ไบโอดีเซล


ไบโอดีเซล

ไบโอดีเซล

 

ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้แทนกันได้

คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ (biodegradable) และไม่เป็นพิษ (non-toxic)

ในปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล ยังมีราคาแพงกว่าดีเซลจากปิโตรเลียมเมื่อไม่นับรวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิต ในประเทศเยอรมนี ในปีพ.ศ. 2548 มีกำลังการผลิต 2 ล้านตันต่อปี ราคาจำหน่ายตามสถานีประมาณ 45 บาทต่อลิตร ถูกกว่าน้ำมันดีเซลเพราะมีการยกเว้นภาษีสรรพสามิต กระบวนการผลิตไบโอดีเซลคือปฏิกิริยาเคมี Transesterification หรือ Esterification

ประเทศไทยริเริ่มโครงการไบโอดีเซลเมื่อ ปีพ.ศ. 2543 และได้มีการติดตั้งระบบผลิตเอทธิลเอสเตอร์โดยโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และได้มีการพัฒนาโครงการไบโอดีเซลชุมชนที่ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบัน (มีนาคม พ.ศ. 2549) มีไบโอดีเซล 5% จำหน่ายในสถานีของ ปตท. และบางจาก ในกทม. และเชียงใหม่ (ตามโครงการล้านนาฟ้าใสไบโอดีเซล) ทั้งหมด 15 สถานี

นิยาม

ไบโอดีเซล เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซลจากน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการทรานเอสส์เทอริฟิเคชัน (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล หรือเอทานอล และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

ไบโอดีเซล คือเอสเทอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester

การเรียกชื่อ ขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น เมทิลเอสเทอร์ เป็นเอสเทอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือ เอทิลเอสเทอร์ เป็นเอสเทอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น[1]

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

1.       น้ำมันปาล์มดิบ

2.       น้ำมันมะพร้าว ราคาวัตถุดิบต่ำ แต่เสถียรภาพด้านปริมาณและมูลค่าเพิ่มไม่ดีเท่าน้ำมันปาล์มดิบ

3.       น้ำมันสบู่ดำ

4.       น้ำมันดอกทานตะวัน

5.       น้ำมันเมล็ดเรพ (rape seed oil)

6.       น้ำมันถั่วเหลือง

7.       น้ำมันถั่วลิสง

8.       น้ำมันละหุ่ง

9.       น้ำมันงา

10.    น้ำมันพืชใช้แล้ว มีปัญหาเรื่องการปนเปื้อนในรูปของน้ำและตะกอน

[ขั้นตอนการผลิต

การทำไบโอดีเซล

1.       ขั้นตอนจากพืชน้ำมันไปเป็นน้ำมันพืช

2.       ขั้นตอนจากน้ำมันพืชไปเป็นไบโอดีเซล

ขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซล

1.       นำน้ำมันพืชที่ได้จากพืชน้ำมันมาผสมทำปฏิกิริยากับเมทานอล (methanol) กับสารเร่งปฏิกิริยา ซึ่งจะได้เป็นไบโอดีเซล กับกลีเซอรีน

2.       แยกกลีเซอรีนออก ทำความสะอาดไบโอดีเซล

มาตรฐานคุณภาพ

1.       ตัวจุดวาบไฟ (flash point) โดยปกติมาตรฐานจะอยู่ที่ 130 ถ้าหากสูงกว่านี้ คือเป็น 150 หรือ 170 จะทำให้รถสตาร์ทติดยาก

2.       ความบริสุทธิ์ของไบโอดีเซล

ข้อแตกต่างระหว่างไบโอดีเซลกับน้ำมันดีเซล

  • จุดวาบไฟของน้ำมันดีเซลต่ำ ประมาณ 50 กว่า ในขณะที่จุดวาบไฟของน้ำมันไบโอดีเซล ประมาณ 100 กว่าขึ้นไป
  • น้ำมันดีเซลมีกำมะถันสูง แต่น้ำมันไบโอดีเซลไม่มี

ผลต่อการทำงานของรถยนต์

ไบโอดีเซลช่วยหล่อลื่นแทนกำมะถัน และลดฝุ่นละอองหรือควันดำ ที่เรียกว่า particulate matter ให้ต่ำลง โดยไม่ทำให้เครื่องยนต์อุดตันเพราะเผาไหม้หมด[1]

 

คำสำคัญ (Tags): #ไบโอดีเซล
หมายเลขบันทึก: 217845เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ข้อมูลการวิจัยหาพลังงานทดแทน เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากครับ พอดีผมก็มีโครงการอยู่ คือ การผลิต แอลกอฮอล์ จากกระดาษเหลือใช้ แต่พอดีว่า ยังขาดตัวย่อยกระดาษให้เป็น เซลลูโลส ซึ่งจริง ๆ ตั้งใจจะใช้เชื่อรา ไตโคเดอร์มา เป็นตัวย่อย แต่ว่า ยังไม่สามารถเพาะเชื่อรานี้ได้เลย เพราะไม่มีห้องเพาะเชื้อ แต่กำลังคิดอยู่ว่า ถ้าใช้กระบวนการเช่นด้วยกับ การเพาะเห็ดฝาง จะสามารถได้เชื้อราชนิดนี้ได้หรือ ป่าว ....พอมีข้อมูลหรือ ป่าวครับ ...ขอบคุณครับ

เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ เพราะผู้คนส่วนมากยังไม่เข้าใจว่า ไบโอดีเชล คืออะไรกันแน่โดยเฉพาะเวลาใช้จะเกิดปัญหาอะไรกับรถของเราไหม และทำไมรัฐบาลจึงให้การสนับสนุนช้าเหลือเกิน เบนซิล ก็เช่นเดียวกันทั้งที่วัตถุดิบในการผลิตมีอยู่มากมายในประเทศ ตั้งโรงงานเลยครับ ยังรออะไรอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท