ยาที่ได้จากการสังเคราะห์ 2


ยาลดกรด เป็นยาที่ใช้ลกดรไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหาร

ข. ยาลดกรด

 

    เป็นอย่างไรบ้างค่ะ นักเรียนหลังจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับยาที่ได้จากการสังเคราะห์  ประเภทยาลดไข้แล้ว  ลองให้นักเรียนศึกษายาลดกรด  ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร  
     ในกระเพาะอาหารของคนเรามีกรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) มีค่า pH ประมาณ 1.6-1.8 ซึ่งทำหน้าที่ช่วยให้เอนไซม์เปปซิน ในกระเพาะอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นนักเรียนต้องรับประทานอาหารให้เป็นเวลาเนื่องจากถึงเวลาอาหารกระเพาะอาหารจะปล่อยกรดไฮโดรคลอริกและเอนไซม์เปปซินออกมาเพื่อย่อยอาหารถ้าไม่มีอาหารให้ย่อยก็จะทำให้เกิดภาวะมีกรดและเอนไซม์เปปซินในร่างกายเกินไปจนทำให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุกระเพะอาหาร เป็นเหตุใหเยื่อกระเพะอาหารเป็นแผลได้
***ยาลดกรดทุกชนิดมีสมบัติเป็นเบส  มีค่า pH ประมาณ  8-9 

     ประเภทของยาลดกรด
     ยาลดกรดแบ่งตามสมบัติและรูปร่างทางเคมี  แบ่งได้  2  ประเภทดังนี้
          1. ยาลดกรดประเภทที่มีคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ
          2. ยาลดกรดประเภทที่มีไฮดรอกไซด์เป็นองค์ประกอบ
ยาลดกรดประเภทที่มีคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ
       เป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ลดกรดได้ดี  และถูกดูดซึมได้ดี เช่น
       1. โซเดียมไบคาร์บอเนต  เป็นยาลดกรดที่ละลายน้ำได้ดี  ดูดซึมได้ดี  และออกฤทธิ์ลดกรดได้ดี  ออกฤทธิ์เร็วแต่สั้นจึงเหมาะสำหรับลดอาการปวดที่ต้องการผลอย่างรวดเร็ว  แต่ไม่เหมาะสำหรับเพื่อหวังผลรักษาแผลในกระเพาะอาหาร  เนื่องจากผลข้างเคียงของยา คือถ้าใช้ยาในระยะยาวจะทำให้เลือดในร่างกายมีความเป็นเบสสูง  มีผลทำให้เกดิอาการคลื่นเหียน  วิงเวียน  อาเจียน  อ่อนเพลีย  และท้องผูก  ทำให้แน่นท้อง  ท้องอืด  เนื่องจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหารจึงมีผู้นิยมใช้น้อย
       2. แคลเซียมคาร์บอเนต  เป็นยาลดกรดที่ออกฤทธิ์ลดกรดได้ดี  ระยะการออกฤทธิ์นาน  ราคาถูก  แต่รสชาติไม่ดี  และมีผลข้างเคียงคือทำให้ท้องผูก  อาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารสูงกว่าปกติ  เกิดอาการบวมน้ำขึ้น  ซึ่งอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง  ถ้าใช้ไปนานๆจะทำให้แคลเซียมในเลือดสูง  และเกิดภาวะด่างในร่างกาย  ทำให้คลื่นเหียน  อาเจียน  บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง

**  ยาลดกรดประเภทคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบมีปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร  ซึ่งเขียนสมการได้ดังนี้

ยาลดกรดที่มีคาร์บอเนต + กรดในกระเพาะอาหาร   เกลือ + น้ำ + คาร์บอนไดออกไซด์
ยาลดกรดประเภทที่มีไฮดรอกไซด์เป็นองค์ประกอบ
   เป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ลดกรดได้น้อยและดูดซึมได้น้อย  เช่น
   1. อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์  เป็นสารสำคัญของยาลดกรดที่นิยมใช้ทั่วไป  เนื่องจาก  ดูดซึมได้น้อย  ผลข้างเคียงน้อย  นอกจากทำให้ท้องผูก  และยังใช้ในผู้ป่วยโรคไตพิการเรื่อรังได้  แต่ถ้าใช้ระยะยาวอาจมีปัญหาการสะสมของอะลูมิเนียมได้  อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์มีชื่อเรียกทางการค้าต่างกัน เช่น อะลูดรอกซ์  อะลัมมิลค์  
   2. แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์  เป็นยาลดกรดได้ดี  ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์  ไม่ละลายน้ำแต่ละลายในกรดได้ดี  ขับออกทางไต  นิยมใช้กันแพร่หลาย  ผลข้างเคียงน้อย  คือทำให้เกิดอุจจาระร่วง 
***ยาลดกรกประเภทที่มีไฮดรอกไซด์เป็นองค์ประกอบมีปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร  
 

    ยาลดกรดที่มีไฮดรอกไซด์  +  กรดในกระเพาะอาหาร    เกลือ  +  น้ำ 

เมื่อนักเรียนศึกษาเสร็จและเข้าใจแล้วให้นักเรียนทำชุดฝึกเรื่องยาที่ได้จากการสังเคราะห์

-*-*-*  ให้นักเรียนศึกษาเรื่อง  ยาที่ได้จากการสังเคราะห์   4



ความเห็น (11)

น.ส.สุกฤตา วงศ์ภาคำ ม.6/12 เลขที่ 43

น.ส.กนิษฐา โฮมวงศ์ ม.6/12 ,16

นายไพโรจน์ วรรณพงษ์ เลขที่ 3 ม.6/12

น.ส.ศรัญญา ผาสุข เลขที่ 39 6/12 ค่ะ

เรื่องนี้เรียนผ่านไปแล้ว

เรื่องนี้หนูมาอ่านทบทวนค่ะ

อัจฉรา บุญเรือง เลขที่ 47 ห้อง 6/12

วิลาภรณ์ บุตรสะอาด เลขที่ 38 ม.6/12

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นคะ

ผมเข้ามาอ่านแล้วครับ

นายอรรถพล ศรีคำมุง เลขที่ 13 6/11

เกศรินทร์ สิงห์รัมย์ ม.6/12 เลขที่ 52

ฝากเพิ่มเติมข้อมูลหน่อยนะครับ

ยาลดกรด ปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้เป็น อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์และ แมกนีเซียมไฮดรอกไซ ผสมกันครับ

ซึ่งการผสมกันดังกล่าว จะป้องกันอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจาก สารทั้งสองชนิดได้

ท้องเสีย + ท้องผูก = ปกติ

มีแค่นี้เหรอค่ะ...........

ทำไมมีข้อมูลน้อยจังเลย

อยากได้ตัวอย่างของยาลดกรดนะค่ะหาให้หน่อยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท