องค์ประกอบการแสดง


โนราต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตัว

คณะโนรา

       คณะโนรา มักเรียกชื่อตามคณะนายโรง เช่น โนราวัน (คณะของโนราที่มีนายวันเป็นนายโรง) บางครั้งก็เอาชื่อบ้านที่อยู่มาประกอบ เช่นโนราเติม เมืองตรัง หรือถ้าโนราเป็นพี่น้องกัน 2 คน มักนำชื่อทั้ง 2 มาตั้งเป็นชื่อคณะ เช่น โนราพิณโนราพัน บางคณะก็ได้รับคำเติมสร้อยเพราะมีลักษณะเด่นพิเศษ เช่นโนราพุ่มเทวา ก็จะหมายถึง ชื่อพุ่ม ร่ายรำอ่อนงามราวเทวดาเหาะลอยมา

     คณะโนรานั้น คณะหนึ่งๆ ก็จะประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวน 14-20 คน สมัยก่อนมีตัวรำเพียง 3 ตัว คือ นายโรงหรือโนราใหญ่ หรือตัวยืนเครื่อง 1 ตัว ตัวนางหรือ นางรำ 1 ตัว และตัวตลกหรือ “พราน” 1 ตัว ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็เลือกเฉพาะตอนที่มีตัวสำคัญไม่เดิน 3 ตัว มาเล่น

      ต่อมาเพิ่มตัวนาง (นางรำ) เป็น 3-5 คน นอกจากนี้คณะของโนราจะมีนักดนตรีหรือ ”ลูกคู่” ประมาณ 5-7 คน มีตัวตลกประจำโรงเรียกว่า “พราน” มีตัวตลกหญิง เรียกว่า”ทาสี” ทั้งคู่เวลาแสดงจะสวมหน้ากาก

      นอกจากนี้จะมีหมอประจำโรง ซึ่งเป็นหมอไสยศาสตร์ บางคณะอาจมีนางรำรุ่นจิ๋วเรียกว่า “หัวจุกโนรา” และอาจมี ”ตาเสือโนรา” ก็คือ ผู้สูงอายุที่ชอบติดตามไปกับคณะโนราเป็นประจำ ก็จะคอยช่วยเหลือดูแลนางรำ และข้าวของ และหากมีการเดินทางไกลๆ ข้าวของเครื่องใช้บางอย่างที่ถือว่าเป็นของขลัง เช่นหน้าพราน (หัวพราน) ก็จะถูกเก็บไว้ในหีบ เรียกหีบนั้นว่า “ซุม” และผู้ที่มีหน้าที่แบกหามซุม เรียกว่า “คนคอนซุมโนรา” ก็จะแบกหามซุมนั้นโดยเฉพาะ

 

องค์ประกอบการแสดง

โนราซึ่งเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิงนั้น มีองค์ประกอบหลักดังนี้

การรำ โนราแต่ละตัวต้องรำอวดความชำนาญและความสามารถเฉพาะตัว โดยการรำประสมท่าต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่องกลมกลืน แต่ละท่ามีความถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบฉบับ มีความคล่องแคล่วชำนาญ ในการเปลี่ยนท่าเข้ากับจังหวะดนตรี การรำต้องอ่อนช้อยหรือกระฉับกระเฉงตามความเหมาะสม หรือบางคนอาจแสดงให้เห็นการทำตัวอ่อน หรือการรำท่าพลิกแพลง

การร้อง การร้องก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ดนตรีแต่ละตัวจะต้องอวดลวดลายการขับร้อง บทกลอนในลักษณะต่างๆ เสียงร้องดังไพเราะ ชัดเจน จังหวะถูกต้องเร้าใจ มีปฏิภาณคิดกลอนรวดเร็ว เนื้อหาสัมผัสดี มีความสามารถ ในการร้องโต้ตอบ

การทำบท เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กัน ต้องตีท่าให้หลากหลายครบถ้วนตามคำร้องทุกถ้อยคำ

การรำเฉพาะอย่าง โนรานอกจากแต่ละคนจะต้องมีความสามารถในการรำ การร้อง และการทำบทแล้ว ยังต้องฝึกรำเฉพาะอย่าง ให้เกิดความชำนาญเป็นพิเศษด้วย มักจะใช้ในโอกาสพิเศษเช่น รำในพิธีไหว้ครู หรือพิธีแต่งพอกผูกผ้าใหญ่ บางอย่างก็ใช้เฉพาะเมื่อมีการประชันโรงหรือรำแก้บน การรำเฉพาะอย่างมีดังนี้


- รำบทครูสอน - รำปฐมบท
- รำเพลงทับเพลงโทน - รำเพลงปี่
- รำเพลงโค - รำขอเทริด
- รำคล้องหงส์ - รำแทงเข้
- รำเฆี่ยนพรายและเหยีบลูกนาว - รำบทสิบสองหรือรำสิบสองบท

การเล่นเป็นเรื่อง โดยปกติแล้วโนราไม่เล่นเป็นเรื่อง จะเล่นก็ต่อเมื่อมีเวลาแสดงมากพอ หลังจากการ การร้อง และการทำบทแล้ว อาจจะแถมท้ายด้วยการเล่นเป็นเรื่องให้ดูเพื่อความสนุกสนาน โดยตอนที่นำมาเล่น ต้องเลือกเอาตอนที่ใช้ตัวแสดงน้อยๆ ไม่เน้นการแต่งตัว สมมติว่าใครเป็นใครแล้วขับร้องไปตามท้องเรื่อง


    

หมายเลขบันทึก: 218289เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2008 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โนราวัฒนธรรมอันล้ำค่า ของชาวไทย โปรดช่วยกันรักษา

สว้สดีคุณกฤษ

ชอบมากโนราเพลงปี่ เห็นทักษะของโนรา กับนายปี่มีอะไรดีๆที่ให้ความรู้ทากกว่า ว่าบท

(บทร้องพาทพิงโนราเติม //โนราเติมบ้านเดิมโยตรัง ..........

และหนูวินเท่าถาด หนูวาดเท่าด้ง เติม เท่า......ได้ยินทุกงานเมื่อ 50 ปีล่วง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท