เรื่องของค่าคุณสมบัติ น้ำยาง ต่อครับ


น้ำยาง คือ ของเหลวสีขาวขุ่น ที่ได้จากต้นยางพารา

เมื่อวาน ผมได้เขียนถึง คุณสมบัติของน้ำยาง ที่เน้นเป็นพิเศษ ไปแล้ว

ก็ต่อด้วย เรื่องค่าคุณสมบัติของ น้ำยาง ครับ แต่หากท่านใด มีความรู้เรื่องนี้

อาจจะมากกว่าผม และเห็นว่า การเขียนของผม บกพร่อง ก็ขอคำชี้แนะด้วยครับ

เพราะทุกครั้งที่ผมเขียน มันมีความรู้สึก จะเป็น สามเณรสอนพระไตรปิฎกแก่สังฆราช เหมือนกัน

ค่าที่บ่งบอก คุณสมบัติของ น้ำยาง โดยทั่วไปที่มักจะพูดถึงระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย และบุคคลทั่วไป

จะมีหลักๆอยู่ 8 ค่า(มีมากกว่านี้ แต่ที่นอกจากนี้จะเป็นค่าที่ใช้เฉพาะกลุ่มงานหรือผลิตภัณฑ์ครับ)

คือ

1. ค่าปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำยาง หรือ ค่า TSC(Total solid contents) จะมีหน่วยเป็น % ครับ

2.ค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยาง หรือ ค่า DRC(Dry Rubber contents) จะมีหน่วยเป็น % เช่นกันครับ

3.ค่าความเป็นด่างของน้ำยาง หรือ ค่า Alkalinity ก็มีหน่วยเป็น % เหมือนกันครับ

4.ค่าความเสถียรทางกลของน้ำยาง หรือ ค่า MST(machanical stability time) มีหน่วยเป็นวินาที ครับ

5.ค่าปริมาณกรดไขมันระเหยได้ในน้ำยาง หรือ ค่า VFA No.(Volatile fatty acid number) ไม่มีหน่วยวัดครับ

6.ค่าปริมาณโพแทสเซีนมไฮดรอกไซด์ในน้ำยาง หรือ ค่า KOH No.(Potassium Hydroxide Number)

ก็ไม่มีหน่วยวัดด้วยครับ

7.ค่าปริมาณส่วนที่ไม่ใช่ยางในน้ำยาง หรือ ค่า NRC(Non rubber content) มาจากเอาค่า TSC ลบด้วย

ค่า DRC ครับ

8.ค่า pH ของน้ำยาง ค่านี้จะเป็นผลพลอยได้จากการทดสอบค่า KOH No. ครับ เพราะใช้การวัดค่า pH

ของน้ำยางในการทดสอบครับ

ส่วนค่าอื่นๆ ก็มี ค่าปริมาณโลหะหนักในน้ำยาง ที่เน้นก็จะเป็น Mg2+ นอกจากนั้นก็เป็น Ca2+, Cu2+, Zn2+และ Mn เป็นต้น ค่าความหนืดของน้ำยาง(viscisity), ค่าความตึงผิวของน้ำยาง(Suface tension), ขนาดนุภาคของยางในน้ำยาง,ปริมาณตมในน้ำยาง(Sludge contents), ปริมาณยางที่จับตัวเป็นก้อน(Coagulum contents), ทดสอบสี, กลิ่น และ ปริมาณโปรตีนที่ละลายน้ำได้ในน้ำยาง

 

หมายเลขบันทึก: 217932เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2008 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
  • สวัสดีค่ะ
  • แหมไม่เห็นด้วยกับคำนี้เลยค่ะ
  • "สามเณรสอนพระไตรปิฎกแก่สังฆราช"
  • เพราะไม่มีใครเป็นสังฆราชเรื่องไหนได้จริง ๆ หรอกค่ะ
  • ขึ้นอยู่กับใครสัมผัสถึงได้ลึกซึ้งกว่ากัน
  • สบายดีนะคะ

ผม หมายถึง ท่านที่เข้าลึกซึ้ง กว่าผมนะครับ

สบายดีครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ พอดีเข้ามาหาความรู้เกี่ยวกับน้ำยาง จริงยางที่พี่เอกว่านะค่ะ (ขอเรียกพี่นะค่ะ)ว่าความรู้เกี่ยวกับน้ำยางเนี่ยะหายากจริงๆ ต้องขอขอบคุณพี่เอกนะค่ะที่มาเขียนแลกเปลี่ยนความรู้ไว้ ยังไงถ้ามีโอกาสจะเข้ามาอ่านอีกนะค่ะ

และก่อนจากไปต้องขอกล่าวคำยินดีที่ได้รู้จักรุ่นพี่เคมี มอ. (น้องรุ่น Chem SCi'36ค่ะ)ยิ่งไปกว่านั้นต้องขอกล่าวคำยินดีที่ได้รู้จักชัดๆอีกครั้งไหนฐานะ member group Sritrang ค่ะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะ พอดีมีปัญหาเรื่องการทดสอบค่า VFA และ KOH นิดหน่อยค่ะ พี่พอมีข้อแนะนำหรือวิธีทดสอบให้หน่อยได้ไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

ยินดีครับ โทรมาถามได้เลยครับ 081-5995045

ตอนนี้ฝึกงานอยู่คะ เป็นบริษัททำถุงยาง และมีโปรเจ็คด้วย

เนื่องจากฟิล์มยางมีปัญหาเศษยางติดบนฟิล์ม คงจะเกี่ยวกับเรื่องความเสถียรของน้ำยาง

อยากรู้ว่ามีค่าการทดสอบอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง นอกจาก MST แล้ว

ถ้าทราบขอความอนุเคราะห์ข้อมูลนิดหนึ่งนะคะ

........ขอบคุณล่วงหน้าคะ............

ไม่ทราบว่า ฟิล์มยางที่มีปัญหาเศษยางติดนั้น เป็นน้ำยางคอมปาวน์รึว่า

ยังเป็นน้ำยางข้นอยู่ครับ

ผมไม่เข้าใจปัญหาที่ถามครับ เคยเจอแต่ปัญหาเม็ดยางติดบนผลิตภัณฑ์ครับ

ค่าความเสถียรของน้ำยางต่อแรงกล หรือ MST เป็นแค่ตัวบอกว่าน้ำยาง

มีความเสถียรต่อการกวนหรือการจุ่มของ former หรือแบบพิมพ์มากน้อยแค่ไหนครับ แต่หากเป็นปัญหามีเม็ดยางติดละก็น่าจะต้องดูที่ค่า Coagulum content

ด้วยนะครับ ผมมีความหมายของทั้ง 2 ค่าดังนี้ครับ

Coagulum content ปริมาณยางจับเป็นก้อน

ปริมาณยางจับเป็นก้อน หมายถึง ปริมาณของสารที่ตกค้างอยู่บนตัวกรองสเตนเลสที่ทดสอบ สารเหล่านี้ประกอบด้วยเศษยางจับตัวและสารอื่นที่เจือปนมากับน้ำยาง ค่านี้มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตที่เข้มงวด เช่น การผลิตเส้นด้ายยางยืด น้ำยางที่มีค่า coagulum content สูงอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันที่ปลายหลอดในระหว่างกระบวนการผลิตได้

Mechanical Stability Time (MST) ความเสถียรเชิงกลของน้ำยาง

ความเสถียรเชิงกลของน้ำยาง หมายถึง ความเสถียรของน้ำยางต่ออิทธิพลทางกล เช่น การกวน การปั๊ม การเคลื่อนย้าย หรือการกระทำทางกลโดยวิธีอื่นๆ สามารถทำได้โดยวัดระยะเวลาที่เริ่มปั่นกวนน้ำยางจนกระทั่งสังเกตเห็นน้ำยางเริ่มจับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ ในหน่วยของวินาที ค่า MST สูงจะบ่งขี้ว่า น้ำยางมีความเสถียรต่ออิทธิพลทางกลได้สูง แต่ถ้าค่า MST ต่ำแสดงว่าน้ำยางนั้นจะสูญเสียความเสถียร สามารถจะจับเป็นเม็ดได้ง่าย เมื่อน้ำยางถูกกระทบกับอิทธิพลทางกล

เพราะเคยเจอปํญหาเม็ดยางติดที่ถุงมือที่ผลิตภัณฑ์ พอสอบกลับตัวน้ำยางข้น

พบว่ามีค่า Coagulum สูงกว่าปกติ แต่ต้องแน่ใจด้วยนะครับว่า

น้ำยางคอมปาวน์ ทดสอบค่า Coagulum ผ่านตามเกณพ์ เพราะเคยเจอที่ตัว

น้ำยางคอมปาวน์เหมือนกันครับ

ขอบคุณคะ อ้อ...เป็นน้ำยางคอมปาวน์คะ อันที่จริงก็ไม่ได้เป็นจุดใหญ่อะไร ถ้าไม่ส่องด้วย Stereo microcrop ก็มองไม่เห็นหรอก แล้วค่าอื่นๆ เช่น pH , NRC ,มีผลที่สัมพันธ์กันอย่างไรบ้างคะ ตอนนี้ทดสอบทั้ง MST ,Coagulum content ไปแล้ว รอสรุปผลอยู่คะ เสร็จเมื่อไหร่จะได้กลับซะที่,,,เย้

ค่า pH คงไม่เกี่ยวครับ แต่ NRC หากมีมากก็มีผลครับ

แต้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแตกต่างกันมาก คือค่านี้มันจะต่ำ

ถ้าไปดู อาจจะทำให้ หลงประเด็นได้ครับ

สวัสดีครับคุณเอก

ผมก้อจบมอ เหมือนกัน อ่านข้อความของคุณเอกแล้วมีประโยชน์มาก คืองี้ครับมีปัญหาอยากจะถาม ค่า Coagulum content ทดสอบอย่างไรครับ แล้วมีผลกระทบต่อ Burst Test หรือปล่ะ (อัดลมจนแตก)

ตอบคุณ kittikhun ยินดีที่ได้รู้จักกับ "ลูกพระราชบิดา" ด้วยกันครับ

ค่า Coagulum content หรือ ปริมาณยางจับเป็นก้อน หมายถึง

ปริมาณของสารที่ตกค้างอยู่บนตัวกรองสเตนเลสที่ทดสอบ

สารเหล่านี้ประกอบด้วยเศษยางจับตัวและสารอื่นที่เจือปนมากับน้ำยาง

ค่านี้มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตที่เข้มงวด เช่น การผลิตเส้นด้ายยางยืด

น้ำยางที่มีค่า coagulum content สูงอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันที่ปลายหลอด

ในระหว่างกระบวนการผลิตได้

วิธีการทดสอบ ผมจำได้ไม่ชัวร์ ว่าจะเริ่มด้วยการเทตัวอย่างที่ทดสอบ

ผ่านตะแกรงกรอง โดยใช้สารละลายสบู่เป็นตัวช่วย

ตะแกรงกรองก่อนนำมาใช้จะชั่งน้ำหนักที่แน่นอนไว้

หลังจากการกรอง ก็จะนำไปอบให้แห้ง จากนั้นตั้งให้เย็น

นำไปชั่งน้ำหนักอีกครั้ง แล้วนำไปคำนวณค่าครับ

ที่ถามว่า มีผลต่อ Burst Test หรือปล่ะ (อัดลมจนแตก)

ถ้าการมีเศษยางจากน้ำยางไปติดที่ชิ้นงาน แล้วทำให้เกิดปัญหา

ดังกล่าว ก็ใช่ครับ

ที่โรงงานที่ผมทำผลิตถุงยางครับอยากปรึกษา

1. ควร control ค่า MST อย่างต่ำเท่าไหร่ครับ แล้วถ้าทำกว่าต้อง take action ไงครับ

2. เหมือนกันครับสำหรับ Coagulum content

3. Compound เวลาอยู่ในถัง Dip นาน จะเกิด Scum นี้เป็น Natual ของมันหรือปล่ะครับ มีวิธีกรองแบบ on line มั้ยครับ หรือ

ทำอย่างไรให้ scum ลดลง

กำลัง ทำเรื่องลดรูที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอมครับ

ของคุณมากครับ

พี่เอกคะ

จิ๋วขอถามหน่อยว่าการทดสอบความเสถียรของน้ำยาง นอกจากทดสอบ MST แล้วยังมีวิธีทดสอบแบบอื่นอีกมั้ยคะ

ถ้ามีขอวิธีการทดสอบด้วยนะคะ ??

เพราะว่าจิ๋วกำลังหาวิธีการทดสอบแบบอื่น เพื่อไปยืนยันว่า MST ที่ test ไปนั้น ค่าที่ได้มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันรึเปล่าอ่ะค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

^_________^

เท่าที่ทราบ หากเป็นน้ำยางข้นที่ยังไม่ผสมสารเคมีเพื่อเป็น compound

การทดสอบค่าความ stability มีก็แค่การทดสอบ MST ครับ

หากเป็นน้ำยาง compound ก็จะมีการทดสอบค่า ZST เข้ามาครับ

การทดสอบค่า ZST ทดสอบยังงัยบ้างอ่ะคะพี่เอก

ขวิธีการทดสอบด้วยได้มั้ยคะ

ขอบคุณค่ะ

อิอิ

^________^

-----

<a href=http://www.savetubevideo.com>youtube descargar</a>

เอาแบบภาษาอังกฤษและมีในเน็ตไปก่อนนะครับ

เข้าไปดูได้ที่

http://books.google.co.th/books?id=yIhWjCkF5dsC&pg=PA436&lpg=PA436&dq=zinc+stability+latex&source=bl&ots=9kN-du9W7U&sig=SFRvgx8E4Fix24FJRdOBC9CusHQ&hl=th&ei=a9feS-rSBoGUrAe3tIBL&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=4&ved=0CCAQ6AEwAw#v=onepage&q=zinc%20stability%20latex&f=false

เป็นหนังสือที่เขียนโดย D.C. Blackley ชื่อหนังสือ Polymer latices: science and technology

ค้นหาบน google ใช้ keyword ว่า Zinc stability latex

ส่วนภาษาไทยจะหามาให้อีกครั้งครับ

Thanks. ka P'เอก

ว่าแต่ชื่อหนังสือมันคุ้นๆจัง อิอิ

เป็นหนังสือที่เด็กเทคโนยาง มอ.ปัตตานี ใช้เรียนกันครับ

เป็นหนังสือที่ผมต้องการมากที่สุดในตอนนี้ แต่หาที่ซื้อยังไม่ได้เลย

พี่เอก ZST เนี่ย สามารถใช้ทดสอบในน้ำยาง compound ที่เป็น น้ำยางสังเคราะห์ได้มั้ยคะ

สามารถเอาวิธีการทดสอบที่เค้าใช้กับยางธรรมชาติมาใช้ได้มั้ยคะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

จิ๋วลิ๋ว

หากจะทดสอบไว้เอาค่าใช้งานเอง ไว้ศึกษาต่อเอง อาจจะได้มังครับ

แต่หากจะทดสอบเพื่อเป็นการบอกคุณภาพน้ำยาง compound ชนิดสังเคราะห์

คงไม่ได้ เพราะอาจจะให้ผลที่คลาดเคลื่อน

ดีครับพี่เอก ผมคือเลือดการยางอีกคนหนึ่งครับ

คือว่า มีเรื่องอยากถามครับว่า พอจะมีวิธีทดสอบหาปริมาณของสบู่ที่มีอยู่ในน้ำยางข้นด้วยวิธีใดบ้างครับ

พอมีคำตอบให้บ้างหรือไม่ครับมีหรือไม่ยังไงส่งข่าวด้วยน่ะครับ

[email protected]

จะรอข่าวดีน่ะครับ

สวัสดีค่ะ.....ตอนนี้น้องเรียนยางที่ มอ. สุราดค่ะ

น้องมีเรื่องรบกวนถามข้อมูลค่ะ

คืออยากทราบข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณแอมโมเนียต่อค่า VFA ค่ะ

คือน้องนำไปใช้ในการทำโปรเจ็ทค่ะ

ขอความอนุเคราะห์จากพี่เอกด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ค่าความหนืดและแรงตึงผิว สามารถบ่งบอกคุณภาพของน้ำยางได้อย่างไรครับ

ขอรบกวนสอบถามหน่อยนะค่ะ ถ้าค่าKOH สูงเราจะมีวิธีแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้างค่ะ

มีปัญหาเรื่อง Vicosity ในยำยางข้น ค่า vicosity จะสูงหรือต่ำเกิดากอะไรได้บ้าง

พอดีตอนนี้​กำลังฝึกงานอยู่ที่บริษัท​ผลิตถุงมือ​เเห่งหนึ่งในประเทศไทยค่ะ พอดีว่า พบปัญหาคือ โรงงานใหม่มี%Caogulum​สูงกว่าโรงงานเก่า2-4เท่า เเล้วหนูได้คิดออกเเบบการทดลองคือทดสอบหาค่า PH, viscosity, %TSC, Coagulum​Content​ทุกstepsในการใส่สารเคมีผสมเป็นน้ำยางcompuond เพื่อดูว่าstepไหนมีค่าสูงที่สุดเเล้วหนูจะไปวิเคราะห์​stepนั้น เเต่ผลออกมาในเเต่ละเเบตได้ค่าCaogulum​ไม่เหมือนกันสักเเบบ เเต่ที่สังเกตุ​ดู coagulum​ จะขึ้นที่step​การใส่สารลดเเรงตึงผิว สารตัวเร่ง เเละสี เเละลดลงที่stepใส่ZnO ค่ะอาจจะเพราะสาเหตุ​อะไรคะเเละหนูควรทดสอบค่าMSTเพิ่มเติม​ไหมคะ เเล้วค่าMSTทดสอบกับยางcompoundได้ไหมคะ หรือทดสอบได้เเค่น้ำยางข้น (ส่วนน้ำยางที่ใช้คือน้ำยางสังเคราะห์​ไม่ใช่น้ำยางธรรมชาติ​ค่ะ)​ ขอบคุณ​ค่ะ ​รบกวน​ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท