เรือพระ


เรือพระ

  ต่อไปจะพูดเรื่องเรือพระก่อน ปัจจุบันขอแบ่งเรือพระไว้ตามความเห็นนะครับ คือ

1. เรือพระแบบโบราณคือไม่มีล้อ ส่วนใหญ่ลากในท้องถิ่นพื้นที่วัดนั้น และเรือพระที่ลากทางน้ำ (หายาก)

2. เรือพระที่ใส่ล้อแล้วลากในท้องถิ่นนั้น ๆ

3. เรือพระที่เข้าประกวดนิยมปัจจุบัน ทำด้วยโฟมใหญ่โตสวยงาม ประเภทนี้จะหวังรางวัล

4. เรือพระที่เข้าประกวดอนุรักษ์ดั้งเดิม ทำด้วยไม้ หยวก วัสดุธรรมชาติ จะเข้าประกวดหวังรางวัล

5. เรือพระที่ทำขึ้นบนรถกะบะ มีเครื่องประกอบครบคือหัวเรือพระ ยอดพนมพระ ฉัตรธง

6. เรือพระที่นำพระมาตั้งบนรถกางสัปทนแล้วขับไปเรี่ยไร

   การแบ่งประเภทอย่างนี้ข้าพเจ้ามิได้แบ่งเป็นวิชาการแต่แบ่งตามที่เห็นมา  นะครับ เรือพระสองประเภทแรกนั้นน่าอนุโมทนาที่ได้ทำเพื่อรักษาประเพณีได้อย่างดีมากทำเพื่อให้คนลาก แล้วแขวนต้ม การเรี่ยไรหวังเงินมีน้อย

   เรือพระประเภทที่ 3 และ 4 นั้นหวังเพื่อได้รางวัลจากการประกวดที่แหลมสมิหลา แต่ก็น่าชื่นชมในความอุตสาหะของช่างที่จะประดิษฐ์ให้สวยงาม

   เรือพระประเภทที่ 5 ก็ยังดีครับที่ยังมีการทำครบคือมีหัวเรือพระเป็นพญานาคอยู่บ้างยังไม่ทิ้งของเก่ารักษาไว้

   เรือพระประเภทที่ 6 นี้น่าคิดนะครับคือมีพระพุทธรูปหรือรูปพระสงฆ์ที่ดัง ๆ ตั้บนรถกางสัปทนหรือศาลาแล้วขับเร่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ หรือที่จัดงานลากพระ เพื่อเรี่ยไรเงิน ข้าพเจ้าเดินที่งานลากพระแล้วบางวัดทำสองคันอยู่กลางงานคันหนึ่ง ท้ายงานคันหนึ่งจอดเรี่ยไรสร้างโรงธรรมที่วัดใน จ. นครศรีธรรมราช หลายวัดที่เข้ามาเรี่ยไรแบบนี้ในงานลากพระที่สงขลา อยู่ต่างจังหวัดเขียนชื่อวัดบ้างสำนักสงฆ์บ้าง จากนครศรีฯ พัทลุง นี้มาก แต่น่าสังเกตนะครับ มาจากต่างจังหวัดแต่ถึงงานลากพระที่สงขลาตั้งแต่ เจ็ดโมงแล้ว พระที่มาด้วยจะออกจากวัดก่อนอรุณได้หรือ ถ้าออกก่อนอรุณจะผิดพระวินัยไม่ได้พรรษา เรื่องนี้น่าคิดนะครับ ข้าพเจ้าจึงไม่ค่อยศรัทธาเรือพระประเภทนี้ ซึ่งแน่นอนที่มาเขาหวัง "เงิน" ที่คนมางานลากพระจะใส่บาตรทำบุญเท่านั้น และเห็นว่าเราพุทธบริษัทควรจะปรับปรุงแก้ไข การเรี่ยไรแบบเรือพระประเภทที่ 6 (ตามความเห็นของข้าพเจ้า) อย่าให้มีเลยนะครับงานลากพระจึงจะมีความสวยงามเรือพระที่มาก็ทำถูกต้องตามประเพณี ทำเพื่อ"บุญ"มีใช่ทำเพื่อ "เบี้ย" นะครับ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 217976เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2008 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • รู้สึกปลึ้มเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นบันทึกของอาจารย์เป็นครั้งแรก...

ตอนเรียนจริยศาสตร์ศึกษาที่มหิดลเมื่อสิบกว่าปีก่อน เคยคิดเรื่องประเพณีลากพระในแง่เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมเพื่อทำเป็นรายงานส่งอาจารย์ ก็เขียนได้ประมาณ ๓๐ หน้า เสียดายหลวงพี่ออกเสียก่อนจึงไม่ได้ขอคืนกลับจากอาจารย์...

ตามที่พอจำได้ก็แบ่งเป็น เรือพระโบราณ คือ เรือพระที่ใช้ขอนไม้ลาก ไม่ใช้ล้อ... เรือพระสมัยใหม่ คือ เรือพระที่ใช้ล้อ... และ เรือพระประยุกต์ ก็คือเรือพระที่ใช้รถกะบะเน้นการเรี่ยไรตามที่อาจารย์ว่ามานั่นแหละ...

อีกอย่างหนึ่งก็ว่าด้วยคุณค่าประเพณีลากพระ ก็มี คุณค่าเชิงศาสนา คุณค่าเชิงประเพณี และ คุณค่าเชิงเศรษฐกิจ เป็นต้น

ใน บันทึกนี้ ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเล่มเล็กที่เคยพิมพ์เผยแพร่ มีประเด็นอ้างถึงนักบุญที่ทำบุญกับเรือพระนิดหน่อย ว่านักบุญบางท่านก็เน้นปริมาณ ส่วนบางท่านนั้นเน้นคุณภาพ...

อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง และขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์เขียนต่อไปอย่างสม่ำเสมอ...

เจริญพร

สาธุ ครับ ที่ให้ความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท