ภาพกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต


เป็นการจัดการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลิตสื่อ นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ วิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นหลักฐาน แนวคิด ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงความถี่อัลลีล กฎของฮาร์ดีและไวน์เบิร์ก การเกิดสปีชีส์ ใหม่ จากนั้น นักเรียนทุกคนจะร่วมกันอภิปราย ตอบคำถาม รวมทั้งทำแบบฝึกหัด

วิชา ชึววิทยา

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1(ก.ย.51)

ร.ร.บ้านกร่างวิทยาคม เขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1

 

หมายเลขบันทึก: 218350เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2008 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

คุณธนิตย์

      แน่ใจมากน้อยแค่ใหนว่านักเรียนสามารถเรียนรู้ กับการที่แบ่งกลุ่มเด็ก แล้วให้เด็กทำป้ายนิเทศความรู้นั้นๆ บนฟิวเจอร์บร์อดเล็กๆแล้วผลัดกันนำเสนอหน้าชั้นเรียน มีบทสรุปกับเรื่องนี้บ้างไหม เด็กได้อะไรบ้าง สามารถทำให้นักเรียนผ่านผลการเรียนรู้ที่คาดมากน้อยแค่ใหน และมันคุ้มค่าด้วยวิธีการแบบนี้หรือไม่ มันน่าคิดเหมือนกันนะ คุณธนิตย์ว่าไง 

อ.สุดใจ

  • แน่ใจมากแล้ว...จึงทำ เพราะจากที่เคยทำบางเรื่องดี แต่บางเรื่องก็ธรรมดาๆ เพราะยังไม่เคยทำได้ โดยที่ไม่มีเรื่องใดไม่ดีเลย ที่สำคัญดีกว่า"ครูเป็นศูนย์กลาง"อย่างเดียวแน่นอน
  • เรื่องดี คือ งานที่ต้องทำมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นผลิตสื่อ จัดทำแบบฝึกหัดให้เพื่อนทำ เตรียมอภิปราย ทำให้นักเรียนต้องอ่าน ต้องศึกษา ค้นคว้า มาล่วงหน้า 
  • เรื่องดีที่สุด...ตามที่คิด คือ ถ้าไม่ฝึกให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า สรุป นำเสนอ อภิปราย หรือ "เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ"บ้าง เมื่อไรเขาจะมีโอกาส..
  • สรุปเป็นว่า"คุ้ม"(ฮา)
  • ขอบคุณที่ติดตาม

เห็นด้วยนะคะ ของkrutoi แม้จะเป็นชั่วโมงภาษาอังกฤษ เล็กเด็กก็เล็ก แต่ก็ฝึกให้ค้นคว้าค่ะ ก็ตามสภาพ ความสนใจของเด็กค่ะ เรียนในสิ่งที่อยากรู้ ไอ้ที่ไม่อยากรู้เรื่องที่จะสอนก็มี ค่ะ เช่นเขาสนใจจะซ้อมฟุตบอล ก้ไม่เป็นไร อนุญาตเต็มที่หลังเวลาเรียน หรือเวลาพัก แต่ต้องเรียนรู้เรื่องฟุตบอล อย่างน้อยๆ รู้คำศัพท์ พูดภาษาอังกฤษได้ว่าฉันชอบเส่นฟุตบอล บอกได้ว่าฉันเล่นฟุ๖บอลวันไหนบ้าง เล่นกี่คน เล่นแล้วรู้สึกอย่างไร เด็ก นี่คะ จะให้ทำอะไรอย่างเราๆ รุ่นพ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย แล้วไม่ได้ ค่ะ เอามาเทียบกันไม่ได้ เผลิอๆนะคะ หากเอาเขามาเทียบกับเราดดยให้มีตัวแปรตัวเดียวกัน ไม่ แน่ นะ อาจารย์ เราอาจสู้เขาไม่ได้ ก็ได้ จริงแม๊ะ

พิมพ์ผิดเยอะเลย ขอโทษค่ะ รีบจนเสียการ

แทบทุกเรื่อง นักเรียนสมัยนี้น่าจะดีกว่าสมัยก่อน หรือสมัยเรา แต่มีเรื่องหนึ่ง เรื่อง ขยันอ่านหนังสือ...krutoi ว่าไง? สำหรับผมแล้ว ผมว่าสมัยเรา ขยันอ่านหนังสือมากกว่า เพราะนักเรียนสมัยนี้มีครูสอนกวดวิชา สอนพิเศษ คอยอ่านหนังสือให้แทน

ขอบคุณ krutoi ครับ

คุณธนิตย์ ตอนผมเป็นเด็กผมเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบฟังมากกว่า เท่าที่สังเกตุตัวเองเวลาฟังครูอธิบายมันจะทำให้ผมคิดตามและเวลาทำแบบทดสอบจะนึกถึงคำอธิบายของครูได้เสมอจึงทำให้สามารถตอบคำถามนั้นๆได้(ยกเว้นไม่ฟัง ฮ่า) อาจด้วยสาเหตุที่ไม่ชอบอ่านนี้กระมั้งจึงทำให้ผมเขียนหนังสือผิดประจำ สาเหตุที่ไม่ชอบอ่านหนังสืออาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น เป็นเด็กบ้านนอก พ่อแม่ยากจน ฯลฯ แต่สาเหตุหลักผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของวุฒิภาวะของแต่ละบุคคลมากกว่า คุณว่าไง? และคุณคิดว่าจะทำอย่างไรให้เด็กรักที่จะอ่าน เท่าที่สังเกตุในปัจจุบันมีหลายภาคส่วนพยามส่งเสริมเรื่องนี้กันอยูแต่ก็ดูเหมือนยังไม่ประสบผลสำเร็จสักเท่าไร ทำอย่างไร?ที่จะทำให้นักเรียนมีวุฒิภาวะในเรื่องรักการอ่าน ไม่ต้องไปไกลถึงระดับชาติเอาแค่คนใก้ลตัว ลูกเรา และลูกศิษย์ในโรงเรียนเราก็พอ (ผมจนปัญญาจริงๆ เฮ้ย!) ผมเคยฝึกเด็กนักเรียนเฉพาะในชั้นเรียนที่เป็นที่ปรึกษาและเป็นเด็กค่อนข้างเรียนดี เป็นเวลา 3 ปี (ม.1-ม.3)ด้วยอำนาจของครูที่ปรึกษาเท่าที่จะทำได้ โดยใช้หลักการ 3R (เคยอ่านมาจากหนังสือแนะ 1 นาทีวิธีเรียนเก่ง ของครูแว่น นำมาประยุกต์ด้วยความคิดและประสบการณ์ของตนเอง) R1 คือ Read การอ่านแบบง่าย R2 คือ Recite การอ่านแบจดบันทึก หรือทำเครื่องหมายให้ข้อความนั้โดดเด่นหรือชัดเจนมายิ่งขึ้น R3 คือ Review การอ่านแบบทบทวน ผมได้นำ 3R มาประยุกต์ให้นักเรียนทุกคนไปทำโปรแกรมการอ่านตามใจเขา(เฉพาะหนังสือเรียน) อ่านแล้วบันทึกหัวข้อสำคัญที่เขาอ่านลงในสมุดบันทึกการอ่านแล้วให้นำส่งผมทุกวันศุกร์ ใกล้สอบแนะนำให้เขานำสมุดที่เขาบันทึกไปอ่านทบทวนเรืองที่เขาบันทึก เพื่อเตรียมตัวสอบ มีนักเรียนประมาณ 4-5 คน ไม่ค่อยทำตาม และถูกลงโทษเป็นประจำ(ด้วยวิธีการของครู)และเด็กลุ่มนี้จะมีผลการเรียนที่อยู่ในกลุ่มต่ำของห้อง นักเรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียนค่อนข้างดี (ประมาณ 3.00-4.00)ผมทำอย่างต่อเนื่อง 3 ปี ตอนนี้เด็กกลุ่มนี้อยู่ ม.ปลายแล้ว และได้พูดคุยติดตามเขาเป็นประจำ มีนักเรียนคนหนึ่งบอกว่าตอนนี้ไม่มีใครทำตามที่ผมได้ฝึกเขาเหมือนเมื่อตอน ม.ต้นเลย และเขาได้บอกอีกว่า ตอน ม.ต้น มีนักเรียนไม่กี่คนที่ทำตามที่ผมแนะนำ(1-3 คน) นอกนั้นลอกข้อความในหนังสือมาส่งเพราะกลัวถูกลงโทษ (ผมควรจะดีใจหรือเสียใจดี)ตอนนี้ผมพยามทำกับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งในฐานะครูที่ปรึกษาเหมือนเดิม แต่เป็นเด็กกลุ่มที่มีผลการเรียนค่อนข้างต่ำ (จากการสอบคัดเลือกเข้าเรียน)ผมชักท้อเหมือนกันแต่จะลองทำอีกสักครั้ง (ผลเป็นอย่างไร อีก 3 ปีจะเล่าให้ฟัง ฮ่าๆ) คุณเป็นคนรัการอ่านมาตั้งแต่เด็กคุณน่าจะมีสิ่งที่เป็นประสบการณ์ดีๆมาเล่าสู่กันฟัง น่าจะเป็นประโยชน์ ขอบคุณ

  • เรื่องให้เด็กรักการอ่าน"ยากส์" อย่างว่า เช่นกัน เพราะสื่อต่างๆเทคโนโลยี เกมโชว์ ประกวดสวย-หล่อ เรียลลิตี้ ฯลฯ มากมายในปัจจุบันนี้ น่าสนใจกว่า โดยเฉพาะ ปัจจุบันดูอะไร มันสำเร็จรูปไปหมด สบายกว่าเยอะ! ไม่เห็นต้องอ่านเลย...
  • "อ่านและบันทึก" ดีกว่าอ่านเฉยๆ ยกเว้น อ่านนิยาย นั่งอ่าน นอนอ่าน หลับเลยก็ได้ แต่อ่านให้รู้ ต้องมีสมาธิ การบันทึกด้วยจะทำให้มีสมาธิ ไม่มีสมาธิบันทึกไม่ได้...เห็นด้วยๆๆ ฉะนั้น ที่ครูเรา รวมทั้ง อ.สุดใจ พยายามทำ คงต้องทำต่อไป จะลอกมา เขาก็ได้อ่านแล้ว 1 รอบ ถ้าด้วยลายมือเขาเอง
  • ความเชื่อส่วนตัว จากประสบการณ์...เคยจัดประกวดห้องเรียนสะอาด ทำบ่อยๆทำประจำ นร.ชักชิน ครูก็ชิน(ตามความรู้สึกเรา) ชิน คือ ก็ไม่เห็น นร.จะกระตือรือร้นมากขึ้น สักเท่าไหร่ ห้องเรียนก็ไม่เห็นจะสะอาดเพิ่ม แต่ลองเลิกทำสิ...จะรู้ได้เลยว่า ไอ้ที่เราทำ เราจัดประกวดนั้น มันดีกว่าไม่ทำแน่ๆ
  • "นักเรียนรักการอ่านซะอย่างแล้ว อยากจะเรียนรู้อะไรก็คงได้" คิดและเชื่อว่าจริง
  • เป็นครู ท้อไม่ได้ครับ ต้องทำต่อ ถ้าแก้ไม่ได้ต้องเออร์ลี่...(ฮา)
  • ขอบคุณ อ.สุดใจ ที่ติดตาม
  • สมัครเขียนบล็อก เล่าให้ฟังบ้างสิ!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท