การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ(กุมารเวช 4)


การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ

การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ (กุมารเวช 4) สำหรับกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลเด็กทารก

สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย

1. อ. จริยาพร วรรณโชติ  ผู้นำทีม  2. อ. วารุณี  สุวรวัฒนกุล  3. อ. สุกัญญา  ขันวิเศษอ  4. อ. ปัทมา บุญช่วยเหลือ เลขา

ประเด็นความร่วมที่สมาชิกทีมร่วมกันกำหนดไว้คือ

1.       การเตรียมความพร้อมในด้านการทำหัตถการในเด็กเล็ก

2.       ความเอาใจผู้ป่วย จิตสำนึก และการดูแลผู้ป่วยด้วยความเอื้ออาทร

3.       การเตรียมความรู้โรคพื้นฐานในทารกแรกเกิด

เห็นอาจารย์เขาเริ่มดำเนินการไปแล้ว คิดว่าเดี๋ยวคงมีสาระความรู้มา ลปรร. กันนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 217848เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเด็นความรู้ที่ต้องการ: การเตรียมความพร้อมในการทำหัตการในเด็ก

1. การใส่ OG การ Lavarge และการ feed เด็ก

2. การห่อผ้า การอุ้มเด็ก(breast feed และ cup feed )

3. ให้ความรู้เรื่องที่พบบ่อยในเด็ก (มี pre-test ,post-test)

4. การ suction ในปาก จมูกและใน tube ของทารกแรกเกิด

สถานการณ์/ปัญหา/เงื่อนไข

ก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงาของนักศึกษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ได้มีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาโดยมีการเตรียมทำหัตถการทั้งหมด 3 ฐาน และฐานการให้ความรู้ในเรื่องของโรคที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด รวมทั้งให้นักศึกษาทำ pre-test โดยข้อสอบเป็นข้อสอบเติมคำสั้นๆ โดยในแต่ละฐานมีการสาธิตการทำหัตถการโดยการใช้หุ่นเด็ก และให้นักศึกษาสาธิตย้อนกลับทุกคน เพื่อประเมินว่านักศึกษาปฏิบัติหัตถการนั้นๆได้ถูกต้องและพร้อมที่จะปฏิบัติกับผู้ป่วยทารกแรกเกิดในหอผู้ป่วย ส่วนในฐานของการให้ความรู้นั้นจะให้นักศึกษาทำข้อสอบ pre-test และได้ทบทวนความรู้เรื่องโรคต่างๆจากที่นักศึกษาได้เรียนทฤษฎีมาบ้าง และเมื่อนักศึกษาปฏิบัติงานเสร็จสิ้น (4 สัปดาห์) ได้นำข้อสอบชุดเดิมมาให้นักศึกษาทำอีกครั้ง จุดประสงค์ของการทำ pre-test เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เรื่องโรคที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด ทำให้นักศึกษาทราบว่าความรู้ที่จะต้องเตรียมตัว เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษากลับไปทบทวนเพิ่มเติมในเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ และเป็นการแนะแนวทางให้นักศึกษาทราบว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง และเป็นแนวทางสำหรับการดู assignment ของนักศึกษาได้อีกด้วย อย่างเช่น เมื่อนักศึกษาทราบถุงโรค RDS ในขั้นต้นว่า คือโรคอะไร อาการสำคัญของผู้ป่วยโรคนี้เป็นอย่างไร ผลการตรวจร่างการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นอย่างไร จะต้องนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุนใน Nursing Diagnosis หรือเป็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวางแผนการพยาบาลได้

จาการประเมินนักศึกษาเมื่อปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยจริงนั้นๆนักศึกษาสามารถปฏิบัติได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้น นักศึกษาสามารถทบทวนเทคนิคและหลักการดูดเสมหะได้ถูกต้อง และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักการได้เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงนักศึกษาบางคนที่ยังปฏิบัติได้ไม่ถูกต้อง เช่น ในเรื่องของการวัดตำแหน่งความยาวของสาย Suction ที่จะ Suction ในปาก การเปิดความดันของเครื่อง Suction แต่จะพบปัญหาในเรื่องของความมั่นใจ เมื่อปฏิบัติในcase แรก นักศึกษาจะปฏิบัติอย่างกลัวๆ แต่เมื่อได้ฝึกปฏิบัติหลายครั้งนักศึกษามีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น ท่าทางดูคล่องแคล่ว มีทักษะปฏิบัติดีขึ้น ปัญหาที่พบอีก 1 ปัญหา คือในเรื่องของการประเมินอาการของผู้ป่วยขณะ suction นักศึกษายังไม่ได้ให้ความสำคัญ บางคนลืมประเมิน หรือประเมินได้ไม่ถูกต้อง ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่จะนำไปปรับแก้ในการเตรียมความพร้อมในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานในนักศึกษากลุ่มถัดไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท