แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ


คิดอย่างมีวิจารณญาณ

การสร้างแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ตามแนวคิดของเดรสเซล  และเมฮิว (Dressel and Mayhew,  1957  อ้างถึงใน อรปวีณ์  สุตะพาหะ,  2546  : 24-25)  มีหลักการดังนี้ 

 

1.  ความสามารถในการนิยามปัญหา  เป็นความสามารถในการวิเคราะห์ข้อความหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นปัญหา  แล้วสามารถบอกลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้นได้  และการนิยามปัญหานั้นมีความสำคัญมากสำหรับการอ่านและการฟังเรื่องราวต่างๆ

2.     ความสามารถในการเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา  เป็นความสามารถในการพิจารณาและเลือกข้อมูลเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง  การพิจารณาความเพียงพอของข้อมูล  การจัดระบบข้อมูล  และความสามารนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคิดที่จะใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และมีผลกับความสามารถในการมองเห็นว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง

3.     ความสามารถในการตระหนักในข้อตกลงเบื้องต้น  เป็นความสามารถในการพิจารณาแยกแยะข้อความใดเป็นข้อความเบื้องต้น  และข้อใดไม่ใช่ข้อความเบื้องต้นของข้อความหรือสถานการณ์ที่กำหนดให้แล้ว  ความสามารถนี้มีความสำคัญเพราะว่าทำให้เห็นความแตกต่างของข้อมูลเพื่อลงความเห็นว่า  ควรจะยอมรับหรือไม่

4.     ความสามารถในการกำหนดและเลือกสมมติฐาน  เป็นความสามารถในการกำหนดหรือเลือกสมมติฐานจากข้อความหรือสถานการณ์ให้ตรงกับปัญหา  ในข้อความหรือสถานการณ์นั้นๆ ความสามารถนี้มีความสำคัญเพราะทำให้มีความรอบคอบและมีความพยายามในการคิดถึงความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา  หรือความเป็นไปได้ของสมมติฐาน

5.  ความสามารถในการลงสรุปอย่างสมเหตุสมผล  เป็นความสามารถในการคิดพิจารณาข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน  โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เป็นสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุนั้นทั้งหมดเพื่อลงสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล  ความสามารถนี้มีความสำคัญเพราะทำให้สามารถลงความเห็นตามความเป็นจริงของหลักฐานหรือข้อมูลที่มีอยู่

  

ตัวอย่างแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

 

คำชี้แจง      อ่านข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามข้อ  1 – 5

 

                   ตำนาน  เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีที่มาจากการบอกเล่าด้วยปากสืบต่อกันมานานแล้วจึงรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง  ตำนานมีจำนวนมากและมีในทุกภาคของประเทศไทย  มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา  ปูชนียสถาน  ปูชนียวัตถุ  กำเนิดบ้านเมือง  กำเนิดราชวงศ์  ฯลฯ  เช่น  ตำนานพระธาตุพนม  ตำนานพระแก้วมรกต  ตำนานสิงหนวัติกุมาร  เป็นต้น  ตำนานมักจะมีนิทาน  นิยาย  เรื่องเหลือเชื่อแทรกอยู่  และมีความคลาดเคลื่อนในเรื่องเวลาเพราะเล่าต่อ ๆ กันมา  เมื่อจะนำมาใช้อ้างอิงต้องสอบทานกับหลักฐานลายลักษณ์อักษรอื่น ๆ

 

      1.  กรณีใดเป็นประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             ก.  ตำนานเป็นหลักฐานที่มีอายุเก่าแก่

             ข.  ตำนานเป็นหลักฐานที่มีรายละเอียดมาก

             ค.  ตำนานเป็นหลักฐานที่มีความคลาดเคลื่อน

                        ง.  ตำนานเป็นหลักฐานที่เกิดจากการจดบันทึก

       2.  ข้อใดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือ

                        ก.  ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ

        ข. คำให้การของชาวกรุงเก่า

             ค.  ประวัติของท้าวศรีจุฬาลักษณ์

        ง. ความเป็นมาของถ้ำพระยานคร

       3.  ข้อใดไม่ใช่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทตำนาน

             ก.  เขาเจ้าลาย

             ข.  เขาตะนาวศรี

             ค.  เขาล้อมหมวก

             ง.  เขาสามร้อยยอด

       4.  เพราะเหตุใดจึงมีนิทาน  นิยาย  หรือเรื่องเหลือเชื่อแทรกอยู่ในตำนาน

             ก.  เพื่อเอาไว้หลอกเด็ก

             ข.  เพื่อให้คนจดจำได้ง่าย

             ค.  เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี

             ง.  เพื่อไม่ให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย

       5.  จากข้อความนี้  สามารถสรุปได้ว่าอย่างไร

             ก.  ตำนานเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องมีการตรวจสอบ

                        ข.  ตำนานเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้บอกที่อยู่ของคนไทย

             ค.   ตำนานเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ในอดีต 

             ง.   ตำนานเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เน้นความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 216044เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เฉลย อยู่ที่ไหน ว่ะ

ขอโทษค่ะ พอดีกำลังทำวิจัย

ไม่ทราบว่าพอจะมีแบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ Cornell criitical thinking Test ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท