องค์การเสมือนระบบการเมือง


การเมืองจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องหลักอยู่ 3 ประการคือ ผลประโยชน์ (Interests)ความขัดแย้ง (Conflict) และอำนาจ (power)

องค์การเสมือนระบบการเมือง

            ในระบบการเมืองจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องหลักอยู่ 3 ประการคือ ผลประโยชน์ (Interests)ความขัดแย้ง (Conflict) และอำนาจ (power) เมื่อคนหลายๆ คนมาอยู่รวมกันความเห็นอาจไม่ตรงกัน เกิดเป็นความขัดแย้งขึ้น

            อำนาจ

            1. Robert Dahl ได้ให้คำจำกัดความของอำนาจว่า อำนาจเป็นความสัมพันธ์ซึ่งคนๆ หนึ่งหรือกลุ่มคนมีความสามารถที่ทำให้คนอีกคนหนึ่งหรือคนอีกกลุ่มหนึ่งทำตามทั้งที่ไม่ต้องการจะทำ

            2. อำนาจมีอิทธิพลในการกำหนดว่า ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร (Who gets what,
when and how)

            กลุ่มการเมืองจะมีลักษณะดังนี้ กลุ่มชอบการรวมอำนาจ (Autocratic) กลุ่มนักวิชาการ(Technocratic) กลุ่มราชการ (Bureaucratic) และกลุ่มประชาธิปไตย (Democratic) ในการสั่งงานและการตัดสินใจจะมีลักษณะดังนี้

            กลุ่ม Autocratic “ต้องทำอย่างนี้”  “เราต้องทำด้วยวิธีนี้

            กลุ่ม Bureaucratic “ควรพิจารณาตามระเบียบ” “ปฏิบัติตามระเบียบ

            กลุ่ม Technocratic “ตามหลักการ…..”  “ตามที่ได้ศึกษามาควรพิจารณาเลือก…….”

            กลุ่ม Democratic  “เราควรจะทำอย่างไรดี

            ความขัดแย้ง

            1. งาน (Task) 

            2. ความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Career) เมื่อเข้ามาอยู่ในองค์การ

            3. ปัจจัยภายนอก (Extramural) ที่ติดตัวเรามาโดยไม่เกี่ยวข้องกับองค์การ เช่น จากการศึกษา จากการอบรมของครอบครัว

            ทั้ง 3 กรณีข้างต้นถ้ามีการผสมกลมกันดี ความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมักจะมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ 

            ผลประโยชน์ในองค์การ จะมี 3 ชนิดคือ

            1. ผลประโยชน์ขององค์การ

            2. ผลประโยชน์ส่วนตัว

            3. ผลประโยชน์สังคม

            ผลประโยชน์องค์การ ในบางครั้งจะขัดแย้งกับผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมหรือสิ่งแวดล้อม เช่นโรงงานปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือทะเล ก่อให้เกิดมลภาวะ ประชาชนเดือดร้อนแต่โรงงานได้ผลประโยชน์ไม่ต้องสิ้นเปลืองกับระบบกำจัดน้ำเสีย เป็นต้น ประเทศไทยต่างกับประเทศญี่ปุ่นมากในกรณีนี้ ญี่ปุ่นจะถือผลประโยชน์ขององค์การกับของประเทศต้องร่วมกันได้และต้องไปได้ด้วยกัน

            แหล่งที่มาของอำนาจ

            1. อำนาจหน้าที่

            2. การยอมรับ

            3. ความเชี่ยวชาญความสามารถ

            4. บารมี

            5. ควบคุมทรัพยากรที่หายาก

            6. บุคลิกภาพ ปัจจุบันมีข้อคัดค้านมากมาย

            7. เป็นผู้มีข้อมูลมาก

            8. เทคโนโลยี

            9. อำนาจที่มีอยู่เดิม

            10. ความสามารถในการจูงใจ

            11. ความสามารถในการให้รางวัลผู้อื่นได้

            12. การจัดการการเผชิญหน้า (Counter organization) เช่น การแก้ปัญหากลุ่มคัดค้านกลุ่มประท้วง

            13. Gate-keeper พวกหน้าห้อง

            อำนาจของหน่วยงาน

            1. การพึ่งพาของหน่วยงาน (Dependency) หน่วยที่ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จในตัวเองต้องพึ่งหน่วยงานอื่น จำเป็นต้องยอมให้อำนาจแก่หน่วยงานไปพึ่งพา เช่น กองพิสูจน์หลักฐานเป็นต้น

            2. ทรัพยากรการเงิน (Financial resource) เช่น สำนักงบประมาณ คลังจังหวัด เป็นต้น

            3. ความเป็นศูนย์กลาง (Centrality) หน่วยงานกลางของระบบราชการ เช่น กพสภาพัฒน์ฯ สำนักงบประมาณ เป็นต้น

            4. การทดแทนในการทำงาน (Substitutability) ถ้างานของหน่วยใดมีหน่วยงานอื่นสามารถทำทดแทนได้ หน่วยงานนั้นก็จะมีอำนาจลดลง

            5. การจัดการกับความไม่แน่นอน (Cope with uncertainty) อุปกรณ์ชำรุด หน่วยใดสามารถซ่อมได้หน่วยงานนั้นก็จะมีอำนาจ

            การใช้อำนาจต้องใช้อำนาจที่เป็นธรรม

 

เปรียบเทียบองค์การแบบ Rational และแบบการเมือง

ลักษณะ

แบบ Rational

แบบการเมือง

วัตถุประสงค์

ทุกคนเห็นพ้องกันหมด

ไม่เห็นพ้องกัน

อำนาจ

รวมศูนย์กลาง

กระจายอำนาจตามกลุ่ม

การตัดสินใจ

เป็นระบบมีเหตุผล (Rational) บนพื้นฐานของทางเลือกที่ให้ผลลัพธ์สูงสุด

ไม่เป็นระบบ ถูกกำหนดโดยกลุ่มผลประโยชน์ ขึ้นอยู่กับการต่อรองของกลุ่มผลประโยชน์

ธรรมเนียมปฏิบัติ (Norm) 

ประโยชน์สูงสุด (Optimization)

เสรีตามแรงผลักดันที่เกิดขึ้น ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้เสมอ

สารสนเทศ

มีมาก เป็นระบบ แม่นยำ

กำกวม สารสนเทศถูกใช้และเก็บไว้อย่างมีกลยุทธ์์

อุดมคติ

ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การดิ้นรน ความขัดแย้ง ผู้ชนะและผู้แพ้

            การบริหารความขัดแย้ง

            1.การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

                 1.1 ละเลยความขัดแย้ง

หมายเลขบันทึก: 213372เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2008 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท