รายงานสรุปวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการความรู้ ( 2 )



รายงานสรุปวิธีปฏิบัติการที่ดีของการจัดการความรู้ ( 1 )

 ระบบการติดตามประเมินผลความสำเร็จของการจัดการความรู้

      ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะทุกเดือน  จะมีวาระการติดตามแผน เพื่อดูผลของการจัดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของคณะ  รวมทั้งโครงการ/กิจกรรมที่ใช้เครื่องมือของการจัดการความรู้เข้าไปช่วยดำเนินงาน โดยคณะกรรมการประจำคณะจะช่วยกันเสนอความคิดเห็นต่อการปรับปรุงการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

      นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะบันทึกลงใน BLOG ของตนเอง ซึ่งมักใช้ AAR เป็นเครื่องมือช่วยบันทึกเสมอ  ทำให้บุคลากรทุกระดับ มีส่วนร่วมในการพัฒนางาน  และพัฒนาตนเอง  อีกทั้งช่วยให้ผู้บริหารติดตามผลการดำเนินงาน และพัฒนาการของบุคลากรระดับปฏิบัติได้อย่างแนบเนียน

            ระบบบันทึกงานใน Blog ของ Gotoknow  และ AAR  เป็นหัวใจสำคัญในการจัดการความรู้ระดับบุคคลของคณะสหเวชศาสตร์  อีกทั้งยังช่วยให้การดำเนินงานด้านจัดระบบเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อการประกันคุณภาพในระดับคณะ  การบริหารของผู้บริหาร  และการดำเนินงานวิจัยสถาบันของบุคลากรระดับปฏิบัติเป็นไปได้โดยง่ายและซึมซับอย่างไม่รู้ตัว   การทยอยบันทึกสั้นๆ / หรือเก็บภาพ / เก็บ File ที่เป็นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือ สัมพันธ์ กับดัชนี / ตัวบ่งชี้ คุณภาพ ของการประกันคุณภาพ  ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ทำเป็นประจำ  หรือการเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการไปฝึกอบรม ดูงาน  โดยกระทำอย่างสม่ำเสมอ  เป็นการติดตามและประเมินผลการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ

                                                                                                      บอย สหเวช
                                                                                                      15 ต.ค. 51 

หมายเลขบันทึก: 216659เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท