอีกนาน ไม่ว่าจะใช้ดัชนีชี้วัดการทำงาน ของลาอย่างไร อย่าลืมให้ Carrot ที่เหมาะสมกับลา (ลา..ลาล้าล่ะลา) ของเราด้วยหละ" (2)

หากการใช้ไม้เรียวตี (Stick) ลา (donkey) คือ การเสริมแรงทางลบ (Negative raienforcement) ฉะนั้น การ ใช้ไม้ยาวๆ ผูกแครอท (Carrot) ล่อไว้ที่ หน้าด้าน ด้านหน้า ของลา ก็คือ การเสริมแรงทางบวก  (Positive reinforcement) นั่นเอง แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า เพลงเด็กดอยใจดี ที่ร้องว่า "โพะ ออ แค เหราะ มา ฝะ (ผมเอาแครอทมาฝาก) หยะ ฮะ เธอ ด๊ะ กิ (อยากให้เธอได้กิน)" นั้นมีที่มาจาก นิทานเรื่อง "ลาโง่กับไม้เรียว" หรือไม่?

แต่ถ้าจะให้ กวิน วิเคราะห์เพลง เด็กดอยผู้ใจดี โดยนำเอาทฤษฎีแรงจูงใจ (Motivation Theory) มาเพื่อใช้วิเคราะห์ เด็กดอยผู้ใจดี ผู้นี้  กวิน ก็น่าจะพอ อนุมาน (estimate) ได้ว่า เด็กดอยผู้ใจดี ผู้นี้ กำลังเลือกใช้วิธีการ การเสริมแรงทางบวก  (Positive reinforcement) โดยใช้แครอท (Carrot)  เพื่อจูงใจ (Motivation) ลา (donkey) หรือ คน (Man) อย่างแน่นอน (มันลุ่มลึกตรงไหนเนี่ย?)

วกกลับมาสู่คำถามที่ว่า ในบทมาติกาที่สวดว่า

กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล  (ธรรมขาว)
อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล  (ธรรมดำ)
อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมเป็นอัพยากฤต คือไม่เป็นทั้ง กุศล และอกุศล (ธรรมไม่ขาวไม่ดำ)

อัพยากตธรรม (ธรรมเป็นอัพยากฤต/) คือไม่เป็นทั้ง กุศล และอกุศล (ธรรมไม่ขาวไม่ดำ) เป็นเช่นไร?


สำหรับคำตอบ ว่าด้วยเรื่อง อัพยากตธรรม นั้น คำตอบนี้กวินได้ สังเคราะห์มาจาก ธรรมกถึก (ผู้สอนธรรมกล่าวซึ่งธรรม/ผู้มีวาจาเป็นเครื่องกล่าวซึ่งธรรม) โดยขอเปรียบเทียบ อพยากตตธรรมนี้ กับ แครอท (Carrot)

ด้วยเพราะสภาพปกติ ของแครอท (Carrot) นั้นเป็น อัพยากตธรรม คือธรรมที่ไม่เป็นทั้ง กุศล และอกุศล (ธรรมไม่ขาวไม่ดำ)

แต่เมื่อแครอท(Carrot)
ถูกนำไปใช้ ใน การเสริมแรงทางบวก  (Positive reinforcement) แครอท (Carrot)  ก็จะกลายเป็น กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล  (ธรรมขาว)

หรือเมื่อแครอท(Carrot)
ถูกนำไปใช้ ใน การเสริมแรงทางลบ (Negative raienforcement) แครอท (Carrot)  ก็จะกลายเป็น อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล  (ธรรมดำ)

หรือเมื่อแครอท(Carrot) ถูกนำไปใช้ ใน การเสริมแรงทางบวก  (Positive reinforcement) เพื่อให้ ลา (donkey) หรือ คน (Man) เดินขึ้นดอยเพื่อไปทำบุญ แครอท (Carrot)  ย่อมถือเป็น กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล  (ธรรมขาว)

แต่ถ้าแครอท(Carrot) ถูกนำไปใช้ ใน การเสริมแรงทางบวก  (Positive reinforcement) เพื่อให้ ลา (donkey) หรือ คน (Man) เดินขึ้นดอยเพื่อ ไปทำบุญเพื่อเอาหน้า หรือเพื่อหวังผลเพื่อความสนุกสนานในการชมนกชมไม้ หรือเพื่อความมัวเมาในการดื่มสุรายาเมา (ก็บนดอยมันหนาว) หรือเพื่อความเพลิดเพลินในกาม (คือความรัก) เช่นนี้แล้วย่อมถือเป็น อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล  (ธรรมดำ)


ในหนังสือ อภิธรรมคืออะไร หน้าที่ 22 โดย ท่านพุทธทาส
ได้กล่าว ถึง การทำบุญไว้อย่างมีนัยยะสำคัญ ความว่า -"นี่สอนไปสอนมา เดี๋ยวสอนให้เป็นจิตดวงนี้ไปเกิดชาติโน้นๆๆๆ เป็นจิตดวงนี้จุติแล้วปฏิสนธิไปเกิด หอบเอามหากุศลไปด้วย อย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสัสสตทิฏฐิ แล้วในที่สุดไปหลงมหากุศล" (3)


อันว่า บุญนี้ ก็ถือเป็น อัพยากตธรรม คือธรรมที่ไม่เป็นทั้ง กุศล และอกุศล (ธรรมไม่ขาวไม่ดำ) แต่เมื่อได้ทำบุญแล้ว ก็จึงกลายเป็น กุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นกุศล  (ธรรมขาว) จะเห็นได้ว่าในอดีตบุญมักถูกใช้เป็น แรงจูงใจ (Motivation) มาก่อน แครอท (Carrot) 

พึงตระหนักว่า บุญ สามารถเป็น อกุสลา ธมฺมา ธรรมเป็นอกุศล  (ธรรมดำ) ก็ได้ด้วย
ฉะนั้นเวลาทำบุญ ก็อย่าทำให้เข้าทำนอง ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ เหลาลงไปเป็นบ้องกัญชา ซึ่งเป็นเรื่องโอละพ่อนั่นเอง เอวังฯ





อ้างอิง

(1) เพลงเด็กดอยใจดี. เวปไซต์ youtube. [cited 2008 October 28]. Available from: http://www.youtube.com/watch?v=Q7f8LWUokNk

(2) Wanna (นามแฝง). THE CARROT AND STICK. เวปไซต์นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. April 2007 [cited 2008 October 28]. (0 screens). Available from: http://www.mmmru.com/php80/modules.php?name=Tutorials&t_op=showtutorial&pid=27

(3) พุทธทาสภิกขุ. อภิธรรมคืออะไร. กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร, 2514

คำสำคัญ (Tags): #เด็กดอยใจดี
หมายเลขบันทึก: 219256เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะคุณกวิน

ชอบแครอทมากค่ะ ... โดนล่อด้วยแครอทให้ทำงาน อย่างไม่ค่อยรู้ตัว ... มาอ่านบันทึกนี้เลย ตระหนักว่า....

อ้าว...เราเป็น....ลา...หรือนี่ ?

(^__^)

ไม่ทราบเกี่ยวกันไหม  สองสาว ทานแครอท บ้าง แต่ที่ชอบคือ  ชอบเต้น เพลง แครอท เจ้า

ครูแอนก็เป็นลาที่เคยเตะชาวนามาแล้ว..อิอิ..เดี๋ยวนี้แครอทที่ล่อ นั้นมันแกว่งจนตาลาย เป้าหมายสับสน เนื่องด้วยนโยบายเจ้ากระทรวง เลยทำให้เจ้าลาสับสนและไม่ค่อยสนใสกันมาก.การศึกษาไทยเลยไม่ค่อยจะพัฒนาไปได้ไกล.ขนาดเจ้าของลาเองยังสับสนว่าจะใช้การเสริมแรงทางบวก หรือ ลบดี..แต่ขึ้นชื่อว่าลา ก็โง่ สมชื่อล่ะสิน่า...(เกี่ยวมั๊ยนี่)..งง มั๊ย

ขอบคุณครับคนไม่มีราก แล้วมาอ่านต่อนะครับ อีกนิดก็จะจบพิมพ์จบแล้วครับ

รออ่านมาตั้งแต่เช้าแล้ว...คุณกวิน...

(^__^)

ขอบคุณ ครูใหม่ บ้านน้ำจุน นะครับ เดี๋ยวนี้น้องมายด์ คนที่ร้องเพลง แครอท ออกอัลบั้มใหม่ อีกแล้วนะครับ เพลงที่กำลังฮิตก็เพลง น้ากาลาโต้ ครับ เข้าฟังได้ที่ลิงค์นี้นะครับ http://www.youtube.com/watch?v=WxRY3YqBXuM

แวะมาอ่านด้วยคน ลูกสาวก็ชอบแครอท แต่ตอนนี้เธอไม่ชอบแล้ว ตอนนี้ชอบกินผักคะน้าแต่ต้องหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และบางมาก ๆ 

ขอบคุณอาจารย์ เอกราช แก้วเขียว  ครับ กินผักร่างกายแข็งแรงนะครับ แต่ต้องเลือกผักปลอดสารเคมีนะครับ

เข้าใจแจ่มแจ้งเลยค่ะ - - นึกภาพออกเป็นเปราะๆ เลย ขอบคุณนะคะ ญ.ปุ้ยเอาแครอทมาเสริมแรงทางบวกค่ะ เพื่ออยู่รอดไปวันหนึ่ง (ก็หิว) แล้วมาสร้างเสียงหัวเราะให้ใครๆ (เค้าเห็นเป็นตัวตลกซะงั้น)อิอิ

+ หวัดดีจ๊ะ...กวิน... + บางที่พี่อ๋อยก็ใช้แครอทในหางธรรมและทางไม่ธรรม... + ก็แบบว่าบางที่ตัวเร่งปฏิกิริยา(เด็กน้อย)เร่งผิดจังหวะไปหน่อยแครอทที่เอามาล่อเลยกลายเป็นไม่ธรรม( มันเปลี่ยนเป็น วจีกรรม กายกรรม อธรรมไปในบัดดล...) + อิ อิ...แต่ใจจริงมุ่งมั่นว่าจะเอาแครอทเป็นธรรมนั่นแหละ... + ส่วนตัวเอง...แบบว่ารักในอาชีพ...ไม่จำเป็นต้องใช้แครอทล่อ...ยังไงก็ทำ...แบบว่าใจรัก มีความสุข... + หรือว่าที่ผ่านมา..แครอทที่ล่อมันแกว่งหรือเล็ก พี่อ๋อยเลยมองไม่เห็นว่าจำเป็น... + ออ..พี่อ๋อยคิดได้แล้ว...เด็ก ๆ ต่างหากที่เป้นแครอทสำหรับพี่.... + ใช่ ๆ อ่านบันทึกนี้ของกวินแล้วได้คิดหลายต่อ.... + ปกติก้มาอ่านเกือบทุกบันทึก...แต่แบบว่ามันยากต่อการแสดงความคิดเห็น... + แต่บันทึกนี้เข้าทางยังไงไม่รู้....ได้คิดและได้แสดงความคิดเห้น อิ อิ..

       

 ดีจังค่ะ...ชอบค่ะ ที่บอกว่า...
อย่าลืมให้ Carrot ที่เหมาะสมกับลา (ลา..ลาล้าล่ะลา) ของเราด้วยหละ" (2)

ขอบคุณครับน้อง  [SPI©Mië™]~natamaidee - - But narak..
เรื่อง อัพยากตาธรรม จริงๆ แล้ว มีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนกว่านี้ นี่พี่มา เขียนไว้นี่ก็ ยังไม่ถูกต้องนักนะครับ แต่ก็ประมาณนี้ล่ะ ถ้าน้องได้ศึกษา ลงลึกเข้าไปก็จะทราบรายละเอียดที่มีนั้น ช่างชวนให้ งุนงงสงกาและ น่าอัศจรรย์ใย่นัก นะครับ :)

ขอบคุณคัรบพี่อ๋อย ( แอมแปร์~natadee) สำหรับความคิดเห็นที่เป็น อัพยากตธรรม (ความคิดเห็นที่ไม่ขาวไม่ดำ)  และขอขอบคุณที่ติดตามอ่านเสมอๆ ครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท