สืบค้นหาความหมายของ ไม้มลาย ไม้ม้วน


สืบค้นหาความหมายของ  ไม้มลาย ไม้ม้วน

 

จากที่ผู้เขียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับไม้ม้วน ไว้ว่ามีความเกี่ยวพันกับเสียง  เออ-อ  ในภาษาไทยใหญ่อย่างน่าสงสัยว่าจะเป็นที่มาจากต้นสายรากเหง้าตระกูลเดียวกันหรือไม่  หากสนใจติดตามได้ที่ 

---http://gotoknow.org/blog/variaty/116067

คำว่า  ไม้ม้วน  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.๒๕๔๒  ให้ความหมายว่า  เครื่องหมายสระ  รูปดังนี้     และ  ไม้มลาย  ให้ความหมายว่า  เครื่องหมายสระ  รูปดังนี้ 

สรุปว่าไม่อาจทราบได้อยู่ดีว่า  แปลว่าอะไร  นอกจากแสดงให้เห็นถึงรูปสระว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไรเท่านั้น  เมื่อลองหาความหมายจากคำว่า  ม้วน  พบว่า  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.๒๕๔๒  ให้ความหมายว่า  ก. หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก.  ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า  ไม้ม้วน  น่าจะแปลว่าเครื่องหมายสระที่เขียนให้หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก  ตามรูป 

ต่อไปลองหาความหมายของคำว่า  มลาย  พบว่า  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.๒๕๔๒  ให้ความหมายว่า  ก. แตก, ตาย, ทำลาย.  จึงเป็นที่กังขาว่า  ไม้มลาย  จะแปลว่า  ไม้ตาย  กระนั้นหรือ  ผู้เขียนเก็บงำความสงสัยมาเป็นเวลานาน  จึงพยายามแสวงหาคำตอบอยู่เสมอมา  ในที่สุดคำตอบก็ปรากฏจากบทความในวารสารราชบัณฑิตยสถาน

ประเสริฐ    นคร  กล่าวว่า  สมัยโบราณมีคำควบกล้ำมากกว่าปัจจุบัน  เช่น  ม กับ ล  จารึกหลักที่ ๒ ใช้ ฟ้าแมลบ  ปัจจุบันภาคกลางใช้ แลบ  ล้านนา  ใช้ แมบ  ในทำนองเดียวกันนี้  มีคำ  มลื่น-ลื่น-มื่น  มล้าง-ล้าง-ม้าง  เราอาจจะแปลไม้มลายไม่ออกแล้ว  แต่ไทยล้านนาใช้  มาย  แปลว่า  คลายออก  ฉะนั้นไม้ม้วนเขียนปลายม้วนเข้า  ไม้มลายเขียนปลายคลายออกไป  คำว่า  มลาก  แปลว่า ดี  เช่น  ยินมลาก  ฉะนั้น  ผู้ลากมากดี  แปลว่า  ผู้ดีดีดี  นั่นเอง

ในที่นี้จึงอาจสรุปได้ว่า  ไม้ม้วน  หมายถึงเครื่องหมายสระที่เขียนให้หมุนพันเข้าไปให้มีลักษณะกลมอย่างรูปทรงกระบอก  ตามรูป    และ  ไม้มลาย  หมายถึงเครื่องหมายสระที่เขียนให้ปลายคลายออกไป  ตามรูป   

                กล่าวให้ถึงที่สุด  ผู้เขียนเห็นว่า  ทุกตัวอักษร  ทุกถ้อยคำในภาษาไทย  ล้วนมีความหมาย  มีประวัติ  มีที่มาที่ไป  ขึ้นอยู่กับว่าลูกหลานไทยผู้ที่ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันจะเข้าใจหรือไม่  และสนใจที่จะเรียนรู้รักษ์ภาษาของเรา  ตลอดจนมีความตระหนักที่จะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องหรือไม่เท่านั้นเอง



          ประเสริฐ    นคร,  ภาษาถิ่นกับศิลาจารึก  ใน  วารสารราชบัณฑิตยสถาน  ปีที่  ๒๗  ฉบับที่    ม.ค.-มี.ค.  ๒๕๔๕,  (กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน,  ๒๕๔๕),  หน้า  ๑๘๙.

หมายเลขบันทึก: 215175เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรื่อง ไม้ม้วน ไม้มะลาย ผมคิดว่ามีอะไรน่าสนใจมากมาย วันหลังจะเล่าสู่กันฟังบ้าง

สวัสดีครับอาจารย์วาทยุทธ อาจารย์สมศักดิ์

  • ขอบคุณที่สนใจภาษาไทย
  • ว่างๆ  จะรบกวนขอความรู้จากคลินิกภาษาไทยด้วยนะครับ

 

ขอบคุณทุกท่านครับที่มาเยี่ยมชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท