ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทยและ ชื่อต่าง ๆ และ อีกมากมาย 8


รู้ไว้ใช่ว่า

ที่มาของคำว่า "โสเภณี"

คำว่า "โสเภณี" ที่ปัจจุบันแตกลูกแตกหน่อออกเป็นหลายคำ
เช่นโสเภณีชาย โสเภณีเด็ก เดิมมาจากคำเต็มๆว่า "นครโสเภณี"
แปลว่า "หญิงงามแห่งนคร" ค่ะ
คนรุ่นคุณปู่คุณตาเรียกเป็นไทยๆว่า "หญิงงามเมือง"

คำว่า "นครโสเภณี" มาจากอินเดีย ในสมัยโบราณบางแคว้นของชมพูทวีป
มีหญิงเหล่านี้เอาไว้เชิดหน้าชูตา เป็นแรงดึงดูดการท่องเที่ยว
และนำเงินตราเข้าบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี
อย่างในเรื่อง กามนิต ก็ได้กล่าวถึงเอาไว้ว่า นางนครโสเภณีเหล่านี้คือ
"มงกุฎดอกไม้หลากสีของกรุงอุชเชนี"

"บรรดาสิ่งที่ขึ้นชื่อลือชาในกรุงอุชเชนี ไม่มีอะไรจะวิเศษไปกว่าหมู่นางคณิกา
มีตั้งแต่เป็นนางงามชั้นสูงอยู่ในปราสาท...
ในห้องรับแขกจะมีจินตกวี นักละคร แขกเมืองคนสำคัญ บางทีก็มีเจ้านายไปเยี่ยมเยียน
นางเหล่านี้ตลอดจนชั้นเลวลงมาล้วนสวยงามทรวดทรง
มีกิริยาอ่อนช้อยยียวนใจหาที่เปรียบมิได้

ถึงคราวมีงานสมโภชครั้งใหญ่ ในคราวแห่แหนหรือมีการประกวด
นางคณิกาเหล่านี้ จะเป็นอาภรณ์สำคัญประสมอยู่ในวิถีมรรคา...
ล้วนพัสตราภรณ์สีแดง ถือพวงมาลารำเพยกลิ่นหอมตลบอบอวล
แพรวพราวด้วยมณีรัตน์เครื่องประดับ...

นางเหล่านี้พระราชาก็ประทานเกียรติยศ ประชาชนก็บูชา
จินตกวีก็กล่าวขวัญเป็นบทเพลงเยินยอ
ซึ่งเป็นการสมควรแล้วที่จะขนานนามว่า"มงกุฎดอกไม้หลากสีของกรุงอุชเชนีที่สถิตเหนือฐานศิลา"

กระทำให้แคว้นใกล้เมืองเคียงต่างๆอิจฉากรุงอุชเชนีเป ็นกำลัง
นางงามเหล่านี้บางคนที่เลือกสรรแล้วเคยรับเชิญเป็นแข กเมืองไปเยี่ยมแดนต่างๆก็บ่อยๆ"

ส่วนทางแผ่นดินแหลมทอง โสเภณีเป็นวัฒนธรรมมาจากอินเดียหรือว่าเกิดขึ้นเอง
ตามธรรมดาของชุมชนก็ไม่ทราบ คิดว่าน่าจะเกิดขึ้นเองได้โดยไม่ต้องไปอาศัยอิทธิพลจ ากใคร
เดิมเราไม่ได้เห็นอาชีพนี้เชิดหน้าชูตาแบบกรุงอุชเชน ี กลับเป็นเรื่องน่ารังเกียจด้วยซ้ำ

เทพชู ทับทอง เขียนไว้ในหนังสือ กรุงเทพฯในอดีต ว่ากฎหมาย "ลักษณะผัวเมีย"
ซึ่งบัญญัติขึ้นในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ อู่ทอง ลงโทษเอาไว้ หนัก
หากนำหญิงเหล่านี้มาเป็นภรรยา แล้วหล่อนเกิดทำชั่วคบชู้ขึ้นมา

มาตราหนึ่ง ชายใดสู่ขอเอาหญิงคนขับ คนรำ เที่ยวขอทานเลี้ยงชีวิต
แลหญิงนครโสเภณีมาเลี้ยงทำเมีย ทำชั่วเหนือผัวก็ดี
ผัวรู้ด้วยประการใดๆท่านให้ผจานหญิงชายนั้นด้วยไถนา
อันหญิงร้ายให้เอาเฉลวปะหน้า ทัดดอกฉะบาทั้งสองหู
ร้อยดอกฉะบาแดงเป็นมาลัยใส่ศีศะใส่คอ
แล้วให้เอาหญิงนั้นเข้าเทียมแอกข้างหนึ่ง ชายชู้เข้าเทียมแอกข้างหนึ่ง
ผจานด้วยไถนาสามวัน

ในกฎหมายนี้ยังบอกด้วยว่าถ้าผัวยังรักเมียอยู่
จับได้ว่าคบชู้แล้วยังรักเมียไม่อยากให้ประจาน
บ้านเมืองจะลงโทษให้เทียมแอกไถนาเสียอีกคน
ฟังแล้วหนุ่มๆหลายคนก็คงสยอง ดีไม่ดีตัวเองมีสิทธิ์กลายเป็นเครื่องมือไถนาด้วยได้ ง่ายๆ

ไม่ว่าจะรังเกียจอย่างไรก็ตาม อาชีพเก่าแก่นี้ก็ยังมีเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร ์
แหล่งประจำอยู่ที่สำเพ็ง
ใน นิราศเมืองแกลง เมื่อสุนทรภู่ออกเดินทางไประยองในตอนยามสอง
นั่งเรือล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ได้ยินเสียงหญิงเหล่านี้ขับร้องเพลงลอยลมมา


ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ..................แพประ จำจอดเรียงเคียงขนาน
มีซุ้มซอกตรอกนางเจ้าประจาน........ยังสำราญร้องขับไ ม่หลับลง

ลูกค้าของเธอ คงเป็นพวกชาวจีน เพราะสำเพ็งเป็นแหล่งคนจีน มาตั้งแต่สร้างกรุง
เป็นอาชีพที่ทางการบ้านเมืองไม่ได้ห้ามปราม แต่ก็ไม่ได้ปล่อยเอาไว้เฉยๆ
ในเมื่อมีรายได้ ทางการก็เก็บภาษีอากรเข้ารัฐ ด้วยการเก็บภาษีสำนัก
เป็นภาษีโรงเรือน เหมือนการเช่าอาคารร้านรวงทั่วไป

มาถึงรัชกาลที่ ๕ และ ๖ โสเภณีมีชื่อใหม่ว่า "หญิงโคมเขียว"
เพราะสำนักของเธอ แขวนโคมกระจกสีเขียวไว้เป็นเครื่องหมาย
พอค่ำก็เปิดไฟหรือจุดตะเกียงในโคมให้ลูกค้ารู้กัน
แหล่งที่ขึ้นชื่อมากเรียกว่า "ตรอกเต๊า" มีสำนักตั้งกันเรียงรายตลอดตรอก
สำนักโสเภณี มีแม่เล้าหรือมาม่าซังเหมือนเดี๋ยวนี้
สมัยนั้นบรรดาลูกสาวเรียกว่า "คุณแม่" แต่ชาวบ้านเรียก "ยาย"

คนที่ดังที่สุดมีชื่อเสียงติดอยู่ในประวัติโสเภณีไทย ก็คือคุณแม่แฟง
เพราะทำมาค้าขึ้น จนมีเงินมากมายพอสร้างวัดขึ้นมาได้ ที่ตรอกวัดโคก
ชื่อ"วัดคณิกาผล" ชื่อก็บอกว่าเป็นผลมาจากโสเภณีนั่นเอง
แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดใหม่ยายแฟง"

มาม่าซังแฟง มีลูกสาวสืบทอดธุรกิจชื่อกลีบ บริหารงานได้เก่งไม่แพ้แม่
ขึ้นชื่อว่าเป็นสำนักเกรดเอ ตกแต่งห้องอย่างดี มีเครื่องใช้ประจำอย่างเครื่องแป้ง
ขันน้ำ กระโถน เป็นพวกเครื่องถมมีราคา ราวกับบ้านคหบดี
ที่นอนหมอนมุ้งขาวสะอาดสะอ้าน เป็นที่นิยมของลูกค้าระดับสูงกระเป๋าหนัก
จนคุณแม่กลีบร่ำรวยสามารถสร้างวัดได้เหมือนกันชื่อ "วัดกันมาตุยาราม"
บุตรของคุณแม่กลีบไม่ได้เจริญรอยตามแม่ แต่ได้เข้ารับราชการเป็นขุนนางจนได้เป็นถึงคุณพระ

โสเภณีสมัยนั้นรูปร่างหน้าตาเป็นยังไงหรือคะ? ก็เป็นสาวๆนี่ละค่ะอายุสิบห้าสิบหกขึ้นไป
ทำตัวฉูดฉาดสะดุดตาชาย ผัดหน้าขาว กินหมากปากแดง ใส่น้ำอบไทยหอมฟุ้ง
แต่งตัวก็นุ่งผ้าลายหรือโจงกระเบน ห่มผ้าแถบหรือสไบเฉียง
บางคนใส่เสื้อคอ คือเป็นเสื้อมีสายโยงบ่าคล้ายๆเสื้อสายเดี่ยว
ตกค่ำพวกนี้ก็จะมานั่งโชว์ตัว อยู่หน้าห้องริมตรอกอย่างเปิดเผย คอยต้อนรับลูกค้า
ส่วนกลางวันพวกเธอนอนพักไม่ออกมาทำงาน

ส่วนผลกระทบต่อสังคม มีไหม?
เรื่องกระทบกระเทือนชื่อเสียงของประเทศชาติ-ไม่มีค่ะ
เรื่องจะต้องรณรงค์เปลี่ยนค่านิยมก็ไม่มีอีกเหมือนกั น
เรื่องปราบปรามจับกุมก็ไม่มี แต่ทางด้านสาธารณสุข-มีแน่นอน

ในยุคที่เอดส์ยังไม่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์
มีประวัติสถิติของกรมสุขาภิบาลกระทรวงมหาดไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๖
ระบุว่าพวกผู้ชาย(วัยหนุ่ม?) ในพระนครที่ป่วยเป็นกามโรค
มีจำนวนถึงร้อยละเจ็ดสิบห้าทีเดียว

ี่มาของสปา

ที่มาของสปา สปาเป็นเมืองเล็กๆ ในประเทศเบลเยี่ยมเป็นแหล่งธรรมชาติ มีบ่อน้ำร้อน บ่อนกาสิโน ผู้คนนิยมไปพักผ่อนแล้วพากันไปแช่น้ำร้อน เล่นกาสิโน แต่คนที่ไปต้องเป็นคนระดับนายทหารชั้นสูง (Special Class)เท่านั้น SPA มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินจากคำว่า SANUS PER ACQUA มีความหมายว่าการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการใช้น้ำบำบัด เช่นการอาบน้ำแร่ แช่น้ำร้อน การอบตัวและอบผิวด้วยไอความร้อนจากน้ำ การดื่มน้ำแร่ การนวดด้วยกระแสน้ำ
กระทั่งในสมัยศตวรรษที่ 18-19 สปากลายเป็นกิจกรรมยอดนิยมในยุโรปมีกระแสการบำบัดด้วยวิธีการนี้ เกิดขึ้นในประเทศที่มีแหล่งน้ำแร่ แหล่งน้ำพุร้อน และเริ่มแพร่หลายเข้ามาในเมืองที่มีทัศนยภาพที่สวยงาน อากาศที่บริสุทธิ์ เหมาะแ่ก่การพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูสุขภาพเน็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้ป่วยหรือผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอี

จนปลายศตวรรษที่ 20 รูปแบบของสปาได้มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แนวคิดในเรื่องการดูแลสุขภาพขององค์รวมที่ให้ความสนใจกับความสมดุลชของร่างกายและจิตใจ จากวิถีธรรมชาติ

 

 

ที่มาของพวงหรีด
การวางพวงหรีดนั้นมาจากประเพณีของชาติตะวันตก รายละเอียดระบุไว้ว่า

"ประเพณีการวาง พวงหรีดได้แบบอย่างมาจากตะวันตก แต่ก่อนจึงมีคนรังเกียจและใช้พวงมาลัย ต้นเหตุที่เกิดเป็นประเพณีวางพวงหรีดที่ศพ กล่าวว่า พวงมาลาเป็นของสูงสำหรับรัดเศียรเทวดา ภายหลังเลื่อนมาเป็นพวงหรีดและมงกุฎของตวันตก เห็นจะเป็นเพราะพวงหรีดไม่อ่อนปวกเปียกเหมือนพวงมาลา ใช้สวมได้สะดวกกว่า

ชาวกรีกและชาวโรมันมีธรรมเนียมอยู่ว่า ถ้าผู้ใดไปรบทัพจับศึกมา ประชาชนก็สวมพวงหรีดให้เป็นเกียรติยศ ใช้ตลอดมาถึงปัจจุบัน เมื่อจะให้รางวัลผู้ที่แข่งขันอะไรมีชัยชนะ ก็สวมพวงหรีดให้เป็นเกียรติยศด้วย

พระเยซูเอง เมื่อถูกตรึงไม้กางเขนก็สวมมงกุฎหนาม มงกุฎกับพวงหรีดตามรูปที่เขียนก็ดูคล้ายคลึงกัน ส่วนผู้ที่ตายก็สวมมงกุฎให้ ถือว่าให้เกียรติยศแก่ผู้ตายครั้งสุดท้าย เพราะฉะนั้นชาวฮินดูจึงสวมพวงมาลัยให้แก่ผู้ตาย

กรีกและโรมัน นอกจากสวมมงกุฎหรือพวงหรีดให้ศพ ยังนำไปไว้บนหลุมศพอีกด้วย ขณะที่ชาวอียิปต์ครั้งโบราณ ก็มีธรรมเนียมวางพวงมาลัยด้วยดอกไม้บนเศียรศพ พิธีของพราหมณ์ก็มีดอกไม้และพวงหรีดประดับศพแลเอาบูชาพราหมณ์ด้วย

แต่ประเพณีตะวันตกวางพวงหรีดที่ศพในปัจจุบันไม่ได้ถือเป็นการบูชาให้เกียรติยศแก่ศพ แต่ถือว่าเป็นเครื่องหมายแสดงความเศร้าโศกเท่านั้น

เขาเล่าต้นเหตุไว้ว่า พวกคริสเตียนในสมัยแรกเอาริบบิ้นเป็นที่ระลึกอุทิศให้แก่ผู้ตาย ประเพณีนี้ชาวชนบทตะวันตกยังคงทำกันอยู่หลายแห่ง พวงหรีดที่อุทิศเอาแขวนไว้ในโบสถ์ จนเก่าคร่ำคร่าแล้วก็เอาออก เอาใหม่แขวนแทนที่พวงหรีดแห้งนี้ต่อมากลายเป็นพวงหรีดสด ที่ญาติมิตรของผู้ตายนำไปวางไว้บนหลุมศพ

ที่มาจาก ประเพณีไทยโดย เสถียรโกเศฐ

 

ที่มาของลินิกซ์
1 February, 2006 - 15:24 in Open Source Book Linux
ช่วงนี้เพิ่งมีหนังสือเกี่ยวกับลินิกซ์เล่มหนึ่งออกวางตลาดครับ มันไม่ใช่หนังสือแนะนำการติดตั้ง หรือการใช้งานลินิกซ์ แต่ว่าเป็นชีวประวัติของไลนุส (หรือ ไลนัส, ลินัส แล้วแต่จะเรียก แต่ขอเรียกตามในหนังสือว่า ไลนุส นะครับ) ทอร์วอลด์ ผู้ให้กำเนิดลินิกซ์นั่นเอง ว่าเค้าทำอย่างไร ลินิกซ์ถึงกำเนิดขึ้นมาได้ และนี่เป็นหนังสือที่จะมาแนะนำกันวันนี้ครับ
หน้าปกของ เอามัน ฉบับภาษาไทย
"เอามัน" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Just For Fun เขียนโดยเดวิด ไดมอนด์ และตัวไลนุสเอง แปลภาษาไทยโดยคุณ eS_U พิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน ราคา 215 บาท เนื้อเรื่องในเล่มก็จะเริ่มตั้งแต่ไลนุสยังเล็ก จนกระทั่งย้ายมาทำงานที่บริษัททรานส์เมต้า ในอเมริกาเลยครับ

ประวัติคร่าวๆ ของไลนุส และลินิกซ์ ก็เริ่มตั้งแต่ นายไลนุสเราเป็นชาวฟินแลนด์เชื้อสายสวีเดน ที่อาศัยอยู่ในเฮลซิงกิ สมัยเด็กๆ เค้าก็เป็นเด็กแบบที่เมืองนอกเค้ามีศัพท์แสลงเรียกว่า "Geek" หรือว่า "Nerd" ถ้าเป็นบ้านเราก็เรียกกันว่า "เด็กเรียน" รึไม่ก็ "เซียนคอมพ์" นั่นล่ะครับ ใส่แว่น ไม่ออกกำลังกาย วันๆ ก็อยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์


เมื่อศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัย เค้าไปเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลินิกซ์ก็เกิดขึ้นมาช่วงนี้ เนื่องจากว่าเค้าใช้งาน มินิกซ์ (Minix) ซึ่งเป็นยูนิกซ์แบบง่ายๆ ประกอบการสอนวิชาระบบปฏิบัติการ แล้วไม่ถูกใจนัก ก็เลยพยายามแกะ แงะ เจ้ามินิกซ์ แล้วเขียนบางส่วนใหม่ขึ้นมา จนกลายเป็นระบบปฏิบัติการอีกตัวนึงที่ชื่อลินิกซ์นั่นเอง


เรื่องราวยังไม่จบแค่นั้น ถ้าไลนุสสร้างลินิกซ์ขึ้นมาได้ แล้วนำไปขายเหมือนกับที่เราเคยเห็นเศรษฐีในธุรกิจคอมพิวเตอร์หลายๆ คน เช่น บิลล์ เกตส์ หรือ สตีฟ จ็อบส์ เคยทำมาแล้ว ลินิกซ์ก็คงไม่มีความหมายอะไรมาก แต่ว่า สาเหตุที่ไลนุสสร้างลินิกซ์ขึ้นมานั้น เกิดจากความมัน หรือความอยากรู้ อยากเห็น อยากลอง ล้วนๆ เค้าต้องการอวดผลงานของตนให้ชาวโลกได้รับรู้ เลยตัดสินใจเผยแพร่ลินิกซ์ในรูปแบบของโอเพนซอร์สในที่สุด ซึ่งช่วงแรกก็เป็นแค่การเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตให้ผู้ใช้ได้ดาวน์โหลดไปลองใช้ดูธรรมดา แต่เมื่อผู้ใช้หลายๆ คนก็เป็นระดับเซียนคอมพ์เหมือนกัน ลินิกซ์จึงถูกมือดีทั่วโลกช่วยกันพัฒนามันขึ้นมาจนปัจจุบัน


ประวัติของลินิกซ์คร่าวๆ ก็จบแค่นี้ครับ แต่ในหนังสือ "เอามัน" เล่มนี้ กล่าวเกี่ยวกับลินิกซ์ไม่มากอย่างที่คิด ประเด็นสำคัญของหนังสืออยู่ที่ความคิดและการวางตัวของไลนุส มากกว่า ว่าทำอย่างไร เขาถึงประสานงานโปรแกรมเมอร์หลายพันจากทั่วโลก เขียนโค้ดของระบบปฏิบัติการซับซ้อนขนาดหลายสิบล้านบรรทัดได้

ผมอ่านแล้วพบว่า ตัวไลนัสเป็นคนที่เรียบง่ายอย่างมาก ในหัวของเขามีแต่เรื่องของเทคโนโลยีล้วนๆ เขาสนใจแต่การแก้ปัญหาในทางของคอมพิวเตอร์เท่านั้น ว่า ทำจะแก้บั้กส่วนนี้ได้อย่างไร โดยที่ไม่สนใจว่า จะทำเงินจากลินิกซ์ได้อย่างไร แม้แต่น้อย (เรียกได้ว่า "เอามัน" หรือ Just For Fun ตามชื่อหนังสือจริงๆ) เขาไม่มีความรู้เรื่องหุ้น และหัวเสียเมื่อมีปัญหาในเรื่องลิขสิทธิ์ของคำว่า ลินิกซ์ เขาไม่สนใจการเอาชนะ บิลล์ เกตส์


ถึงแม้ว่าสื่อมวลชน และพวกเราหลายๆ คนคาดหวังว่า เขาจะกลายมาเป็นผู้นำในการโค่นไมโครซอพท์ลงไป ที่สำคัญคือ เขา "ถ่อมตน" เป็นอย่างมาก คำตอบต่อคำถามจากสื่อมวลชนหลายๆ คำถาม มักจะมาแนวๆ "เป็นเพราะว่าผมขี้เกียจ" หรือว่า "ขอให้ทุกคนสบายใจก็พอ" โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่า คุณสมบัติเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ไลนุส ชนะใจ และสามารถนำทีมการพัฒนาลินิกซ์มาได้จนถึงทุกวันนี้ครับ

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ นอกจากประวัติของไลนุส และลินิกซ์แล้ว ก็คือ เป็นการเตือนตัวเองให้ลดความหยิ่ง ความมั่นใจในตัวเองลง เนื่องจากผู้ประสบความสำเร็จในธุรกิจคอมพิวเตอร์นี้ ส่วนมากจะยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว และเติบโตหรือว่าโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทำให้มั่นใจในตัวเองเต็มที่ ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น (เรียกว่า อีโก้สูง ก็ว่าได้) แต่เมื่อได้อ่านความคิดของไลนุส ผู้ซึ่งโด่งดังระดับโลก และประสบความสำเร็จมากกว่าใครหลายเท่า กลับปฏิบัติตัวเรียบง่าย ธรรมดา ไม่หยิ่ง และเบื่อที่ต้องมานั่งตอบคำถามนักข่าว หรือแจกลายเซ็น ก็จะเป็นการเตือนตัวเองให้ลดอีโก้ลงไปได้ครับ


นอกจากนี้ ถ้าใครสนใจประวัติและแนวคิดคร่าวๆ ของการพัฒนาแบบโอเพ่นซอร์ส และทำไมไลนุสถึงดำเนินงานโอเพ่นซอร์สได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ก็แนะนำให้อ่าน "เอามัน" ครับ

 

 

ที่มาของคำว่า " ประพาสต้น "



"...พระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยโปรดฯในการเสด็จประพาส ตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมา เสด็จประพาสแทบทุกปี เสด็จไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ในพระราชอาณาเขตบ้าง เสด็จไปถึงต่างประเทศบ้าง ได้เคยเสด็จตามมณฑลหัวเมืองในพระราชอาณาเขตทั่วทุกมณฑล เว้นแต่มณฑลภาคพายัพ มณฑลเพชรบูรณ์ มณฑลอุดร และมณฑลอีสานเท่านั้น ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ทางคมนาคมถึงมณฑลเหล่านั้นจะไปมายังกันดารนัก เปลืองเวลาและลำบากแก่ผู้อื่น จึงรออยู่มิได้เสด็จจนตลอดรัชกาล

ในการเสด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในพระราชอาณาเขตนั้น บางคราวเสด็จไปเพื่อทรงตรวจจัดการปกครอง จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการ บางคราวไปเพื่อสำราญพระราชอิริยบถ ไม่โปรดฯให้จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการ ที่เรียกว่า "เสด็จประพาสต้น" อยู่ในการเสด็จเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ แต่โปรดฯให้จัดการที่เสด็จไปให้ง่ายยิ่งกว่าเสด็จไปประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยบถอย่างสามัญ คือไม่ให้มีท้องตรา สั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ สุดแต่พอพระราชหฤทัยที่จะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั้น บางทีก็ทรงเลือก หรือเสด็จโดยสารรถไฟไปมิให้ใครรู้จักพระองค์ การเสด็จประพาสต้นเริ่มมีครั้งแรก เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๓(พ.ศ. ๒๔๔๗) รายการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ นายทรงอานุภาพได้เขียนจดหมายเล่าเรื่องประพาสต้นไว้โดยพิสดาร ดังที่พิมพ์ไว้ในตอนต้นสมุดเล่มนี้

เหตุที่จะเรียกว่า ประพาสต้น นั้นเกิดเมื่อเสด็จในคราวนี้ เวลาจะประพาสมิให้มีใครรู้ว่าเสด็จไป ทรงเรือมาดเก๋ง ๔ แจวลำหนึ่ง เรือนั้นลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัว จึงทรงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจวที่แม่น้ำอ้อมแขวงจังหวัดราชบุรีลำหนึ่ง โปรดฯให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น เจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่อ อ้น จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า "เรือตาอ้น" เรียกเร็วๆเสียงเป็น "เรือต้น" เหมือนในบทเห่ซึ่งว่า "พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย" ฟังดูก็เพราะดี

แต่เรือมากประทุนลำนั้นใช้อยู่หน่อยหนึ่งเปลี่ยนเป็นเรือมากเก๋ง ๔ แจวอีกลำหนึ่ง จึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้นมาใช้เรียกเรือมาดเก๋ง ลำที่เป็นเรือพระที่นั่งทรง อาศัยเหตุนี้ ถ้าเสด็จประพาสโดยกระบวนเรือพระที่นั่งมาดเก๋ง ๔ แจว โดยพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่าเสด็จ จึงเรียกการเสด็จประพาสเช่นนั้นว่า "ประพาสต้น"

คำว่า "ต้น " ยังมีที่ใช้อนุโลกต่อมาจนถึงเครื่องแต่งพระองค์ ในเวลาทรงเครื่องอย่างคนสามัญเสด็จประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกผิดกับคนสามัญดำรัสเรียกว่า "ทรงเครื่องต้น" ต่อมาโปรดฯให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทย เช่นพลเรือนอยู่กันเป็นสามัญขึ้นที่ในพระราชวังดุสิต ก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า "เรือนต้น".....

(คัดจาก "ชีวิตและงานของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ")

 

ตำนานและที่มาของอักขระยันต์

ในครั้งพุทธกาลพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจาก การสังคายนาพุทธศาสนาครั้งที่ ๓ (ตติยสังคายนา) แล้ว พระ พุทธศาสนาในอินเดียเริ่มร่วงโรยลง และต่อมาได้ย้ายไปประดิษฐานในลังกา ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ในอินเดียสมัยนั้น ได้ผสมผสาน กันมา จนเกิดมีลัทธิ พุทธตันตระ (ลัทธิพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับการใช้คาถาอาคม)เกิดขึ้น อีกลัทธิหนึ่ง

ศาสนาพราหมณ์ในขณะนั้น มีความมั่นคงเลื่อมใส ในลัทธิไสยศาสตร์มาก มีการใช้เวทมนตร์คาถาเป่าพ่นปลุกเสกและลงเลขยันต์ ประกอบ อาถรรพณ์ต่างๆแม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ใช่ว่าจะปฏิเสธเสียทีเดียว เพราะ พระพุทธศาสนาเองก็ยังมีคุณอัศจรรย์ ที่จัดเป็น ปาฏิหาริย์ไว้ ๒ อย่าง คือ

๑. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนที่เป็นอัศจรรย์

๒. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ที่เป็นอัศจรรย์ถึงกับ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่อง พระโมคคัลลานะ เถระไว้เป็น ยอดของพระภิกษุที่ทรงอิทธิฤทธิ์ หากแต่ พระองค์ไม่ทรงยกย่อง อิทธิปาฏิหาริย์เท่ากับ อนุสาสนีปาฏิหาริย์

การใช้เวทมนตร์คาถานั้น ผลสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดบาทฐาน แห่ง วิปัสสนาญาณถึงแม้หาก ว่าปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูงไม่เกินฌานสมาบัติก็ตามกระนั้นก็สามารถที่จะแสดง อิทธิฤทธิ์ ได้ตามภูมิของตน เช่น พระเทวทัตต์หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอก็ยังสามารถบิดเบือน แปลงกายกระทำอวด ให้อชาตศัตรูกุมารหลงใหลเลื่อมใสได้

ส่วนอารมณ์ของรูปฌานนั้น ท่านใช้กสิณบ้างใช้คาถาบริกรรมบ้าง สุดแต่นิสัยของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ โดยเฉพาะ ที่ใช้คาถาบริกรรมนั้น ผู้บริกรรม จะรู้ถึงเนื้อความของคาถาที่บริกรรมนั้น หรือไม่ก็ตามนั่นมิใช่สิ่ง ที่เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะความมุ่งหมายต้องการแต่จะให้สมาธิเท่านั้น


เพื่อผลในทางอิทธิปาฏิหาริย์ที่ตนมุ่งหวังปรารถนา และการทำ สมาธิแบบนี้ ได้เจริญ แพร่หลาย มากขึ้น ได้เกิดมีคณาจารย์มุ่งสั่งสอนเวทมนตร์กัน และได้ดัดแปลงแก้ไขวิธีการทางไสยศาสตร์ ของพราหมณ์มาใช้ โดยคัดตัดตอนเอาเนื้อมนต์ของพราหมณ์นั้นออกเสีย บรรจุพระพุทธมนต์ แทรกเข้าไปแทน เพราะมาคิดเห็นกันว่ามนต์พราหมณ์ยังเรืองอานุภาพถึงอย่างนี้ ถ้าหากว่า เป็นพุทธมนต์ คงจะยิ่งกว่าเป็นแน่
ฉะนั้นในการใช้เวทมนตร์คาถาที่พวกเราพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันทุกวันนี้ จึงล้วนแล้วแต่เป็นพระพุทธมนต์ที่ท่าน โบราณาจารย์ดัดแปลง แก้ไขเลียนแบบอย่างวิธีทางลัทธิไสยศาสตร์เดิมมาเท่านั้นหาใช่เป็นลัทธิไสยศาสตร์ ของพราหมณ์ดังที่บางท่านเข้าใจกันไม่

การรวบรวมคัมภีร์พระเวท อย่างจริงจังเกิดขึ้นในสมัย เจ้าพระคุณพระมงคลราชมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ แต่เมื่อครั้ง ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสัจจญาณมุนีอยู่นั้นพระคุณท่านเป็น ผู้สนใจในศาสตร์ ประเภทนี้อยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมขึ้นไว้จากสรรพตำราต่างๆ ส่วนมากเป็นของ สมเด็จ พระสังฆราช (แพ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ของท่าน อันได้รับสืบต่อมาจาก สมเด็จพระวันรัต (แดง) ท่านได้ตั้ง ปณิธานที่จะให้วิชาเหล่านี้ได้เผยแพร่ต่อไปเพราะเกรงว่าจะสาบสูญเสียหมด

ในการรวบรวมคัมภีร์พระเวทเหล่านี้ข้อความบางแห่งพอ ที่จะมี ต้นฉบับสอบทาน ก็ได้จัดการ สอบทานแก้ไข ให้ถูกต้อง ตามต้นฉบับเดิม ซึ่งได้คัดลอกสืบต่อกันมา แต่ก็ยังมีอักขระ เนื้อมนต์นั้นบางทีก็มีความ คลาดเคลื่อนไปบ้าง สำหรับบทที่หาต้นฉบับ สอบทานไม่ได้ ก็คงไว้ ตามรูปเดิม ซึ่งถ้าหากได้ผ่านสายตาท่าน ผู้รู้ทั้งหลายก็ได้โปรด กรุณา แก้ไขต่อเติมเสีย ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้เป็นตำราที่ถูกต้องบริบูรณ์ ดุจต้นฉบับ ของเดิมเพื่อเป็นการเทิดทูน วิทยาการอันประเสริฐ รวมทั้งได้ดำรงคงอยู่เป็นแนวศึกษาของชั้นหลังสืบต่อไป

ยันต์ ถือว่าเป็น วิชาที่มีมาคู่กับชาติไทยเราแต่ครั้งบรรพกาล เพี้ยน มาจากคำว่า ยัญญ์ เป็นภาษาบาลีแปลว่า สิ่งที่มนุษย์ พึงเซ่น สรวงบูชา ให้มีความสุข ความเจริญ แต่ภาษาไทยเราเปลี่ยนเขียนเป็น ยันต์ ซึ่งหมายถึง รอยเส้น ที่ขีดขวางไปมาสำหรับลง คาถา

เพื่อความชัดเจน ของอักขระ (อักษรที่ลง) ครูอาจารย์สมัยโบราณจึงคิดทำเป็นตารางบ้าง (รูปเคารพ ปูชนียวัตถุต่างๆ บ้าง) แล้วเขียนอักษรลงไปในตารางหรือ รูปภาพที่คิดขึ้น เช่น เสือ สิงห์ หนุมาน ฯลฯ) จึงได้บังเกิดรูปยันต์ต่างๆ ตามที่เรานิยมนับถือกันในปัจจุบันนี้

ยันต์จำเป็นอย่างยิ่งที่ใช้ในวิชาไสยศาสตร์ ไม่ว่าเป็นชาติใดภาษาใด ที่นับถือความศักดิ์สิทธิ์ ความขลังของ พระเวท คาถาอาคมหรือพุทธมนต์ในศาสนาพุทธก็ใช้ยันต์ เพื่อลงอักขระ

(อักษร)หรือตัวเลขด้วยกันทั้งนั้น นอกจากนี้แล้วการเขียนยันต์ยังปรากฏในตำราทุกชาติทุกภาษาอีกด้วย ถ้าเป็นยันต์พวกอาหรับที่แพร่หลาย หรือแม้แต่ยุโรปส่วนใหญ่ มักลงตัวเลขในยันต์ทั้งนั้น (ตัวเลขเป็นเกณฑ์กำลังของดวงดาวต่างๆ)

การลงยันต์เป็นตัวเลข (แท้จริงๆ ก็เป็นเครื่องย่อของอักขระอีกทีหนึ่ง เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่ จึงย่อรวมลงใช้เป็น ตัวเลขแทนเช่น จะเขียนคาถาว่า อะสังวิสุโลปุสะพุภะ (นวหรคุณ) ก็ให้เขียนเลข ๙ ลงไปแทนแล้วภาวนาเพื่อความ มั่นคงแห่งจิต ก็ให้ภาวนาว่า อะสังวิสุโลปุสะพุภะ นั่นเอง ๓ ๕ ๗๙

(อาจหลายครั้งก็ได้)

ตำรายันต์ของไทยเราที่เป็นตัวเลข เช่น ยันต์จัตุโร ยันต์โสฬสมงคลยันต์ตรีนิสิงเห ลงเป็นตัวเลขเช่นกัน ลงพิสดารกว้างขวางมากส่วนประเทศในเอเชียมักลงยันต์เป็นตัวอักษรเป็นส่วนมาก (จีน ลาว พม่า ไทย ทิเบต ฯลฯ)

โบราณาจารย์ท่านถือว่า เส้นยันต์นั้น เปรียบเสมือน สายรกของพระพุทธเจ้า แล้วแต่นิยม เช่น ยันต์กลม หมายถึง พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า หรือของพระพรหม

ยันต์สามเหลี่ยม หมายถึง พระรัตนตรัย (คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) หรือเทพเจ้าทั้งสาม ได้แก่ (พระพรหม อิศวร พระนารายณ์)

ยันต์สี่เหลี่ยม หมายถึง ธาตุทั้ง ๔ จตุราริยสัจจ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ (ทุสะนิมะ)

ยันต์บางชนิดทำเป็นรูปเทวดา (เทพ) มนุษย์ รูปหนุมาน รูปราชสีห์ เสือและรูปอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่คตินิยมของเกจิอาจารย์ มาตั้งแต่สมัยโบราณ

การเขียนยันต์มีข้อห้ามอย่างหนึ่ง คือห้ามมิให้ลงอักขระหรือเลข ชนกันหรือก้าวก่ายกันกับ เส้นยันต์เป็นอันขาดมิฉะนั้นยันต์จะเสีย ใช้ไม่ได้

ประเทศไทยเท่าที่พบอักขระ ที่ใช้ลงในยันต์นั้น เฉพาะ วิชา ไสยศาสตร์ ของไทยใช้อักษร (อักขระ) เป็น อักขระขอมเพราะถือ ว่าเป็นอักษรที่ศักดิ์สิทธิ์จะมีอักษรไทยลงในยันต์อยู่บ้าง ใช้กันแถว ภาคใต้ ลงด้วย อักขระพระเจ้า (นอโม ๒๙ตัว) ซึ่งถือว่าเป็น กำเนิดปฐม อักขระ เช่น อ นอ โม พุ ทอ ธา ยอ สิ ทอ ธม ออ อา อิอี อึ อื อุ อู ฤ ฤา ฦ ฦา เอ แอ ไอใอ โอ เอา อำ อะ ฯ….

ในภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน ส่วนมาก คงลงเป็น รูปอักขระขอม ขอมลาว (อักขระธรรม) บางยันต์ก็ใช้ตัวเลขแทน อักขระ ลงไปหลายๆ คำ ทั้งช่องยันต์ที่จะลงก็จำกัดที่ จึงใช้เป็นตัวเลขแทน เช่น จะเขียนหัวใจ นวหรคุณ (อะสังวิสุโลปุสะพุภะ ฯ………) ก็ใช้เขียนเลข ๙ แทนลงไป หรือหัวใจอื่นๆก็ลงตัวเลขแทน เช่นเดียวกับ พระ อภิธรรม ๗ คัมภีร์ (สังวิชาปุกะยะปะ ฯ…) เขียน ๗ แทนลงไป

 

ที่มาของคําว่า กระดังงาลนไฟ

เวลาสาวๆ กินขนมไทยย่อมได้กลื่นหอมหวลของเทืยนอบด้วยทุกครั้ง แต่ว่าขนมที่หวานหอมเหล่านี้ มันจะเป็นที่มาของกระดังงาลนไฟได้ยังไงล่ะนี่

กลื่นหอมของขนมไทยที่อบอวลอยุ่ทุกคราวคํา มาจากการใช้เทืยนอบที่อาจเสริมด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ ทิ้งไว้ในหม้อที่อุดมไปด้วยขนม โดยให้กลื่นเทืยนวนเวืยนอยุ่ในหม้อนั้นประมาณหนึ่งคืน แต่ว่าดอกไม้ที่ชาววังนิยมกันนั้นได้แก่ ดอกกุหลาบมอญสีชมพูและดอกกระดังงาขั้นตอนก็แสนง่ายโดยเด้ดดอกกลีบกุหลาบมอญไม่ให้ซําและโรยลงไปบนขนมก่อนที่จะอบเทืยน

ส่วนดอกกระดังงามีเทคนิดลําลึกกว่านั้น เพราะต้องลนดอกกระดังงาด้วยไฟที่จุดจากเทืยนอบ เพื่อให้กลีบดอกซําเสียก่อน จากนั้นต้องบีบกระเปาะดอกให้แตก แล้วค่อยวางลงบนขนมที่ต้องการจะอบ ปิดฝาให้มิดชิดค้างคืนไว้หนึ่งคืน ซึ้งถ้าไม่ใช่ดอกกระดังงาลนไฟกลื่นก็จะไม่หอมเท่ากระดังงาที่ลนไฟเรืยบร้อยแล้ว

เรื่องนี้สอนให้รุ้ว่า สาวแก่แม่หม่ายทั้งหลายแม้จะเคยผ่านมือชายมาแล้วเหมือนกับการลนไฟ ทําให้ล้วนมีเสน่ห์กลื่นหอมเย้ายวนติดกายทําให้ทั้งหนุ่มทั้งป๋าล้วนแต่อยากจะใกล้ชิด อย่างนี้ถึงเรืยกว่ากระดังงาลนไฟของจริง

ตอนนี้รุ้แล้วหรือยังสาวๆ สวัสดีครับ

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 218906เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2008 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท