บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

ระบำสุโขทัย


ศิลปโบราณวัตถุ โบราณสถานสมัยสุโขทัย ซึ่งมีพระพุทธรูปปูนปั้น และพระพุทธรูปหล่อสำริด โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งมีท่าย่างพระบาท และกรีดพระหัตถ์ด้วยลีลาแช่มช้อยงดงาม ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามอย่างยิ่ง

ระบำสุโขทัย

 

          ใกล้จะถึงวันลอยกระทงอีกเพียงแค่ 2 สัปดาห์ เลยถือเป็นโอกาสดีในการที่จะนำเสนอระบำโบราณคดี ที่เกี่ยวข้องกับตำนานการลอยกระทงของไทย ที่มีมาเมื่อครั้งสมัยสุโขทัย จึงขอนำเสนอ ระบำโบราณคดี ชุด ระบำสุโขทัย

มีนักปราชญ์ทางโบราณคดีได้กำหนดสมัยสุโขทัยให้อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 20 ศิลปวัตถุ ศิลาจารึก และเอกสาร เป็นหลักฐานให้เห็นความสุขสงบ และสนุกสนาน อาจารย์มนตรี ตราโมท จึงแต่งทำนองเพลงให้เกิดอารมณ์อย่างสมัยนั้น ศิลปโบราณวัตถุ โบราณสถานสมัยสุโขทัย ซึ่งมีพระพุทธรูปปูนปั้น และพระพุทธรูปหล่อสำริด โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งมีท่าย่างพระบาท และกรีดพระหัตถ์ด้วยลีลาแช่มช้อยงดงาม ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามอย่างยิ่ง ท่ารำ และการแต่งกายในระบำชุดนี้จึงสร้างตามความรู้สึกของแนวสำเนียงถ้อยคำไทยในศิลาจารึก ประกอบลีลารูปปูนปั้น และรูปหล่อสำริดในสมัยนั้น ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์

 

นาฎยศัพท์ที่ใช้ประกอบการรำ
๑.  จีบหังสัสยะหัสต์ โดยการนำนิ้วหัวแม่มือจรดข้อสุดท้ายของนิ้วชี้ หักข้อนิ้วชี้ลงมา นิ้วที่เหลือกรีดดึงออกไป
๒.  ท่าปางลีลา เป็นท่าออก โดยมือซ้ายจีบแบบหังสัสยะหัสต์ มือขวาแบส่งไปหลังหงายท้องแขนขึ้น เอียงศีรษะด้านซ้าย ก้าวเท้าขวามาข้างหน้า เท้าซ้ายเปิดส้นเท้า
๓.  ท่าดอกบัว คิดจากการเคารพบูชากราบไหว้ มือทำเป็นรูปดอกบัวอยู่ระหว่างอกเป็นดอกบัวตูม ชูมือขึ้นแล้วค่อยๆบานปลายนิ้วออกเป็นบัวบาน
๔.  ท่าพระนารายณ์ แทนองค์พระนารายณ์ พระอิศวร ท่าจีบแบบหังสัสยะหัสต์ ตั้งวงกลางข้างลำตัว กระดกเท้าซ้าย
๕.  ท่ายูงฟ้อนหาง คิดจากท่านาฏศิลป์ แบมือ แขนทั้งสองตึงส่งหลัง หงายท้องแขนขึ้น
๖.  ท่าบัวชูฝัก คิดจากการขอพร อีกมือหนึ่งไว้ข้างสะโพก มือจีบคว่ำแล้วสอดมือขึ้น เป็นท่าสอดสูงเหนือศีรษะ
๗.  ท่าชะนีร่ายไม้ คิดจากมนุษย์โลกต้องการดำรงชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนไป โดยหมุนเป็นวงกลมแทนการเวียน ว่าย ตาย เกิดมือข้างหนึ่งตั้งวงสูง มืออีกข้างหนึ่งหงายท้องแขน ลำแขนตึง แบมือและชี้ปลายนิ้วลง มองมือสูง

 



ความเห็น (7)

คิดถึงจังเลย ดีใจมากนะคะ ที่จะได้อ่าน ได้ดู สิ่งสวยงามอีกค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

  • สวัสดีครับคุณครูพี่อ้อยP
  • ขอบคุณครับที่ยังคิดถึงกันอยู่
  • คิดถึงทุกคนครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ครับผมขอบคุณครับที่เอาสิ่งดีๆมาลงนะครับ

ผมเห็นแต่ละที่รำระบำสุโขทัยที่รำจะพลิกเพี้ยนไปอย่างละเล็กละน้อย

เพราะที่กรมศิลป์ส่วนกลางก็รำแบบหนึ่ง ส่วนกลมศิลป์ของสุโขทัยก็อีกแบบ

อยากทราบว่าท่าที่หม่อมแผ้ว ท่านประดิษฐ์จริงๆเป็นแบบไหน

  • สวัสดีครับP
  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ
  • ท่ารำที่ว่าเพี้ยนนั้น เท่าที่ผมเองทราบมาเป็นเรื่องที่ต่างกันที่ลีลาท่ารำเท่านั้น ท่ายังเหมือนเดิมทุกประการ
  • อย่างเช่นจังหวะยืดยุบนาฏศิลปสุโขทัยจะยึดยุบอีกครั้งก่อนแล้วเปลี่ยนท่ารำ
  • ส่วนนาฏศิลปส่วนกลางก็จะเปลี่ยนท่าไปเลยไม่ยืดยุบอีกครั้ง
  • แต่ตัวผมเองก็ยึดตามแบบนาฏศิลปสุโขทัยนะครับ
  • เพราะจะดูอ่อนช้อยและมีเสน่ห์มากกว่าครับ
  • เพราะอีกอย่าง ทำนองของดนตรีก็เอื้อแก่การยืดยุบหากสังเกตจะเห็นอย่างที่ผมเห็น
  • และผมคิดว่าเสน่ห์ของระบำสุโขทัยก็อยู่ที่ลีลาการยืดยุบนี้แหละครับ
  • ขอบคุณมากครับ

หวัดดีค่ะดีใจค่ะที่มีของดีๆแบบนี้ลงในเว็บ

หนูเป็นคนสุโขทัยค่ะเคยรำระบำสุโขทัยมา 4 ปีแล้วค่ะ

เคยได้ไปรำทีงานลอยกระทงที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมาแล้วค่ะ

แต่ละอำเภอแต่งตัวไมเหมือนกันซักที่

หนูรู้ว่าจริงแล้วแต่งแบบไหนกันแน่ค่ะ

อยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับ การอธิบายท่ารำระบำโบราณคดี ชุด สุโขทัยหน่อยค่ะ

แบบละเอียดนะคะ จะไดไหมคะ

จะทำรายงานส่งอาจารย์นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท