ไขปริศนานโยบายประชานิยม


นโยบายประชานิยม

          

         นโยบายประชานิยม ก็คือ นโยบายซื้อใจดีๆ นี่แหละครับ จะเห็นได้ว่าเป็นนโยบายยอดฮิตใช้กันเกือบทุกมุมของโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยเราเองก็จ้องที่จะใช้นโยบายนี้กันทุกพรรค รวมถึงผู้สมัครการเมืองระดับท้องถิ่นก็หนีไม่พ้นเหมือนกัน

          แต่ ! คนไทยลืมคิดหรือยังไม่ได้คิดเรื่องผลประโยชน์ของประเทศ และผู้ได้ผลประโยชน์โดยตรงก็คือ คนในประเทศ ถ้าเรามาวิเคราะห์กันจะเห็นว่า นโยบายประชานิยมที่ออกมา ประเทศอาจไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ เลย กลับเป็นประชาชนบางส่วนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายนี้ และกลายเป็นอุปทาน หมู่! ว่าพรรคการเมืองนี้ดีคราวหลังเลือกต่อ จนลืมฉุดคิดไปว่า ทีดีนะ ดีอย่างไร ? เออ นั่นนะซิ งั้นมาเจาะประเด็นกันเลย


กังหันลมของประเทศมีเงินสร้างกี่ร้อยตัวก็ไม่แปลก

ประเด็นขอเสียที่ปะปนเสมือนเป็นข้อดีของนโยบายประชานิยม

ประเด็นแรก  ใช้เงินฟุ่มเฟือยหรือไม่ ? เงินที่ว่านี้ก็คือเงินที่รัฐมีรายได้เข้ามาซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นภาษี แล้วคนจ่ายภาษีใครละ เออ.. นั่นนะซิ แล้วนโยบายประชานิยมเอาเงินภาษีมาจ่ายคืนนะซิ แล้วคืนให้ใครละ คืนทำไม และจะจ่ายภาษีทำไมให้เสียเวลาในเมื่อรัฐ จ่ายคืนในรูปแบบนโยบายประชานิยม ซึ่งเงินที่จ่ายตามโครงการต่างๆ นั้นไม่ใช่ถูก และเป็นเงินภาษีของคนหลายล้านคน แต่กลับได้ประโยชน์เพียงกลุ่มคนเล็กน้อย


ภัยจากน้ำท่วมปัญหาต้องใช้เงินแก้

คำถามของประเด็นแรก โครงการแต่ละโครงการสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง เอาง่ายๆเลยครับ โครงการ 6 ฟรี ของรัฐ ซึ่งกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์นั้นอยู่ในวงแคบ ซึ่งค่าใช้จ่ายในโครงการหลักหมื่นล้าน (ภาษีของจำนวนประชาการหลักล้านเช่นกัน) ซึ่งส่งผลอะไรต่อประเทศบ้าง


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พลังสะอาดกว่าแต่ต้องใช้เงิน

1.1 ประเทศไม่มีเงินไปพัฒนาส่วนอื่นที่จำเป็นกว่า เช่น นํ้ามัน ไฟฟ้า นํ้าดื่ม นํ้าท่วม ภัยธรรมชาติต่างๆ

1.2 สิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้ประเทศเดินได้ไปได้ต้องหยุดชะงักเพราะต้องเอาเงินไปปันกับนโยบายที่ว่า

1.3 ประชาชนจะเคยชินกับของที่หยิบยื่นให้จนกลายเป็นปัญหาการรอหยิบยื่นได้

1.4 ทุกภาคการปกครองที่ใช้ระบบเลือกตั้งใช้เลียนแบบ จนกลายเป็นนโยบายเผาผลาญเงินประเทศในที่สุด

ประเด็นทีสอง  เรามีเงินพอที่จะช่วยประชาชนที่เดือนร้อนจริงๆ หรือไม่ เช่นเวลาเกิดภัยธรรมชาติ ต่างๆ คนกลุ่มนี้ถึงจะเดือดร้อนจริงๆ และวิกฤตนํ้ามันโลก และ พลังงานในภายภาคหน้า เรามีเิงนสำรองหรือไม่ ที่จะนำมาสร้างและพัฒนาพวกพลังงานทดแทน และระบบขนส่งที่ไม่ต้องเพิ่งน้ำมัน ซึ่งคาดว่าต้องใช้งบประมาณมหาศาลเลยทีเดียว


รถไฟฟ้าบนบก (ประเทศในมีแต่ MRT,BTS ยังไม่มีระดับพื้น)

คำถามประเด็นนี้ให้ผู้อ่านถามตอบด้วยตัวเอง

มาดูข้อดีกันบ้าง แนวทางและทางออกมีโดยที่แฝงไปด้วยประชานิยม

1. พรรคการเมืองแต่ละพรรคไม่จำเป็นต้องโฆษณาเรื่องนโยบายประชานิยม แต่ เมื่อท่านดำรงตำแหน่งแล้วจะใช้โนโนบายนี้ได้ก็ต่อเมื่อประเทศประสบปัญหา เช่น น้ำท่วม พายุเข้า จงอย่างลืมว่า ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ถ้ารัฐไม่มีเงินก็แย่ ซึ่งถ้ารัฐช่วยประชาชนอย่างทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอเงินบริจาค ผมคิดว่าประชาชนซึ่งในน้ำใจและชื่นชมรัฐที่ความช่วยเหลือมาถึงอย่างรวดเร็ว และดีพร้อมด้วยสิ่งที่นำมาช่วยเหลือ ไม่ใช่ของมือสอง ของคุณภาพต่ำเป็นต้น


ถังเก็บไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์-พลังงานใหม่แต่ต้องใช้ทุนมาก

2. รัฐจะเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนอีกนาน โดยไม่จำเป็นต้องเอาเงินไปแจกก่อนเกิดปัญหา หรือหาเสียงเรืองนโยบายประชานิยม เสียเงินเปล่าๆ ไม่ได้ประโยชน์อะไร


การก่อตัวของพายุ
ภาพ พายุไซโคลนนาร์กีสที่ถล่มพม่าถ้าเกิดในไทยทำไงละ?

ข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ จากนักวิชาการรุ่นเยาว์

การออมเงินนั่นไม่จำเป็นต้องออมระดับครัวเรือน แต่ประเทศก็ควรออมเงินไว้บ้าง เผื่อคราวที่ประเทศต้องการเงินจำนวนมากจริงๆ ก็จะไม่มีเงินให้ใช้ และไม่ต้องขอเสียงจากสภาแบบสหรัฐเพื่อขออนุมัติเงินแก้วิกฤติ เหมือนโรคไขกระดูกที่ไม่ต้องรอเปลี่ยนถ่ายโครโมโซม


Chromosome

 



Link ที่เกี่ยวข้องในเนื้อหา : พลังงานไฮโดรเจน | การเมืองกับภาษี ภาคถามตอบ

 

หมายเลขบันทึก: 216039เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2008 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมมากครับ ประชานิยม ซือใจคน หากคิดโครงการที่ดี ออกดอกออกผล พัฒนาคนในประเทศ ต่อยอดความเจริญ ผู้นั้น จะเป็น รัฐบุรุษในอนาคต แต่หากทำเพื่อหวังซื้อใจคนจน ให้ปลากับเค้า แทนที่จะสอนคนตกปลา คนนั้นจะเป็น ทรราช

นโยบายนี้เป็นนโยบายสำเร็จรูป ภายนอกบอกว่าช่วยแก้ปัญหา แต่จริงๆแล้ว ไม่ได้แก้อะไรเลยในระยะยาว กลับกลายเป็นการเผาผลาญเงินประเทศในระยะสั้นโดยใช่เหตุ ซึ่งรูปต่างๆ ที่ผมลงแสดงถึงความจำเป็นของประเทศ ที่ต้องออมเงินส่วนที่ไม่จำเป็นมาใช้ในส่วนที่จำเป็นจริงๆ ถ้ามีประชาชนหรือนักการเมืองไม่ว่าพรรคไหนก็ตาม รวมถึงนักการเมืองระดับท้องถิ่นด้วย อ่านที่ผมพยายามจะสื่อออกมาเข้าใจซัก 70 % ประเทศของเราก็หมดห่วง ไม่ต้องกังวลว่าอนาคตจะอยู่กันอย่างไร

แต่กลับการเป็นว่ายิ่งอ่านยิ่งมีอคติ โดยบางคนมีการฝังและยึดติดในเรื่องเดิมๆ ซึ่งเกิดจากปรากฎการณ์ อุปทานหมู่ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ในทางจิตวิทยาแล้ว ถือว่ายังไม่อันตราย แต่ต้องฝึกการทำสมาธิ เปิดใจให้ว่าง เรื่องราวที่ฝังลึกอยู่ในระดับรากของจิตที่ฝังลงไปแล้ว จะค่อยๆ ถอนออกมาทีละนิด และจะทำให้จิตใจผ่อนคลาย สามารถที่จะรับรู้เรื่องอื่นๆ ได้ด้วยสติและวิธีคิดด้วยเหตุ และผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท