ไสว
นาง ไสว เครือรัตนไพบูลย์

การจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศวิทยาศาสตร์


การจัดการเรียนรู้ ความเป็นเลิศวิทยาศาสตร์ ไสว เครือรัตนไพบูลย์ โรงเรียนวัดแสงสรรค์

สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้และจัดมวลประสบการณ์แก่ผู้เรียนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อนำประสบการณ์เหล่านั้นไปพัฒนาตนเองในอนาคต เป็นคนใฝ่รู้และมีเจตคติที่ดีต่อสถานศึกษา การที่สถานศึกษาจะได้รับการตอบสนองจากผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องดำเนินการสร้างแรงจูงใจต่อผู้เรียนโดยการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน สถานศึกษาต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคำนึงถึงเพศและวัยของผู้เรียน การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน จึงมีความสำคัญยิ่งต่อต่อการส่งเสริมให้เด็กที่มีความสามารถพิเศษได้พัฒนาศักยภาพให้ถึงขีดสุด จัดโอกาสให้เด็กได้เพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก ตามความสนใจของเด็กโดยเน้นความรับผิดชอบและอิสรภาพทางปัญญา(ผดุง อารยะวิญญู, 2531) ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรให้ความสนใจ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาสิ่งสิ่งแวดล้อม บรรยากาศภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์" ซึ่งอาจดำเนินการได้ดังนี้ 1. การจัดห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ให้พร้อมทั้งในด้านระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า มีโต๊ะสำหรับสาธิตการปฏิบัติการทดลองให้ผู้เรียนได้เห็นชัดทั่วถึงทุกคน อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ สารเคมี ครูวิทยาศาสตร์ ให้เพียงพอ และเน้นการปฏิบัติการทดลองซึ่งอาจจัดเป็นห้องวิทยาศาสตร์ 2. การจัดแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ นอกจากแหล่งเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว ภายในบริเวรโรงเรียนก็ต้องมีแหล่งเรียนรู้อีก เช่น มีต้นไม้ มีอาคารต่างๆ มีป้ายบอกชื่อต้นไม้ มีห้องสมุด ห้องพิพิธภัณฑ์ สวนสมุนไพร สวนวิทยาศาสตร์ ล้วนแต่เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งสิ้น รอบโรงเรียน ภายในชุมชนและห่างไกลออกไป อาจจะเป็นต่างจังหวัด มีแหล่งเรียนรู้มากมายอาทิ น้ำตก น้ำพุร้อน ที่สามารถให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าได้ทุกวิชา สถานศึกษาควรหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเพียงพอ เช่น แหล่งเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน สถานที่ต่างๆ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้จากเพื่อน ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น 3. การเขียนคำขวัญหรือปณิธานทางวิทยาศาสตร์ เป็นการปลุกระดมให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และมีจิตวิทยาศาสตร์ 4. การจัดสภาพแวดล้อมทางวิชาการในสถานศึกษา เช่น การจัดพิพิธภัณฑ์การศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อุทยานการศึกษา การจัดศูนย์สื่อ โสตทัศนูปกรณ์เพื่อการศึกษา และศูนย์ข้อมูลข่าวสารหรือศูนย์สารสนเทศ 5. การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 6.การผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย

หมายเลขบันทึก: 214786เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พี่ไสวเก่งจัง วันหลังต้องขอคำชี้แนะบ้างแล้ว

ขอบคุณค่ะน้องแมว พี่ไปก๊อบเอามาจากnet แต่ถ้าเอามาจากรูปส่วนตัวต้องนำไปแปลงไฟร์ก่อนซึ่งนานแล้วพี่ก็ยังไม่ค่อยชำนานแต่ถ้าเอามาจากnet เขาแปลงมาแล้วมันจะก๊อปได้เลย

น่าสนใจค่ะ และตอนนี้กำลังเรียนครูวิทยาศาตร์ค่ะ ปี 2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท