การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม


การวิจัย, การพัฒนาชุมชน

 

การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

ดร.พนม  พงษ์ไพบูลย์

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยธนบุรี

 

        การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมไม่ใช่เทคนิคและวิธีการวิจัยรูปแบบใหม่  แต่เป็นการวิจัยที่พิจารณาปัญหาของชุมชนหรือสังคมเป็นหลัก  คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับว่าจะนำไปแก้ปัญหาของชุมชนหรือสังคมได้มากน้อยเพียงใด  เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับปัญหามากกว่ารูปแบบวิธีการวิจัย

        ก่อนจะกล่าวต่อไป  ขอทำความเข้าใจกับคำสองคำที่ปรากฏในเอกสารนี้ก่อนถึงคำว่า การวิจัยกับ

การพัฒนาชุมชนและสังคม

        การวิจัย ความหมายตามพจนานุกรมทั้งไทยและต่างประเทศ  หมายถึง 

        การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา

        การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบเพื่อให้พบความจริงในเรื่องนั้น ๆ

        การแสวงหาความจริงโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

                สรุปแล้ว การวิจัยก็คือกระบวนศึกษา ค้นคว้า แสวงหาข้อมูลหรือความจริงอย่างเป็นระบบอย่างละเอียดถี่ถ้วน  โดยอาศัยเครื่องมือและวิธีการที่เชื่อถือได้

        ส่วนการพัฒนาชุมชนและสังคม ก็คือ

        การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบเพื่อให้ชุมชนหรือสังคมดีขึ้น  เช่น มีความปลอดภัย สะดวก สะอาด ร่มรื่นน่าอยู่อาศัย ถูกสุขอนามัย  สวยงาม ไร้มลพิษ เป็นชุมชนหรือสังคมแห่งการเรียนรู้

        กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้วิถีชีวิตผู้คนดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน  เช่น ความมีระเบียบวินัย การศึกษา การทำมาหากิน การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่

        การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ก็คือการวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับชุมชนหรือสังคม เพื่อทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจใหม่ เช่น รู้ถึงปัญหา อุปสรรค ความต้องการ อดีต แนวโน้มในอนาคต เป็นต้น

ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน ปรับปรุงพัฒนาทำให้ดีขึ้น

        ข้อมูลจากการวิจัย เพื่อพัฒนาชุมชนยังเป็นประโยชน์ทางวิชาการในการสร้างความเข้าใจในหลักการทฤษฎีทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง การนำหลักการ ทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ และสูงสุดอาจนำมาซึ่งความคิดใหม่หลักการใหม่หรือทฤษฎีใหม่ก็เป็นได้

 

 

 

 

 

ข้อมูลกับการตัดสินใจ

การพัฒนาจะเกิดได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจวางแผนพัฒนา  ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับการตัดสินใจ ปรากฏดังแผนภูมิข้างล่างนี้

 

ประสบการณ์เดิม

 

 

เจตคติ                                                   ผู้ตัดสินใจ                                             ข้อสนเทศ

 

 

          การตัดสินใจ

 

ผิด                                                           ผลการตัดสินใจ                                          ถูก

 

 

ไม่ตัดสินใจ

 

แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับการตัดสินใจ

 

                จากแผนภูมิแสดงให้เห็นว่า กระบวนการตัดสินใจอาศัยข้อมูลจากสามส่วนด้วยกัน  ส่วนที่หนึ่ง  จากประสบการณ์พื้นฐานเดิมที่มีอยู่ในแต่ละคน    ส่วนที่สอง เป็นความรู้สึก  ความเชื่อ  หรือเจตคติของ

ผู้ตัดสินใจ  และส่วนที่สาม คือข้อสนเทศ  คือข้อมูลที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองแล้ว  การตัดสินใจใด ๆ ถ้าพึ่งแต่ประสบการณ์เดิมหรือความรู้สึกจะตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย   การใช้ข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว  จะทำให้การตัดสินใจรอบคอบกว่า  ผิดพลาดได้น้อยกว่า    การวิจัยช่วยให้ได้ข้อมูลที่ดีมาใช้ในการตัดสินใจ

 

 

 

 

 

 

 

ใครควรเป็นผู้วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

        โดยปกติปัญหาของชุมชนมักซับซ้อน เกี่ยวข้องกับหลายเหตุปัจจัย  วิธีแก้ปัญหาที่ดีต้องแก้เชิงระบบ  การแก้ปัญหาเชิงระบบต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ฝ่าย   ดังนั้น การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม  จึงควรเป็นการวิจัยที่ผนึกกำลังร่วมมือกันระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง    ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนาสังคม นักวิชาการ  นักบริหาร  นักวางแผน  ผู้อยู่อาศัย  ผู้ประกอบการในชุมชนและนักวิจัย  ในกระบวนการคิดค้นเพื่อแสวงหาข้อมูลนักวิจัยน่าจะเป็นแกนกลาง

        รูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมน่าจะเป็นรูปขององค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง  การดำเนินการวิจัยโดยนักวิจัยฝ่ายเดียว  อาจทำให้การกำหนดปัญหาทำได้ไม่ดีพอ  และจะขาดความร่วมมือจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

วิธีการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

        มีวิธีการวิจัยหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย  หรือปัญหาของการวิจัย  โดยทั่วไปนักวิจัยมักนึกถึงวิธีการวิจัยที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น

        การวิจัยเชิงสำรวจ  (Survey Research)

        การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)

        การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

        การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม  เป็นการวิจัยที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อแสวงหาหลักการหรือทฤษฎี  จึงไม่ใช่การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research)   แต่เป็นการวิจัยประยุกต์   เป็นการวิจัยที่ควรประกอบด้วยการวิจัย  ย่อย ๆ หลาย ๆ โครงการ   เพื่อช่วยกันมองชุมชนและสังคมในแง่มุมต่าง ๆ กัน  รูปแบบการวิจัยจึงอาจใช้วิธีการแบบผสมผสานเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้ดี สะดวก  และได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงให้มากที่สุด วิธีการ

ที่อยากเสนอให้พิจารณาคือ

        วิธีวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)    เป็นวิธีวิจัยที่ผู้วิจัยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ถูกศึกษา  เข้าไปปะปน สังเกต สอบถาม จดบันทึก  ตลอดจนการทดลอง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปพร้อมกันด้วย   ผลการวิจัยเป็นผลที่ได้จากการสังเกต การจดบันทึก การสอบถาม หรือการทดลองพัฒนา

        การวิจัยแบบประเมินผล (Evaluative Research)    ชุมชนอาจมีโครงการพัฒนาอยู่แล้ว   ผู้วิจัยเข้าไปประเมินโครงการ  โดยทั่วไปการประเมินมักยึดรูปแบบ CIPP Model  คือ ประเมินบริบท (Context)  ปัจจัยป้อน (Input)  กระบวนการพัฒนา (Process)   และผลการพัฒนา (Product)   ผู้วิจัยอาจมีรูปแบบอื่นที่เหมาะสม

        การวิจัยและวางแผนการพัฒนา (Planned Research and Development)  เป็นกระบวนการที่ผสมผสานระหว่าง การวิจัยกับการพัฒนาเข้าด้วยกัน  การวิจัยจะเป็นกระบวนการแสวงหาข้อมูลและปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา  การวิจัยอาจต้องทำหลาย ๆ ด้าน  หรือหลาย ๆ โครงการ  นำผลที่ได้มาสังเคราะห์เพื่อให้เข้าใจปัญหาโดยรอบ   ข้อมูลที่ใช้อาจเป็นข้อมูลนอกเหนือจากการวิจัยมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้   จากนั้นก็นำข้อมูลมากำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา  หรือการพัฒนา   แล้วดำเนินการพัฒนาและติดตามประเมินผลการพัฒนา  การวิจัยและพัฒนานี้เหมาะสมสำหรับโครงการที่ต้องการความสำเร็จสูง  ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย  วิธีนี้การวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนา 

รูปแบบการวิจัยและวางแผนพัฒนามีลักษณะกว้าง ๆ ดังนี้ 

 

วิจัย 1                                      วิจัย 2                                      วิจัย 3                                      วิจัย……

 

 

 

สังเคราะห์ผลการวิจัย

 

 

สร้างรูปแบบ  วางแผนการพัฒนา

กำหนดเป้าหมายการพัฒนา

 

พบปัญหา                                                              ดำเนินการพัฒนา                                                ปรับเป้าหมาย

 

 

ไม่พบปัญหา

 

 

ตรวจสอบ  ติดตาม  ประเมินผล

 

 

รูปแบบการวิจัย วางแผน และพัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

การเลือกปัญหา เพื่อการวิจัย  และพัฒนาชุมชนและสังคม

                ปัญหาของชุมชนและสังคมมักจะปรากฏให้เห็นผ่านรูปแบบต่าง ๆ  เช่น จากสื่อมวลชน จากผู้คน

ในชุมชน  หรือจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ปัญหาเพื่อการวิจัยกับปัญหาที่ปรากฏอาจแตกต่างกัน   ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกเรื่องใดศึกษาควรพิจารณาให้รอบคอบก่อน   วิธีพิจารณาอาจทำได้ด้วยการศึกษาหาข้อมูลจากสถิติต่าง ๆ  ข่าวสาร  เอกสารที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนการสนทนา สัมภาษณ์ผู้รู้  ผู้เกี่ยวข้อง  แล้วจึงค่อยนำมากำหนดเป็นปัญหาเพื่อการวิจัย  หรือปัญหาเพื่อวิจัยและพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน 

                การพิจารณาปัญหาอาจทำเป็นหมู่คณะ  เช่น เชิญผู้บริหาร นักวิชาการ และประชาชนมาพูดคุยกัน  ช่วยกันพิจารณาปัญหา  เป็นการทำให้ปัญหาเด่นชัด  จะทำให้ได้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้น   ลักษณะปัญหาเพื่อ

การวิจัยและพัฒนาน่าจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

-          เป็นปัญหาที่ปรากฏอยู่จริง  และต้องการคำตอบหรือคำอธิบาย 

-          เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชน 

-          เป็นปัญหาที่สามารถวัดได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง 

-          การวิจัยไม่ก่อให้เกิดปัญหาในชุมชนและสังคม

-          ไม่เป็นเรื่องที่ล่อแหลมต่อคุณธรรม จริยธรรม 

หมายเลขบันทึก: 214195เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2008 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 สวัสดีค่ะอาจารย์

       ดิฉันเป็นครูที่ทำงานเป็นโรงเรียนบ้านนอก  ดิฉันมีความสนใจเรื่องการวิจัยเพื่อชุมชน (เชิงคุณภาพ)  พยายามศึกษา และเรียนรู้ความเข้าใจ  ตอนนี้ได้สรุปความคิดรวบยอด (ขออนุญาตคัดลอก) มาแสดงค่ะ

การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมไม่ใช่เทคนิคและวิธีการวิจัยรูปแบบใหม่  แต่เป็นการวิจัยที่พิจารณาปัญหาของชุมชนหรือสังคมเป็นหลัก  คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับว่าจะนำไปแก้ปัญหาของชุมชนหรือสังคมได้มากน้อยเพียงใด  เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญกับปัญหามากกว่ารูปแบบวิธีการวิจัย

การเลือกปัญหา เพื่อการวิจัย  และพัฒนาชุมชนและสังคม

                ปัญหาของชุมชนและสังคมมักจะปรากฏให้เห็นผ่านรูปแบบต่าง ๆ  เช่น จากสื่อมวลชน จากผู้คนในชุมชน  หรือจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ปัญหาเพื่อการวิจัยกับปัญหาที่ปรากฏอาจแตกต่างกัน   ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกเรื่องใดศึกษาควรพิจารณาให้รอบคอบก่อน   วิธีพิจารณาอาจทำได้ด้วยการศึกษาหาข้อมูลจากสถิติต่าง ๆ  ข่าวสาร  เอกสารที่เกี่ยวข้อง  ตลอดจนการสนทนา สัมภาษณ์ผู้รู้  ผู้เกี่ยวข้อง  แล้วจึงค่อยนำมากำหนดเป็นปัญหาเพื่อการวิจัย  หรือปัญหาเพื่อวิจัยและพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน 

                การพิจารณาปัญหาอาจทำเป็นหมู่คณะ  เช่น เชิญผู้บริหาร นักวิชาการ และประชาชนมาพูดคุยกัน  ช่วยกันพิจารณาปัญหา  เป็นการทำให้ปัญหาเด่นชัด  จะทำให้ได้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้น   ลักษณะปัญหาเพื่อ

การวิจัยและพัฒนาน่าจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

ปัญหาที่ปรากฏอยู่จริง  และต้องการคำตอบหรือคำอธิบาย 

เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชน 

เป็นปัญหาที่สามารถวัดได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง 

การวิจัยไม่ก่อให้เกิดปัญหาในชุมชนและสังคม

ไม่เป็นเรื่องที่ล่อแหลมต่อคุณธรรม จริยธรรม 

..............................................................................

ดิฉันอยากจะเห็นคนในชุมชนรักถิ่นฐานบ้านเกิด และเห็นความสำคัญของการศึกษาค่ะ  และมีความสงสัยปัจจัยในข้อนี้ค่ะ

เป็นปัญหาที่สามารถวัดได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง 

ขอขอบพระมาเป็นอย่างสูงค่ะ

ด้วยความเคารพ 

นพวรรณ  พงษ์เจริญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท