บันทึกการเข้าร่วมดำเนินการบริหารจัดการความรู้ (KM) จังหวัดหนองคาย


การจัดการความรู้

           1.  ได้รับมอบหมายให้ไปร่วมประชุม ร่วมกับ กพร.เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2549  ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อรับฟังการชี้แจง ความรู้ความเข้าใจและแนวทางในการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ของระดับจังหวัด  ซึ่งมีตัวแทนจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคอีสานไปร่วมที่ประชุม หลายๆจังหวัดก็มีการจัดทำแผนไปให้ที่ปรึกษาดูและวิพากษ์  แต่ของ จ.หนองคาย ไม่ทราบรายละเอียดแต่แรกเลยไม่ไดเตรียมทำแผนตามแบบฟอร์มของ กพร. ที่ให้มาก่อนหน้านั้น   ก็เลยถึงบางอ้อและเป็นกังวลขึ้นมาทันที     แต่ก็ได้รับคำอธิบายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น    จากวทยากรที่มีความเข้าใจในหลักการของการจัดการความรู้ : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ   โดยมีวิทยากรจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ   ซึ่งมีประเด็นที่สรุปโดยสังเขปดังนี้
         - กพร. มีเงื่อนไขว่าควรจะดำเนินการจัดการความรู้ (KM) ในยุทธศาสตร์ที่เสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง(Blue print for change)     ซึ่ง จ.หนองคายเสนอผ่านแล้วคือยุทธศาสตร์ด้านเกษตร         โดยมี สสจ.หนองคาย เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบตัวชี้วัดนี้    มีเงื่อนไขในเรื่องการส่งแผนการจัดการความรู้ของจังหวัดถึง กพร. ภายในวันที่ 31 มกราคม 2549  หากส่งช้าจะถูกลดคะแนนตามระยะเวลาที่เกินไป 
            2.  อาจารย์จารึก  ที่ปรึกษาของการจัดทำ Blue print for change  ของจังหวัดหนองคายได้ประสานและเตรียมทีมงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมาร่วมประชุม หารือกันเพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ในวันที่ 29  มกราคม  2549 (หากนับเวลาที่จะต้องส่งตามกำหนดแล้วเหลือเวลาแค่ 2 วัน)  โดยเชิญตัวแทน 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ โครงการชลประทานจังหวัด  สนง.เกษตรจังหวัด  สนง.เกษตรและสหกรณ์ และ สสจ.หนองคาย (คุณศจี กับทพ.วัชรพงษ์) ในฐานะพี่เลี้ยง   ร่วมกับคุณธงชัย  (POC)   โดยพิจารณาจากประสบการณ์ในรูปแบบกระบวนการการจัดการความรู้ที่ทำในโรงพยาบาลเครือข่ายหนองคายที่ทำมาก่อน   ร่วมกับรูปแบบที่ กพร. กำหนดมาให้   ซึ่งผลปรากฏว่าช่วยกันคิดและทำจนเสร็จภายในวันนั้นนานกว่า 8 ชั่วโมงที่อยู่ในห้องประชุม  และนัดตรวจสอบความถูกต้องในวันที่ 30 มกราคม 2549 (วันสุดท้ายที่กำหนดให้ส่งคือ 31 มกราคม 2549)   ซึ่งประเด็นที่ดำเนินการจัดการความรู้คือ องค์ความรู้ที่จำเป็นในการพิจารณาโครงการชลประทาน    ซึ่งเป็นทักษะด้านเทคนิคด้านชลประทานที่หน่วยงานเสนอให้มีการพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Blue print for change)    เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์เรื่องการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการการเกษตรและการผลิต   ซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรของจังหวัด 

             พอวันรุ่งขึ้นก็นัดคณะที่ร่วมจัดทำคำตกลงและแผน เพื่อทบทวนและแก้ไข  ก่อนที่จะเข้าพบประธาน CKO เพื่อนำเสนอที่มาที่ไป รวมทั้งรายละเอียดของการดำเนินขบวนการ KM ของจังหวัดหนองคาย และลงนามในแผนปฎิบัติการก่อนส่ง กพร. ในวันต่อไป(วันที่ 31 ม.ค. 49)


             3. หลังจากรอคำตอบจาก กพร. ว่าแผนที่ส่งไปผ่านไหม ก็ได้รับการติดต่อจาก คุณธงชัย ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด ของจังหวัด   ว่าจะต้องดำเนินการอะไรต่อเพื่อให้งาน KM ไม่ขาดช่วง ก็เลยมีการนัดประชุมกลุ่มย่อย  ในวันที่  22  กุมภาพันธ์  2549  ผู้เข้าร่วมประชุมมีตัวแทนจาก สนง.จังหวัด สสจ.นค.(ทพ.วัชรพงษ์)  โครงการชลประทาน  และ สนง.เกษตรจังหวัด    ได้มีการเสนอและข้อสรุป สิ่งที่จังหวัดต้องดำเนินการคือ           
            3.1  จัดตั้งทีมงาน KM จังหวัด  ให้ครอบคลุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณ 2549 (ตามโครงสร้างที่แนบมาด้วย)
            3.2  มอบหมายให้โครงการชลประทาน จัดทำคำสั่ง และจัดทำโครงการและขอสนับสนุนงบประมาณ (CEO) รองรับ  
            3.3 เรียนเชิญ CKO เป็นประธานและร่วมประชุมทีมงาน KM ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนและรับรองแผนการจัดระบบการจัดการความรู้ในหน่วยงานนำร่องทั้ง  3 แห่ง  คือ โครงการชลประทานจังหวัด สนง.เกษตรจังหวัด  สนง.เกษตรและสหกรณ์   โดยมีทีมสสจ.หนองคายและทีมสำนักงานจังหวัดเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน  ซึ่งในการประชุมครั้งแรกเห็นควรกำหนดในช่วงวันที่  16 – 24  มีนาคม 2549 นี้  เนื่องจากเดือนเมษายน 2549 จะเริ่มกระบวนการพัฒนาแล้วตามแผนที่วางเอาไว้  ส่วนต่อไปจะมีประชุมทุกเดือน
            3.4  ดำเนินการตามแผนที่ได้รับการอนุมัติและปรับปรุงแล้ว โดยผู้รับผิดชอบ รายงานสรุป ผลการดำเนินงานเสนอ  CKO เดือนละ 1 ครั้ง
           4. ในส่วนของการจัดทีมสนับสนุน KM ทีม ของ สสจ.นค. จะประกอบด้วย
                4.1  ท่านนายแพทย์ สสจ.  เป็นหัวหน้าทีม  KM  จังหวัด
                4.2 ท่านรอง น.พ.สสจ.นค. 1 ท่าน       4.3  นพ.บรรจบ  อุบลแสน  (Fa)           
                4.4 นพ.ไพโรจน์  รัตนเจริญธรรม  (Fa)  4.5 นางสาวรัชนีวรรณ ปากุล (Fa)           
                4.6 นางศจี  ทิพย์ทอง (Fa)                4.7 นายวัชรพงษ์  หอมวุฒิวงศ์ (Fa)
                4.8 นายสมปอง  จันทพันธ์  (Fa)         4.9  นายศิริศักดิ์ ประพฤติ IT)     

                 
               และเห็นควรให้มีตัวแทนแต่ละกลุ่มงานเข้าร่วมสังเกตการณ์และเรียนรู้กระบวนการ KM เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่อไป

ส่วนโครงสร้างทีม KM จังหวัด   จะนำเสนอวันหลังครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21463เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท