งานวิจัยเกษตรอินทรีย์ต่อยอดความรู้จาก KM สัญจร ครั้งที่ 3


             สืบเนื่องจากที่ฝ่ายวิชาการได้เดินทางไปร่วมประชุม KM สัญจร ครั้งที่ 3  ซึ่งร่วมจัดกับ สคส. ระหว่างวันที่ 6-8 มีนาคม 2549 ณ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงนักวิจัยของฝ่ายวิชาการ กับนักปฏิบัติจัดการความรู้ระดับชาวบ้านให้ได้โจทย์วิจัยสำหรับงานวิจัยต่อยอดความรู้ของชาวบ้าน และเป็นความเชื่อมโยงเพื่อพัฒนากรอบงานเกษตรอินทรีย์ นั้น
             ดร. จีรพันธ์ วรพงษ์  สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย  มหิดล เป็นหนึ่งในนักวิจัยของฝ่ายวิชาการที่ได้เข้าร่วมเดินทางในครั้งนี้  หลังจากที่  ดร. จีรพันธ์ วรพงษ์  ได้ไปเยี่ยมชมสวนพริกของนายจรัส จำเริญ  74 หมู่ 5 ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทธไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์ ก็ได้พบว่าสวนพริกของนายจรัส จำเริญ ประสบกับปัญหาโรคกุ้งแห้ง   แอนแทรคโนส และโรคอื่นๆ จึงได้เก็บตัวอย่างมาเพื่อแยกและจำแนกเชื้อก่อโรคในพริกเพื่อนำไปศึกษาหาวิธีป้องกันและควบคุมโรคด้วยชีววิธี เชื้อเอนโดไฟท์ซึ่งขณะนี้ได้แยกและจำแนกเชื้อก่อโรคในพริกของนายจรัส จำเริญ ได้สำเร็จแล้ว  จึงได้ส่งบทความวิจัยเรื่อง “การตรวจแยกและจำแนกเชื้อราก่อโรคกุ้งแห้งและกุ้งแห้งเทียมในพริกที่ ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์” มาเพื่อเผยแพร่ ทั้งนี้ผลงานวิจัยจะนำไปสู่สาเหตุและวิธีป้องกันแก้ไขด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกรในอนาคต 

              จากความเชื่อมโยงดังกล่าว ฝ่ายวิชาการ สกว. มีความเห็นว่าการที่นักวิจัยมีโอกาสได้ไปศึกษาปัญหาจากพื้นที่จริง จะทำให้ได้โจทย์วิจัยที่เป็นปัญหาจริงของประเทศ และจะเป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยพื้นฐานนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และในที่สุดจะนำไปสู่การแก้ปัญหาระยะยาวของชาติได้ต่อไป

บทความวิจัยของ ดร.จิรพันธ์ วรพงษ์

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21787เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้วิธีรักษาโรคกุ้งแห้งเทียม

เพราะตอนนี้ที่ไร่กำลังพบปัญหานี้เลย

ไม่รู้ต้องใช้ยาอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท