องค์การเสมือนสมอง


กระบวนการเรียนรู้ขององค์การ

องค์การเสมือนสมอง

            นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองให้หนูวิ่งในเขาวงกต แล้วนำหนูมาตัดสมองส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการมองเห็นออกทีละน้อย แล้วปล่อยให้วิ่งใหม่ ปรากฏว่าหนูยังวิ่งได้ เขาทำการทดลองซ้ำๆ โดยเฉือนสมองหนูออกไปถึง 80 % หนูก็ยังวิ่งหาทางออกได้ จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า สมองจะต้องมีสิ่งพิเศษอยู่ โดยแต่ละเซลล์จะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายทั้งหมดไว้ ดังนั้นเมื่อบางส่วนหายไปส่วนอื่นก็ยังคงทำงานได้อยู่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายว่านี่เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของสมอง

            จากการทดลอง จึงได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับสมองมาออกแบบองค์การให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำงานด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาโครงสร้าง

            ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบองค์การเสมือนสมอง 

            1. การตัดสินใจ สมองทำหน้าที่เกี่ยวกับการจำ การคิด จึงต้องพิจารณาที่การประมวลผลขององค์การ เพราะการประมวลผลขององค์การก็คือการตัดสินใจ

            2. การเรียนรู้ขององค์การ 

            3. การออกแบบโครงสร้างให้องค์การมีการบริหารจัดการตัวเอง

            1. การตัดสินใจ แต่ละองค์การมีการตัดสินต่างกัน ได้มีการแบ่งการตัดสินใจไว้ ดังนี้

                 1.1 การตัดสินใจแบบ Rational model (แบบมีเหตุผลเนื่องจากทรัพยากรมีจำกัดการตัดสินใจจึงต้องทำอย่างมีเหตุมีผล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Max. profit) และคนจะต้องเป็นEconomic man ในการตัดสินใจทุกกรณีจะต้องมีข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ครบถ้วน (Perfect
information) 

            ข้อจำกัดของ Rational model

                     1.1.1. ข้อมูลสารสนเทศไม่สมบูรณ์ในโลกความเป็นจริง

                     1.1.2. ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความซับซ้อน

                     1.1.3. ข้อจำกัดของความสามารถในการประมวลข้อมูลของมนุษย์

                     1.1.4. เวลาในการตัดสินใจ อาจมีผลประโยชน์ของกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการต่อรองและการตัดสินใจที่ควรจะเป็นก็ไม่เกิดขึ้น

                     1.1.5. ความขัดแย้งในการตัดสินใจ

                     1.1.6. อคติในการรับข้อมูลสารสนเทศ มีข้อมูลสมบูรณ์แต่มีความรู้สึกค้านต่อข้อมูล เช่น มีรายงานว่ามีผู้ชุมนุมประท้วง 1 พันคน แต่ผู้รับรายงานคิดว่าเป็นไปไม่ได้ น่าจะน้อยกว่านี้

                     1.1.7. การเลือกในการรับรู้ (Selective perception) เลือกแต่เฉพาะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง

                 1.1.8. ภาพลักษณ์เกี่ยวกับคน/สิ่งของซึ่งคนทั่วไปเชื่อว่าเป็นคุณสมบัติของคน/สิ่งของนั้น (Stereotyping) เช่น เรามีความคิดติดอยู่ในใจว่าคนภาคเหนือมีลักษณะอย่างหนึ่ง ต่างกับคนภาคใต้ซึ่งมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง แต่ในความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น

                 1.1.9. ความสลับซ้อนของการเรียนรู้ (Cognitive complexity) ปัญหายุ่งยากมีตัวแปรมากมาย

                 1.1.10. ความเครียด (Stress) 

1.2 Bounded rational model (การมีเหตุผลอย่างจำกัด)

                 Simon มองว่าแบบ Rational เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงได้เสนอตัวแบบ bounded
rational 
ขึ้นมาใหม่ หมายถึงการมีเหตุผลอย่างมีขอบเขตจำกัด ทางเลือกอาจกำหนดได้เท่าที่มีข้อมูลหรือเวลา ดังนั้น จุดมุ่งหมายจากเดิมที่เป็น Maximize profit, Maximize utilization ต้องเปลี่ยนมาเป็นเพียง ความพึงพอใจ (Satisfaction) 

                 เมื่อต้องการออกแบบองค์การเสมือนสมอง จะต้องทำให้เกิด Rational หรือ Bounded
rational 
แม้ว่า Simon จะบอกว่าแบบ Rational จะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ในปัจจุบันด้วยความสามารถของเทคโนโลยีด้าน IT ที่สามารถประมวลข้อมูลที่สลับซับซ้อนและมีปริมาณมากได้ดี ช่วยให้การตัดสินใจทำได้อย่างรวดเร็ว

            กระบวนการเรียนรู้ขององค์การ

            1. ลองผิดลองถูก มักจะเกิดกับองค์การที่เกิดขึ้นใหม่ เพิ่งรับรู้ปัญหา

            2. การเลียนแบบ เช่น องค์การหนึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้เกิดผลสำเร็จ องค์การอื่นก็เอาอย่าง ธนาคารมีการตั้งตู้ ATM ธนาคารอื่นก็เอาอย่าง เลียนแบบกัน

            3. กระบวนการทางวัฒนธรรม การถ่ายทอดความคิดความเชื่อของคนรุ่นหนึ่งๆ แต่ละบริษัทอาจทำไม่เหมือนกัน ตัวอย่าง บริษัทให้คำปรึกษาบริษัทหนึ่ง จะคัดเลือกคนทำงานที่จบMBA จาก ฮาวาด เท่านั้น โดยที่เขามีความเชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำงานหนัก งานไม่เสร็จเป็นไม่เลิก แต่บริษัท โซนี กลับตรงกันข้าม ได้จ้างคนที่ไม่มีความชำนาญ ไม่มีประสบการณ์ เขามองว่ายิ่งถ้าเป็นคนที่ในสมองไม่มีอะไรเลยยิ่งดี เพราะสามารถสอนหรือฝึกได้ง่าย ให้ทุกคนกลายเป็นครอบครัวของโซนี

            4. ระบบการแก้ไขด้วยตัวเอง องค์การต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเมื่อพบข้อผิดพลาดก็สามารถทำการแก้ไขได้เอง

            ประเภทการเรียนรู้ขององค์การ

1. การเรียนรู้แบบ Single loop และ Double loop

 


                        Step 1                                                           Step 1

 

 


     Step 3                              Step 2                  Step 3                                 Step 2

 

 


                                                                                                 Step 2a

 


            แบบ Single loop ในขั้นที่ 1 ดูสภาพแวดล้อม ว่ามีสภาพอย่างไร

            ขั้นที่ 2 เปรียบเทียบข้อมูลสิ่งแวดล้อมจากขั้นที่ 1 กับวิธีการปฏิบัติ ธรรมเนียมการทำงาน

            ขั้นที่ 3 ปรับการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น

            แบบ Single loop จะเหมาะกับงานประจำหรือการตรวจสอบหาข้อผิดพลาดจากที่เคยทำมาเท่านั้น ยังอยู่ในกรอบเดิม

            แบบ Double loop ในขั้นที่ 1, 2 และ 3 เหมือนกับแบบ Single loop แต่ต่างกันที่ขั้น 2a
ซึ่งเป็นการตั้งคำถามว่า เพียงธรรมเนียมการปฏิบัติงานที่ทำอยู่มีความเหมาะสมหรือไม่ ก่อนที่จะไปหาวิธีการแก้ไข ในระบบราชการจะไม่มีขั้นตอนนี้ เป็นเพียงการทำเพื่อสนองนโยบายเท่านั้น การเรียนรู้ขององค์การเสมือนสมองจะเป็นแบบ Double loop

            2. การเรียนรู้ขององค์การในระดับพื้นฐาน

                 2.1 การเรียนรู้พื้นฐานซึ่งเกี่ยวพันกับงานประจำ

                 2.2 ให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง สิ่งแวดล้อมในการที่จะปรับปรุงบริการ สินค้าและตลาดที่มีอยู่ให้ดีขึ้น

                 2.3 ความสามารถในการตรวจสอบหาและแก้ไขข้อผิดพลาดภายใต้การดำเนินการตามธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยมีมา

            3. การเรียนรู้ขององค์การในระดับสูง

                 3.1 เกิดขึ้นเมื่อความผิดพลาดถูกตรวจพบและได้มีการแก้ไข โดยการปรับเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติ นโยบาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ

                 3.2 ระบบที่มีความสามารถในการเรียนรู้ และมีความอดทนพอที่จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของตนเองได้

                 3.3 การวิเคราะห์สถานการณ์โดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยทำมา

            อุปสรรคของการเรียนรู้ระดับสูง

            1. องค์การระบบราชการ เป็นการทำงานตามคำสั่งหรือนโยบาย

            2. การตรวจสอบของระบบราชการ แต่มีการปกป้องตัวเองทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้

            3. ช่องว่างระหว่างสิ่งที่คนพูดและสิ่งที่ทำ

            4. Group think ความคิดความเชื่อของกลุ่มที่มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น ซึ่งต้องการสร้างมติเอกฉันท์ 

หมายเลขบันทึก: 213373เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2008 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท